ARM คือใคร ตัวละครสำคัญ กระดูกสันหลังของบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก ที่ Apple เคยจำใจตัดขาด

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ARM คือใคร ตัวละครสำคัญ กระดูกสันหลังของบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก ที่ Apple เคยจำใจตัดขาด

Date Time: 29 ก.ย. 2566 19:22 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Thairath Money พาไปรู้จักหนึ่งในตัวละครสำคัญที่หลายคนไม่รู้จักแต่ความเป็นจริงที่ว่า นี่คือผู้ที่กำลังยึดครองโลกโดยที่ไม่มีใครรู้ตัว เรากำลังพูดถึง ARM บริษัทผู้ออกแบบชิปจากอังกฤษ ผู้สถาปนาสถาปัตยกรรมชิปเซตยุคบุกเบิกที่ถือเป็นหัวใจและมันสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกในขณะนี้

Latest


หากย้อนกลับไป ไอเดียล้ำยุคหลายๆ อย่างในแวดวงเทคโนโลยี ล้วนถูกมองว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้ แต่ความฉลาดของมนุษย์และวิวัฒนาการของชิ้นส่วนนวัตกรรมเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ไอเดียเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จริง 

เมื่อกล่าวถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ หลายคนอาจนึกถึง Apple, Google Microsoft หรือ Meta แต่ในเวลานี้ คนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ และทำให้ความไฮเทคเป็นไปได้จริง ที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจที่ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ขับเคลื่อนไปได้ คือ บริษัทผู้ออกแบบระบบปฏิบัติการ หรือผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญๆ อย่างชิปเซมิคอนดักเตอร์ กำลังผงาดสู่ตำแหน่งของผู้เล่นคนสำคัญที่ไม่ว่าบิ๊กเทคหน้าไหนก็ขาดไปไม่ได้ จนเรียกได้ว่า พวกเขาเหล่านี้คือผู้ชนะที่แท้จริงในศึกที่ดุเดือดของการแข่งขัน

ARM คือใคร 

ARM คือ บริษัทร่วมทุนที่ก่อตั้งขึ้นปี 1990 จากความร่วมมือของ 3 บริษัท ได้แก่ บิ๊กเทคอย่าง Apple, Acorn Computers สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตคอมพิวเตอร์ และ VLSI Technology บริษัทผู้รับผลิตแผงวงจรรวม ในมูลค่า 3 ล้านเหรียญ โดยมีเป้าหมายในการจัดตั้ง เรียกได้ว่าเป็นไปเพื่อเสริมกำลังและบาลานซ์อิทธิพลทางธุรกิจระหว่าง Acorn Computers Apple และเจ้าใหญ่ในขณะนั้นอย่าง IBM และ Intel ในตลาดไมโครโปรเซสเซอร์ 

อธิบายก่อนว่า สมัยก่อนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมักใช้ CPU ที่มีสถาปัตยกรรมระบบแบบ CISC (Complex Instruction Set Computer) มีสมรรถนะการประมวลผลสูง เหมาะกับชุดคำสั่งที่ซับซ้อนและหลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 

จนกระทั่งโลกเข้าสู่ 'ยุคสมาร์ทโฟน' ที่คนมีความต้องการใช้งานอุปกรณ์พกพากันมากขึ้น แน่นอนว่า Smart Device หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กไม่สามารถใช้ชิปแบบ CISC ได้  

ในปี 1983 ทีมนักพัฒนาจาก Acorn Computer ที่สันทัดเรื่องการปฏิวัติโฉม CPU ก็ได้คิดค้นสถาปัตยกรรมที่เข้ามาแก้ไขเรื่องนี้ ด้วยการแหวกขนบชิปประมวลผลด้วยการออกแบบ RISC (Reduced Instruction Set Computer) ที่เรียกว่า ARM หรือ Acorn RISC Machine ชิปที่มีระบบชุดคำสั่งน้อยลง มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนน้อยลง ขนาดเล็กลง แต่ทำงานได้รวดเร็ว และประหยัดพลังงานมากขึ้น 

ก้าวสำคัญระหว่าง Acorn Computer และ Apple 

อย่างไรก็ตามสมัยนั้น ชิป CISC ถือเป็นกระแสหลักและมีความต้องการใช้งานที่ร้อนแรงหากเทียบกับดีมานด์ของสมาร์ทโฟนที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้น โดยในขณะนั้นมี Intel ที่จับมือกับ Windows เป็นเจ้าตลาด ทำให้ Acorn Computer ฝืดเคืองจนต้องหยุดการผลิตสักพักใหญ่ จนกระทั่งการโคจรมาพบกันกับ Apple ที่กำลังมองหา นวัตกรรมใหม่ๆ หลังจาก สตีฟ จ็อบส์ ออกจากบริษัทในปี 1985  

แน่นอนว่า ก้าวสำคัญที่ทำให้โลกจับตามองของ Acorn Computer ทำให้ Apple ในฐานะลูกค้ารายใหญ่และเก่าแก่ที่สุดเห็นโอกาสในการนำชิป ARM มาใช้ และมากไปกว่านั้นการตัดสินใจครั้งนี้ถือการสกัดซีนคู่แข่ง เพราะขณะนั้น Acorn IP ก็ตีตลาดทำให้ Macintosh ของ Apple ร้อนๆ หนาวๆ อยู่บ้างนั่นเอง 

หลังจากผสานความร่วมมือก่อตั้ง ARM (Advanced Risc Machines Ltd.) ขึ้น เพื่อเน้นออกแบบชิปแบบ RISC ที่สามารถนำไปใช้งานในอุปกรณ์ขนาดเล็กหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการประมวลที่ไม่กินไฟมากอย่างโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตในปี 1993 ก็ได้เปิดตัว “Apple Newton” คอมพิวเตอร์พกพาเครื่องแรกของโลก ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมของ ARM แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์อย่างที่คิด ทำให้ ARM รู้ตัวว่า แม้จะมี Core Tech ที่สำคัญแค่ไหน แต่บริษัทไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยผลิตภัณฑ์เพียงชิ้นเดียว 

การต่อสู้ในตลาดไมโครชิปและคอมพิวเตอร์พีซีในขณะนั้นทำให้ยอดขายตกต่ำอยู่ช่วงหนึ่งนำไปสู่การแยกย้าย โดย Apple ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด 43% ออกเพราะขาดทุนและเป็นหนี้จำนวนมากจากการลงทุนใน ARM อย่างไรก็ตาม Apple ยังเป็นคู่ค้าคนสำคัญของ ARM ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองตกลงทำสัญญาระยะยาวในการใช้งานชิป ARM จนถึงปี 2040 กระทั่งปัจจุบัน Apple ได้พัฒนาชิป Apple Silicon ของตนเองต่อยอดบนสถาปัตยกรรม ARM และได้เปิดตัวครั้งแรกใน iPad รุ่นแรกปี 2010 ตามด้วย iPhone 4 ปี 2014  และต่อเนื่องยังชิป M1 ใน MacBook Air ปี 2020 ชิป M1 Pro และ M1 Max ใน MacBook Pro รุ่นใหม่ล่าสุด 

สร้างรายได้จากสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่ทั่วโลกต้องพึ่งพา 

กลับมาที่ ARM หลังจากสถานการณ์เปลี่ยนไป ARM มองเห็นว่า บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีทีมออกแบบ ไม่มีความเชี่ยวชาญและเครื่องมือที่จำเป็นเพียงพอในการสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ของตนเอง จึงเริ่มหาทิศทางใหม่ คือ การขาย IP core โดยผันตัวมาเป็นผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมของชิปสมรรถนะต่างๆ และขายลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีให้บริษัทอื่นเพื่อนำไปสร้างไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) System of Chip (SOC) หรือ CPU ของตนเอง 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดโทรศัพท์มือถือที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดย ARM กลายเป็นมาตรฐานหลังจาก ข้อตกลงกับผู้จำหน่ายซิลิคอน Texas Instruments ผลิต “Nokia 6110” โทรศัพท์มือถือระบบ GSM ของ Nokia ที่ใช้ชิป ARM7 เครื่องแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงปี 2000 ตลอดช่วงปี 2000 สถาปัตยกรรมของ ARM แพร่หลายมากที่สุดและกลายเป็นมาตรฐานของชิปมือถือจนถึงปัจจุบัน ซึ่งครองส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ตโฟนถึง 99% 

โดยหลังจากนั้น ARM ก็ได้พัฒนาสู่ตลาดอุปกรณ์พกพาและกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น CPU Cortex-A, Cortex-R เหมาะกับการประมวลแบบเรียลไทม์ Cortex-M ใช้พลังงานต่ำ เหมาะกับสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งเริ่มแพร่หลายไปทั่ว Internet of Things (IoT) ไปจนถึง กลุ่มผลิตภัณฑ์ Neoverse โซลูชันการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และคลาวด์คอมพิวติ้ง ตลอดจนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 

ก้าวต่อไปภายใต้ SoftBank ท่ามกลางสมรภูมิเทคโนโลยี 

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ARM ตัดสินใจเข้าเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (LSE) ในปี 1998  พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น "ARM Holdings" ตามด้วยการเข้าซื้อขายใน Nasdaq ในปีต่อมา ซึ่งในขณะนั้น ARM ต้องการให้ผู้ถือหุ้นหลักของ Acorn ทั้งสองภูมิภาคมีส่วนร่วมต่อไปโดยเชื่อว่าบริษัทจะได้รับการประเมินมูลค่าตามที่สมควรได้รับในช่วงฟองสบู่เทคโนโลยีและผ่านไปได้

การไอพีโอส่งผลให้หุ้นพุ่งสูงขึ้นและเปลี่ยนบริษัทออกแบบชิปขนาดเล็กให้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่านับพันล้านดอลลาร์ภายในเวลาไม่กี่เดือน ก่อนที่เครือบริษัทญี่ปุ่น SoftBank Group ได้ทำข้อเสนอเข้าซื้อหุ้น ARM ภายใต้การอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของ ARM โดยประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 32 พันล้านเหรียญ ในปี 2016 กว่า 75% และอีก 25% ถูกโอนเข้ากองทุน SoftBank Vision Fund

นอกจากนี้ในปี 2020 NVIDIA ยักษ์ใหญ่ชิป GPU ยังได้ประกาศว่ากำลังพิจารณาเข้าซื้อหุ้น ARM ในมูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นการเข้าซื้อกิจการเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน แต่ต้องยกเลิกในที่สุด เพราะแรงกดดันด้านกฎระเบียบการผูกขาดจากคณะกรรมาธิการยุโรป หน่วยงานด้านการแข่งขันและการตลาดแห่งสหราชอาณาจักร และคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา 

ล่าสุด ARM ไอพีโอใน Nasdaq อีกครั้งในเดือนกันยายนปี 2023 ดันให้มูลค่าบริษัทสูงถึง 6.5 หมื่นล้านเหรียญ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในการ IPO ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาอีกด้วย แน่นอนว่า การเข้าซื้อกิจการ SoftBank ทำให้ ARM สามารถลงทุนมหาศาลได้อย่างต่อเนื่องในตลาดเทคโนโลยีเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์และโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และอื่นๆอีกมากมาย

ตัวอย่างบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เป็นลูกค้า ARM ได้แก่ Intel, TSMC Samsung, ZTE, Broadcom, AMD, Qualcomm, Fujitsu UMC Lenovo, Nvidia, Samsung Electronics, Texas Instruments, AWS ค่ายสมาร์ทโฟนดังๆ อย่าง Samsung, Huawei, Nokia รวมถึง Apple ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ Apple กว่า 90% ล้วนใช้ชิป ARM หรือแม้แต่กลุ่มเครื่องเล่นเกม PlayStation, Nintendo ด้วยเช่นกัน 

อ้างอิง ARM1ARM2Arstechnica, The Verge Financial Times , ZDNet


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ