มีโอกาสแค่ไหน? ที่สตาร์ทอัพฟินเทคจะตีตื้นธนาคาร ขึ้นแท่นผู้ให้บริการหลักด้านการเงิน

Tech & Innovation

Startup

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มีโอกาสแค่ไหน? ที่สตาร์ทอัพฟินเทคจะตีตื้นธนาคาร ขึ้นแท่นผู้ให้บริการหลักด้านการเงิน

Date Time: 22 ส.ค. 2566 19:00 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • จากเดิมที่คนคุ้นชินกับการทำธุรกรรมการเงินผ่านสถาบันการเงินหลัก และมีการเข้ามาของฟินเทคในเวลาต่อมา แต่ยังคงเป็นเพียงผู้เล่นรายเล็กในสนามใหญ่ และยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมากในการจะเข้ามาสู้กับผู้ให้บริการเดิม

Latest


Fintech (ฟินเทค) หรือเทคโนโลยีด้านการเงินที่เข้ามายกระดับชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดคือการทำธุรกรรมออนไลน์สะดวกสบายขึ้นมาก แต่จะดีแค่ไหนหากสตาร์ทอัพฟินเทคจะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการหลักเพื่อเป็นทางเลือกในการทำธุรกรรมให้เข้าถึงทุกคนมากขึ้น 

Fair Finance Thailand เปิดผลการศึกษาในโครงการวิจัยหัวข้อ “ผู้ประกอบการฟินเทคหน้าใหม่กับการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทย : โอกาสและความท้าทาย” ระบุ คนไทยจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินอย่างสินเชื่อ การลงทุน ประกันภัย เนื่องจากขาดเอกสารสำคัญอย่างสลิปเงินเดือนรวมไปถึงขาดหลักประกัน 

และสิ่งนี้เองที่นับเป็นโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพฟินเทคในการเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนที่ยังถูกตัดขาดจากบริการทางการเงินสำคัญ ทั้งยังสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ด้วยการใช้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี และเป็นพาร์ตเนอร์ให้กับสถาบันการเงิน ตลอดจนพัฒนาระบบให้กับธนาคาร

ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความท้าทายหลายประการสำหรับบรรดาสตาร์ทอัพ ตั้งแต่ในเรื่องของต้นทุนในการจัดการความเสี่ยงที่สูง จากกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งสตาร์ทอัพฟินเทคยังคงต้องชั่งน้ำหนักในเรื่องของการเข้าถึงลูกค้ากับการจัดการความเสี่ยงหากลูกค้าผิดชำระหนี้

นอกจากนี้ ความเข้าใจทางการเงิน และการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้บริโภคก็ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของสตาร์ทอัพฟินเทคที่ทำให้ลูกค้าอาจไม่เลือกใช้บริการ ประกอบกับต้นทุนในการดำเนินงานที่ยังคงสูง และแหล่งเงินทุนที่มีจำกัดจากทั้งในและต่างประเทศ เช่นเดียวกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งยังต้องแย่งชิงกับเหล่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่

โอกาสการเติบโตของฟินเทค 

อาจารีย์ ศุภพิโรจน์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ธปท. ต้องการส่งเสริมนวัตกรรมที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการเติบโต แต่ต้องมีมิติอื่นๆ โดยต้องเข้าถึงทุกคนและไม่กระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่ม (Inclusiveness) มีความยั่งยืนไม่ทำให้คนเป็นหนี้ (Sustainability) และต้องมีความมั่นคง (Stability)

โดยมีแนวทางส่งเสริมฟินเทคของ ธปท. ประกอบไปด้วย 

  • Open Infrastructure - ส่งเสริมการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานหลักอย่างระบบ Payment หรือ Digital Identity ให้กับทุกฝ่าย
  • Open Environment - ส่งเสริมให้มีการเปิดรับการแข่งขันของผู้ให้บริการ
  • Open Data - ส่งเสริมความสามารถในการนำข้อมูลจากสถาบันการเงินมาใช้ประโยชน์ 

ทิพยสุดา ถาวรามร อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และอดีตประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย กล่าวในฐานะผู้ที่เคยทำงานในการกำกับดูแลว่าโจทย์ของ ก.ล.ต. ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือความต้องการที่จะเห็นโอกาสและพยายามส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งจะนำไปสู่ประโยชน์กับผู้ใช้บริการ 

พร้อมกล่าวว่า “สมัยที่เรายังไม่ได้ยินคำว่าฟินเทคโจทย์แรกๆ ของ ก.ล.ต. เราจะพูดกันว่า Wealth Management for the Mass แล้วเราก็พยายามคิดว่าทำอย่างไรถึงจะมีคนช่วยให้คำแนะนำว่าจะไปลงอะไร เพราะตอนนั้นแบงก์ก็จะขายแต่หน่วยลงทุนในค่ายตัวเอง ในที่สุดพอมันมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามา เราก็จะเห็นฟินเทคหน้าใหม่ที่เป็น Fund Adviser”  

ทางด้าน ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด (LINE BK) กล่าวว่าประเทศไทยนั้นมีพื้นฐานที่ดีในเรื่องการชำระเงินออนไลน์ (e-Payment) และเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face Recognition) เพียงแต่ต้องพูดคุยกันเพิ่มเติมในเรื่องประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า เพื่อให้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม

สำหรับ ดร.สันติธาร เสถียรไทย อดีตกรรมการผู้จัดการและประธานทีมเศรษฐกิจ Sea Group กล่าวว่า

“ภาคการเงินฟินเทคจุดเด่นในการอยู่รอดไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องความไว คล่องแคล่วในการปรับตัว”

โดยฟินเทคจำเป็นจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ขณะเดียวกันทางฝั่งของหน่วยงานกำกับดูแลก็จำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการสร้างระบบและการควบคุมเพื่อให้เอื้อกับการเติบโตของฟินเทค


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ