FoodTech ท้าทาย! “เนื้อประดิษฐ์” ต้นทุนสูง เงินลงทุนเลยน้อย อาจดับหวังแก้ปัญหา "โลกขาดแคลนอาหาร"

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

FoodTech ท้าทาย! “เนื้อประดิษฐ์” ต้นทุนสูง เงินลงทุนเลยน้อย อาจดับหวังแก้ปัญหา "โลกขาดแคลนอาหาร"

Date Time: 10 ก.ย. 2567 17:11 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • ธุรกิจ FoodTech ท้าทายหนัก หลังเงินลงทุนเริ่มลด พบปัญหาต้นทุนในการผลิต "เนื้อสัตว์จากแล็บ" และ "เนื้อสัตว์จากพืช" พุ่งสูง พบรสชาติไม่ถูกปาก ทำให้เงินลงทุนร่วงกว่า 57% จากช่วงพีคในปี 2021 ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าอาจจะแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารทั่วโลกไม่ได้ และในอนาคตอาจขาดแคลนมากกว่าเดิม

FoodTech หรือ Food Technology สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกผ่านการพัฒนาคุณภาพอาหาร ปรับปรุงวัตถุดิบ ไปจนถึงแปรรูปและตัดแต่งให้อาหารออกมามีคุณภาพ ซึ่งในปี 2021 เป็นปีที่ธุรกิจสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทุ่มเงินจำนวนมหาศาล ด้วยความหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารลงได้ในอนาคต

แต่เมื่อก้าวเข้ามาสู่ปี 2023 เป็นต้นมา ธุรกิจกลุ่ม FoodTech กลับกำลังเข้าสู่ช่วงยากลำบาก เงินทุนเริ่มหดหาย สตาร์ทอัพที่พัฒนาเนื้อสัตว์ที่พัฒนาจากแล็บ (Lab-grown meat) โรงงานผลิตอาหารจากพืช และเทคโนโลยีชีวภาพ มีเงินทุนอยู่ที่ 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงกว่า 57% จากช่วงพีคในปี 2021

ขณะที่การลงทุนในผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก อย่างเช่น เนื้อสัตว์จากพืช และเนื้อสัตว์จากแล็บ ที่ก่อนหน้านี้คือส่วนสำคัญที่นักลงทุนเลือกที่จะทุ่มเงินทุนก่อนเสมอ แต่ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา กลับลดลง 67% มีผลมาจากต้นทุนการผลิตอาหารกลุ่มนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่รสชาติยังเป็นสิ่งที่หลายคนไม่คุ้นเคย ส่งผลให้ธุรกิจต้องการเงินทุนที่มากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น New Age Eats สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเนื้อสัตว์จากแล็บ ที่ก่อนหน้านี้สามารถระดมทุนได้หลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานผลิต แต่ต้องปิดตัวลงในปี 2023 เนื่องจากเงินทุนไม่เพียงพอต่อการพัฒนา และพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะดึงดูดนักลงทุน เพราะต้องใช้ต้นทุนสูง ทั้งในด้านการผลิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จในตลาด

อีกหนึ่งธุรกิจ อย่าง Beyond Meat จากสหรัฐอเมริกา ก็เป็นอีกเจ้าที่กำลังประสบปัญหา พบว่า ธุรกิจขาดทุนกว่า 34.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสที่ 2 ปี 2024 และหุ้นของบริษัทร่วงลงมา 25% จากจุดสูงสุด

นอกจากนี้ ธุรกิจค้าปลีกหลายรายก็เริ่มที่จะยกเลิกรายการสินค้ากลุ่มเนื้อสัตว์จากพืช เนื่องจากมีราคาสูง หรืออย่างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Walmart ที่ปรับราคาสินค้ากลุ่มนี้ขึ้น จาก 9 ดอลลาร์ไปเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เนื้อปกติมีราคาอยู่ที่ 3-6 ดอลลาร์สหรัฐ

FoodTech กับความหวังแก้ปัญหา “ขาดแคลนอาหาร”

จากการคาดการณ์ที่ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านคนในปี 2050 ทำให้อุปสงค์ในอาหารประเภทโปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว) มีมากขึ้น ซึ่งอาหารประเภทนี้มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก แต่คาดว่า อุปทานจะน้อยลง 7% ซึ่งจำนวนนี้จะเท่ากับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อประชากร 1,200 ล้านคนต่อปีเลยทีเดียว

ภาพจาก Nikkei Asia
ภาพจาก Nikkei Asia

นอกจากนี้ ปัญหาของการขาดแคลนอาหารประเภทโปรตีน ยังมีผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้พืชผลทางการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์ไม่ดี ซึ่งจากรายงานของ National Agriculture and Food Research Organization พบว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 2 องศาเซลเซียส จะสร้างความเสียหายกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในผลิตพืชผลทางการเกษตร

ซึ่งปัจจุบันนี้ หลายประเทศได้หันมาให้ความสนใจกับปัญหาด้านนี้มากขึ้น และพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการกำกับดูแลด้านอาหารที่เหมาะสม ไปพร้อม ๆ กับเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้

ที่มา: Nikkei Asia


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์