ดร.เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค จำกัด เปิดเผยว่า นับเวลาเป็นเวลากว่า 4 ตั้งแต่ปี 2561 ที่ตนได้ก่อตั้งและพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเปิดตัว โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค ในฐานะและเทคสตาร์ทอัพสัญชาติไทยด้านบิ๊กดาต้าคอมปะนี พร้อมประกาศความสำเร็จล่าสุด หลังจากได้รับเงินทุนรอบ Pre-series A มูลค่า 4.3 ล้านเหรียญหรือราว 150 ล้านบาทเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2566 ตั้งเป้าสเกลอัพบริษัท และดันรายได้ให้เติบโต 200% จากปีก่อน โดยมีแผนเพิ่มยอดใช้งาน กลุ่มโปรดักต์ SaaS (Software-as-a-service) ได้แก่ Mandala Cosmos แพลตฟอร์มที่ใช้ในการติดตามเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย และ Mandala Analytics แพลตฟอร์มที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเชิงลึก และเน้นทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนมีความสนใจมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยภายใน 2 ปีนี้ ก่อนพิจารณาเข้าตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
ทั้งนี้หากกล่าวถึงวิสัยทัศน์การเป็น Global Brand การทำตลาดต่างประเทศ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการวางกลยุทธ์ธุรกิจ ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ปัจจุบัน โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค มีสำนักงานหลักอยู่ที่ประเทศไทย และมีทีมงานดำเนินการในต่างประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และกำลังขยายเพิ่มในออสเตรเลียและฮ่องกง โดยมีเป้าหมายระยะยาว คือ การขยายการให้บริการให้ได้มากกว่า 173 ประเทศ ครอบคลุม 15 ภาษา ภายในปี 2569 โดยแผนการรุกต่างประเทศจะเริ่มต้นที่ภูมิภาค ลาตินอเมริกา
ดร.เอกลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเทียบในธุรกิจผู้ให้บริการการจัดการโซเชียมีเดีย สามารถทำรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 200-300 ล้านเหรียญต่อปี หรือประมาณ 6 พันล้านบาท-หมื่นล้านบาท
โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค ให้บริการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าบนโลกออนไลน์ ขับเคลื่อนด้วย AI ที่เรียกว่า Mandala AI Ecosystem ที่จะช่วยในการรวบรวม กลั่นกรอง วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยมีเป้าหมายในการช่วยให้ คนทั่วไป ผู้ประกอบการ และองค์กรธุรกิจรายย่อยจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก สามารถใช้ประโยชน์จาก Social Media Data ได้ โดยสามารถแบ่งการให้บริการ 4 ระบบหลัก ได้แก่
โดยข้อมูลที่อยู่ในระบบของ โอเชี่ยน สกาย เน็ตเวิร์ค เป็นข้อมูลที่ได้รับการรับรอง (Verified) จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Meta (Facebook, Instagram, WhatsApp), Google and YouTube, Twitter, Pantip และ Reddit และสามารถประมวลข้อมูลมากกว่า 20 พันล้านเซต และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า 100 ล้านเมนชันส์ต่อวัน