ปีนี้ธุรกิจผลิตชิปของ Intel จะขาดทุนหนักที่สุดจากปัญหาด้านเทคโนโลยี แต่ CEO คาดจะกลับมาได้ใน 3 ปี

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปีนี้ธุรกิจผลิตชิปของ Intel จะขาดทุนหนักที่สุดจากปัญหาด้านเทคโนโลยี แต่ CEO คาดจะกลับมาได้ใน 3 ปี

Date Time: 3 เม.ย. 2567 17:28 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • Intel เผยธุรกิจรับผลิตชิปขาดทุนเพิ่มขึ้น และปีนี้จะเป็นปีที่ขาดทุนมากที่สุด ขณะเดียวกันก็มีแผนขยายโรงงานพร้อมดึงดูดลูกค้าและคาดการณ์ว่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในปี 2027

Latest


Intel เปิดผลขาดทุนจากการดำเนินงานของธุรกิจรับผลิตชิปที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็กำลังพยายามช่วงชิงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีกลับคืนมา หลังจากเสียตำแหน่งไปให้กับ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวัน

Intel Foundry ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจใหม่ซึ่งดูแลในเรื่องการผลิตชิปของบริษัท มีรายได้ในปี 2023 อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 6.9 แสนล้านบาท) ลดลง 31% จากรายได้ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ในปีก่อนหน้า

และมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 2.5 แสนล้านบาท) จาก 5.2 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และภายหลังจากเปิดเผยตัวเลขดังกล่าว ราคาหุ้นของ Intel ก็ลดลงมา 4.3%

Pat Gelsinger ซีอีโอ Intel ระบุว่า 2024 จะเป็นปีที่ธุรกิจการผลิตชิปของบริษัทจะมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานมากที่สุด และคาดการณ์ว่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในช่วงประมาณปี 2027

พร้อมกับระบุว่า ธุรกิจผลิตชิปของบริษัทได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจที่แย่ ซึ่งรวมไปถึงการต่อต้านการใช้เครื่องผลิตชิป extreme ultraviolet (EUV) จากบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ ที่แม้จะมีราคาสูงถึง 150 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 5.5 พันล้านบาท) แต่ให้ความคุ้มค่ามากกว่าอุปกรณ์ผลิตชิปรุ่นก่อนๆ

ปัจจุบัน Intel ได้เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี EUV ซึ่งจะตอบความต้องการในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และคืนความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะทุ่มเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท) เพื่อขยายโรงงานชิปในสหรัฐฯ และดึงดูดบริษัทต่างๆ ให้มาผลิตชิปตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Microsoft

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ