Whoscall เผย 1 ใน 3 ของคนไทยยังตกเป็นเหยื่อ เสียเงินไวใน 1 ชม. แม้จะรู้วิธีรับมือ

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Whoscall เผย 1 ใน 3 ของคนไทยยังตกเป็นเหยื่อ เสียเงินไวใน 1 ชม. แม้จะรู้วิธีรับมือ

Date Time: 9 ต.ค. 2567 12:29 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • Whoscall ร่วมกับ GASA ScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เผย แม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวงและความพยายามในการหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสเทคโนโลยี

Latest


บริษัท โกโกลุก (Gogolook) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา 


โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพ อย่างน้อยเดือนละครั้ง 
  • กว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินให้มิจฉาชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ และมีเพียง 2% ที่ได้ทรัพย์สินคืนทั้งหมดหลังจากถูกหลอก 
  • มูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกเฉลี่ยอยู่ที่ 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคน
  • การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและการหลอกลวงที่ใช้เทคโนโลยี AI  เป็นรูปแบบกลโกงที่ถูกพบมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ยังพบอีกว่าแม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวงและความพยายามในการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ โดยรายงานที่ Whoscall ได้จัดทำขึ้นร่วมกับ GASA และ Scam Adviser ได้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ ๆ จากมิจฉาชีพ ไปจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น 


ถูกหลอกบ่อยขึ้น และเสียหายมากขึ้น แม้จะรู้ทันมิจฉาชีพ 


จากรายงาน ระบุว่า คนไทยมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้นโดย 

  • 55% มั่นใจว่ารู้ทันกลลวงของมิจฉาชีพ 
  • 44% ใช้วิธีการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ 
  • 37% ใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ

อย่างไรก็ตาม 89% เผยว่ายังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง และ 58% ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้น โดยเกือบ 10% ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 35% ได้รับโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์

รายงานยังพบอีกว่า การโทรเข้าและส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามมาด้วยโฆษณาออนไลน์ ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวง ได้แก่ 

  • Facebook 50% 
  • Line 43%
  • Messenger 39%
  • TikTok 25%
  • Gmail 20% 

ทั้งนี้ การจะได้รับเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปคืนนั้น ทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งผลสำรวจ พบว่า 

  • กว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ 
  • มีเหยื่อเพียง 2% ได้เงินที่ถูกหลอกไปคืนทั้งหมด 
  • มีเหยื่อมากถึง 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ 
  • 73% ระบุว่าได้รับ ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอก

มิจฉาชีพอัพสกิล ใช้ AI หลอกลวงเพิ่มขึ้น 


การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) และการใช้เทคโนโลยี AI กลายเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่า 

  • การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินเป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22%  
  • การหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (Shopping Scams) 19%  
  • การออกใบแจ้งหนี้ปลอม หรือการหลอกให้ชำระหนี้ 16% 
  • การหลอกให้ลงทุน14% 

นอกจากนี้ รายงานระบุว่า คนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการเขียนข้อความหรือสร้างบทสนทนา รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น โดย 66 % ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ