ทำไม YouTube ลงสนาม E-Commerce สู้ศึกที่ไม่ถนัด? จับมือ Shopee ดัน Affiliate กดซื้อของจากคลิปได้

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทำไม YouTube ลงสนาม E-Commerce สู้ศึกที่ไม่ถนัด? จับมือ Shopee ดัน Affiliate กดซื้อของจากคลิปได้

Date Time: 26 ก.ย. 2567 18:31 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • YouTube ประกาศเดินหน้ารุกตลาด E-Commerce ดันฟีเจอร์ “YouTube Shopping” ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 จับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ Shopee ร่วมมือกันขยายบริการผ่าน YouTube Shopping ในตลาดอาเซียนให้ผู้ชมสามารถคลิกสั่งสินค้าได้ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปที่ Shopee ในทันที เริ่มต้นในอินโดนีเซียก่อน

Latest


YouTube ประกาศเดินหน้ารุกตลาด E-Commerce ดันฟีเจอร์ “YouTube Shopping” ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 ให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ทำเงินได้มากขึ้นจากวิดีโอของตัวเอง โดยผู้ชมสามารถกดซื้อสินค้าได้จากคลิปสั้น, ไลฟ์ และวิดีโอบน YouTube ได้เลย

นอกจากนี้ยังเปิดโปรแกรม Affiliate ที่ครีเอเตอร์สามารถร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มได้ ซึ่ง Alphabet Inc. บริษัทแม่ของ Google และ YouTube มองว่า โปรแกรม Affiliate จะช่วยให้แพลตฟอร์มสามารถแข่งขันกับเจ้าอื่นในวงการ Social Commerce ได้

ก่อนหน้านี้ YouTube ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่ออัปเดตคุณภาพของฟีเจอร์ Shopping โดยเปิด “Affiliate Hub” เป็นศูนย์กลางสำหรับครีเอเตอร์และแบรนด์สินค้า ร้านค้า ไปจนถึงผู้ให้บริการมาร์เก็ตเพลส มาเป็นพาร์ทเนอร์ทำเงินร่วมกัน โดยแบรนด์จะมอบโค้ดส่วนลด โปรโมชั่น ในขณะที่ครีเอเตอร์จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากแบรนด์นั่นเอง

ทำไมถึงจับมือ Shopee รุกตลาด e-Commerce อาเซียน

ล่าสุด จากรายงานของ Reuters ชี้ว่า YouTube ได้ตกลงจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ Shopee แพลตฟอร์ม E-Commerce เจ้าใหญ่เบอร์ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมมือกันขยายบริการผ่าน YouTube Shopping โดยที่ครีเอเตอร์จะสามารถแปะลิงก์สินค้าได้บนคลิปสั้น วิดีโอ และไลฟ์ เพื่อให้ผู้ชมสามารถคลิกสั่งสินค้าได้ โดยจะมีการเชื่อมต่อไปที่ Shopee ในทันที

ต้องยอมรับว่าเม็ดเงินที่ไหลเวียนในอุตสาหกรรมดึงดูดให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ คว้าโอกาสนี้ โดยในปี 2023 ตลาด E-Commerce อาเซียนมีมูลค่ายอดขายของแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมอยู่ที่ 114,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือโตขึ้น 15% จากปี 2022

ซึ่งการเปิดบริการนี้นับเป็นครั้งแรกที่ YouTube Shopping เข้าสู่ตลาดอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มต้นให้บริการในอินโดนีเซียเป็นประเทศแรก ซึ่งคาดว่าจะช่วยดันให้มียอดขายบนแพลตฟอร์ม YouTube Shopping เพิ่มขึ้นแตะ 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 และหลังจากนั้น YouTube จะเร่งขยายตลาดไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน รวมไปถึงประเทศไทย

แผนครั้งนี้ ทั้ง YouTube และ Shopee มองว่าการผนึกกำลังร่วมกันจะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของการขายสินค้าผ่านวิดีโอ เพื่อสู้ศึก “TikTok Shop” ที่ในปี 2023 มีรายได้จากการขายสินค้ากว่า 16,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอาเซียน ซึ่งโตขึ้นกว่า 5 เท่าจากปีก่อนหน้า ตีตื้นขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แพลตฟอร์ม E-Commerce ของภูมิภาค เป็นรองแค่เพียง Shopee เท่านั้น

นอกจากนี้เหตุผลที่ YouTube Shopping เลือกที่จะเปิดตลาดในอินโดนีเซียก่อนเป็นที่แรก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ YouTube และยังพบอีกว่า 96% ของผู้ใช้งานในโซเชียลมีเดียในอินโดนีเซียจะใช้เวลาเพื่อรีเสิร์ชสินค้าผ่านวิดีโอก่อนตัดสินใจซื้ออีกด้วย

ในขณะเดียวกัน ด้าน E-Commerce ของตลาดอินโดนีเซีย Shopee ยังคงเป็นอันดับหนึ่งมีส่วนแบ่งที่ 40% แต่ก็กำลังถูก Tokopedia ที่ TikTok เข้าซื้อหุ้นกว่า 75% เบียดขึ้นมาทำส่วนแบ่งต่างกันเล็กน้อยที่ 39%

บทความที่เกี่ยวข้อง:

การจับมือกับ Shopee ในครั้งนี้จะช่วยเสริมบริการของทั้ง 2 แบรนด์ได้เป็นอย่างดี โดย Shopee จะได้ขยายโปรแกรม Affiliate ไปสู่แพลตฟอร์ม YouTube เพื่อดึงลูกค้ามาใช้งาน ในขณะที่ YouTube ก็จะสามารถผลักดันฟีเจอร์ Shopping เพื่อสู้ศึกในตลาดอาเซียนต่อไปหลังจากนี้

ที่มา: Reuters, CampaignModernRetail

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ