กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ปั้นสตาร์ทอัพ ตั้ง Amity Solutions รุกตลาดไทย-อาเซียน เตรียม IPO ปี 67

Tech & Innovation

Startup

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ปั้นสตาร์ทอัพ ตั้ง Amity Solutions รุกตลาดไทย-อาเซียน เตรียม IPO ปี 67

Date Time: 9 มี.ค. 2566 18:46 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ปั้นสตาร์ทอัพ ตั้ง Amity Solutions ดึงซอฟต์แวร์ระดับโลก รุกตลาดไทย-อาเซียน เตรียม IPO ปี 67

Latest


Amity สตาร์ทอัพด้าน Software-as-a-Service (SaaS) ไทยในระดับโลก ประกาศจัดตั้งบริษัทใหม่ แอมิตี โซลูชันส์ (Amity Solutions) หน่วยธุรกิจที่เน้นทำตลาดไทยและอาเซียน เตรียมเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน (IPO) ในปี 2567 เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปเร่งการลงทุนในผลิตภัณฑ์เทคโนโลนีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT

นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Amity กล่าวว่า Amity จัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นใหม่ชื่อว่า แอมิตี โซลูชันส์ (Amity Solutions) หน่วยธุรกิจที่เน้นทำตลาดไทยและอาเซียน และกำลังเดินหน้าที่จะเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน (IPO) ในปี 2567 เพื่อนำเงินที่ได้ไปเร่งการลงทุนในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT (Generative Pre-training Transformer) ที่จะนำมารวมเข้ากับผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ของ Amity ที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน

สำหรับธุรกิจหลักของ Amity Solutions จะประกอบไปด้วย Eko ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติและเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของ Amity อีกยังมี Amity Bots ผลิตภัณฑ์แชทบอต ซึ่งได้มีการเปิดตัว Amity Bots Plus ที่ได้มีการนำเทคโนโลยี GPT-3 ของ OpenAI มาต่อยอดการใช้งาน รวมถึง Amity social cloud ที่เป็นผลิตภัณฑ์เรือธงดั้งเดิมของ Amity ที่ให้บริการซอฟต์แวร์ทั้งในรูปแบบ Software Development Kit (SDK) ก็ให้บริการในไทยและอาเซียนด้วยเช่นกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Amity Solutions โดยรวมแล้วในปัจจุบันมียอดผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคนต่อเดือน

ทั้งนี้ทั้งนั้นจากการแยกหน่วยธุรกิจออกมาในครั้งนี้ ทำให้โครงสร้างของ Amity ในปัจจุบัน จะแบ่งออกเป็นสองบริษัทที่แยกตลาดกันอย่างชัดเจน แต่ก็มีการเป็นพาร์ทเนอร์กัน และเชื่อมโยงด้วยโฮลดิ้ง คอมพานี ที่เข้ามาถือหุ้นของทั้งสองบริษัทไว้

“ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาประเมินตัวเลือก IPO ว่าจะระดมทุนในประเทศไทยหรือต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และที่เราเลือกระดมทุนด้วย IPO เพราะว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดของเราตอนนี้ และเราจะมีการ M&A ก่อนที่จะ IPO ด้วยกำไรและการเติบโตของเราเชื่อว่าพร้อมที่จะเข้าตามแผนที่วางไว้” นายกรวัฒน์ กล่าว

ขณะที่เหตุผลที่ทำให้ Amity Solutions ที่เน้นทำตลาดในไทยและอาเซียน เลือกระดมทุนด้วย IPO แทนการหา Venture Capital (VC) เข้ามาลงทุนเหมือนกับ Amity ที่เป็น Global Business นั้น นายกรวัฒน์ ได้ให้มุมมองว่า ต้องยอมรับว่า VC กับ Investing Environment ของไทยและอาเซียน ไม่เหมือนกับในอเมริกาและยุโรป ซึ่งเขาจะไม่ค่อยลงทุนใน SaaS เพราะธุรกิจนี้มักจะเป็น Global Play ซึ่งอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ SaaS และรองลงมาคือจีน

ดังนั้นเมื่อมีธุรกิจจากอเมริกาเข้ามาในอาเซียนจะทำให้ผู้เล่นท้องถิ่นแข่งขันยากมาก และการระดมทุนจาก VC ก็อาจจะไม่ได้มากเท่า IPO แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจอย่าง SaaS มีโกรทมาร์จิ้นสูง อย่างใน Nasdaq ก็จะอยู่ที่ราว 50-70 % ดังนั้น SaaS เป็นธุรกิจที่เป็น Darling ของนักลงทุนในอเมริกา เพราะมันทำกำไรได้ ไม่ใช่ว่าต้องเผาเงินไปเรื่อยๆ เพื่อโต ดังนั้นการระดมทุนในระดับโกลบอลเมื่อเทียบกับภูมิภาคจึงเป็นอีกสตอรี่หนึ่ง

อย่างไรก็ตาม Amity ที่เป็นธุรกิจในระดับโลกที่เน้นขายผลิตภัณฑ์ Amity Social Cloud ยังคงดำเนินกิจการแบบ Private Company มีสำนักงานอยู่ในลอนดอน และมิลาน รวมถึงมีลูกค้าเป็นแบรนด์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา และยุโรปหลายสิบแห่ง ยังคงมีเป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนใน Nasdaq ในอีกหลายปีข้างหน้า เพราะแวลูเอชั่นต้องไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงคุ้มที่จะเข้า

และ Amity เองมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งในตลาดอเมริกาและยุโรป นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีต้น 2564 เรียกได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งของตลาดนี้ โดยที่ผ่านมามียอดผู้ใช้งานต่อเดือนพุ่งสูงขึ้นจาก 30,000 ราย ในช่วงต้นปี 2565 ขึ้นมาเป็น 1.1 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ