บริษัทญี่ปุ่นซัพพลายเออร์ผลิต iPhone ตั้งฐานที่ไทย เปิดโรงงานใหม่ในลำพูน เริ่มเดินเครื่องพ.ย.นี้

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บริษัทญี่ปุ่นซัพพลายเออร์ผลิต iPhone ตั้งฐานที่ไทย เปิดโรงงานใหม่ในลำพูน เริ่มเดินเครื่องพ.ย.นี้

Date Time: 26 ก.ย. 2566 18:37 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • Murata Manufacturing บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ใน iPhone และรถ EV สร้างโรงงานในไทยที่จังหวัดลำพูนพร้อมเริ่มการผลิตในเดือนพฤศจิกายนนี้

Latest


Murata Manufacturing (มูราตะ) บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น และซัพพลายเออร์ของ iPhone ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดลำพูนเสร็จเป็นที่เรียบร้อย และจะเริ่มการผลิตในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึง

โดยทางบริษัทคาดว่าจะลงทุนในโรงงานแห่งนี้กว่าหลายหมื่นล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยราว 2.4 พันล้านบาท เพื่อการผลิตอย่างเต็มประสิทธิภาพภายในปี 2028 และรองรับความต้องการตัวเก็บประจุเซรามิกหลายชั้น (MLCC) ในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในโทรศัพท์และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) 

ขณะที่บริษัท Murata ก็เป็นผู้นำตลาดตัวเก็บประจุ MLCC ทั่วโลกอยู่แล้ว ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40% และการลงทุนในไทยในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรับประกันการผลิตที่จะเพียงพอสำหรับลูกค้าทั่วโลก

ด้าน Norio Nakajima ประธานบริษัท Murata กล่าวในพิธีเปิดโรงงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าบริษัทสามารถพึ่งพาการเติบโตในระยะยาวของตัวเก็บประจุได้ พร้อมกล่าวว่าจะสามารถสร้างงานได้กว่า 2,000 ตำแหน่ง

และในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2022 กำไรสุทธิของบริษัท Murata แตะจุดสูงสุดอยู่ที่ 3.14 แสนล้านเยน (หรือประมาณ 7.66 หมื่นล้านบาท) ตรงกับช่วงที่ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกแตะ 1.4 พันล้านเครื่อง 

กลับกันในปีงบประมาณที่แล้ว บริษัทมีกำไรลดลง 2.53 แสนล้านเยน (หรือประมาณ 6.19 หมื่นล้านบาท) จากการที่ยอดขายโทรศัพท์มือถือลดลงเหลือ 1.1 พันล้านเครื่อง แต่การลงทุนในไทยได้แสดงให้เห็นว่าบริษัท Murata ยังคงเชื่อมั่นในภาพรวมของการใช้งานตัวเก็บประจุ

ขณะเดียวกันบริษัทวิจัย IDC ได้คาดการณ์ว่าตลาดสมาร์ทโฟนจะฟื้นตัวกลับมาได้ 1.35 พันล้านเครื่องในปี 2027 ใกล้เคียงกับขนาดตลาดในปี 2021

นอกจากนี้ทางบริษัทยังคงหวังพึ่งกระแสการเปลี่ยนผ่านยานยนต์ทั่วโลกไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่ง บริษัท Murata ครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกประมาณ 50% ในการเป็นผู้ผลิตตัวเก็บประจุเซรามิกหลายชั้นที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงสำหรับการใช้งานในรถยนต์ ซึ่งรถ EV ระดับไฮเอนด์อาจใช้ตัวเก็บประจุถึง 10,000 ตัวต่อคัน

และ Nakajima ยังกล่าวอีกว่า เป็นไปได้ว่าส่วนแบ่งยอดขายจากการใช้งานในยานยนต์จะเติบโตเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 20%

ซึ่งการลงทุนของบริษัท Murata ในไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นที่กำลังมองหาฐานการผลิตที่มั่นคงท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนสหรัฐฯ เช่นเดียวกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ฝั่งตะวันตกที่ย้ายฐานการผลิตออกจากจีนด้วยเช่นกัน

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ