Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR

เทรนด์ปี 2025 AI ทำงานได้เอง ทำความเข้าใจ AI Agentic Workflow AI ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างไร?

Date Time: 22 ม.ค. 2568 19:40 น.

Summary

  • เทรนด์ AI น่าจับตาในปี 2025 มอง Agentic AI จะกลายเป็นเทรนด์หลักของตลาดนี้ องค์กรจะปรับตัวรองรับการทำงาน AI Agentic Workflow มากขึ้น คือการใช้ระบบ AI ในการทำงานในหลากหลายภาระงาน (Tasks) ได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันองค์กรก็จะมีการลงทุนพัฒนา AI Governance เพื่อใช้ในการกำกับดูแลมากขึ้น จนขยายไปสู่การรับมือกับ Disinformation Security

พิพัฒน์ ประภาพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการและหัวหน้าทีม Advanced Insights (AI) ของ Bluebik (บลูบิค) เผย 3 เทรนด์ AI น่าจับตาในปี 2025 มอง Agentic AI จะกลายเป็นเทรนด์หลักของตลาดนี้ องค์กรจะปรับตัวรองรับการทำงาน AI Agentic Workflow มากขึ้น คือการใช้ระบบ AI ในการทำงานในหลากหลายภาระงาน (Tasks) ได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันองค์กรก็จะมีการลงทุนพัฒนา AI Governance เพื่อใช้ในการกำกับดูแลมากขึ้น จนขยายไปสู่การรับมือกับ Disinformation Security หรือข้อมูลลวง เพราะเมื่อ AI ก้าวหน้าขึ้น การโจมตีในโลกไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

AI Agentic Workflow คืออะไร?

“AI Agentic Workflow” คือ ระบบการทำงานผ่าน AI โดยที่ Agent แต่ละตัวรับภาระงาน (Tasks) ที่แตกต่างกัน มีทั้งที่แบบทำงานร่วมกัน ผสานกัน และแยกกันแบบอิสระ เช่นเดียวกับระบบการทำงานในองค์กร โดยเปลี่ยน AI แบบเดิมจากการเป็นเครื่องมือที่ตอบสนองเพียงอย่างเดียวไปสู่ผู้ช่วยที่สามารถตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหลาย ๆ ด้านได้

โดยระบบ AI นี้จะรวมเอาโมเดล Large Language Models (LLMs) และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ออกแบบมาเพื่อสร้าง Agent ในการปฏิบัติงานโดยอิสระในภาระงานต่าง ๆ ระบบเหล่านี้จะรวมความสามารถในด้านการวางแผน (Planning) การให้เหตุผล (Reasoning) จัดเก็บข้อมูล (Memory) ตลอดจนผสานการทำงานและการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการออกแบบรูปแบบและแอปพลิเคชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการบูรณาการ AI

ตัวอย่างรูปแบบฟีเจอร์การทำงาน AI Agentic Workflow อย่างเช่น

  • Prompt-Driven Interaction: ใช้วิธีการ Prompt เพื่อสร้างคำสั่งให้ Agent สร้างคำตอบและไปทำภาระงานต่าง ๆ
  • Multi-Agent Coordination: แบ่งงานให้กับ Agent เฉพาะทางแต่ละตัวเพื่อจัดการความรับผิดชอบเฉพาะด้าน
  • Self-Reflection: Agent ที่สามารถประเมินและปรับปรุงผลลัพธ์ของตนเองผ่านกระบวนการเรียนรู้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง
  • Tool Utilization: การทำงานของ Agent ที่ผสานรวมกับเครื่องมือและ API ภายนอกเพื่อเพิ่มความสามารถในการดึงข้อมูลและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  • Planning: ออกแบบให้ Agent สามารถแบ่งเป้าหมายที่ซับซ้อนให้เป็นงานที่ดำเนินการได้ และปรับแผนใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

โดยปี 2025 นี้ การนำเอา AI Agentic Workflow จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทำงานขององค์กร ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ช่วยให้ AI มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ซับซ้อนในหลากหลายอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม เมื่อ AI มีความก้าวหน้ามากขึ้น การที่องค์กรต่าง ๆ จะปรับ Transform ไปบูรณาการใช้งาน Agentic AI มักจะมีความกังวลเรื่องการกำกับดูแล ความปลอดภัย ตลอดจนการเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีที่จะมาในรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้แต่การนำเอา AI ที่ก้าวหน้าไปใช้ในทางที่ผิด

ภัยคุกคามจากข้อมูลบิดเบือน (Disinformation Security) กลายเป็นความท้าทายใหม่ในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะเมื่อ AI ถูกใช้เพื่อสร้างและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ องค์กรต้องพัฒนากลยุทธ์เพื่อป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น:

  • ใช้ตรวจจับ Deepfake: ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อตรวจจับและแยกแยะข้อมูลที่สร้างขึ้นโดย AI เอง
  • ใช้ตรวจจับการปลอมตัว (Impersonation Prevention): จะใช้ AI เพื่อประเมินพฤติกรรมผู้ใช้งานทั้งนี้เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริง
  • ใช้ปกป้องชื่อเสียง (Reputation Protection): ใช้ช่วยเฝ้าระวังและจัดการการโจมตีที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

จากข้อมูลปี 2024 พบว่า องค์กรได้หันมาลงทุนด้าน AI เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น โดย Gartner ได้ไปสำรวจองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า ส่วนใหญ่ (32%) ขององค์กรกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา AI ที่มีอยู่ ในขณะที่ 21% กำลังอยู่ในช่วงติดตั้งระบบ AI กับการทำงาน มี 20% ขององค์กรมีการใช้งาน AI แต่กลับมีมากถึง 19% ขององค์กรทั้งหมด ยังไม่มีแผนที่จะพัฒนาด้าน AI เลย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ


เราใช้คุ้กกี้

เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติมคลิก(Privacy Policy) และ (Cookie Policy)