True IDC ทุ่มทุนกว่าหมื่นล้านบาท ดึงดูดบิ๊กเทคเข้าเมืองไทย เพิ่มขีดความสามารถธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

True IDC ทุ่มทุนกว่าหมื่นล้านบาท ดึงดูดบิ๊กเทคเข้าเมืองไทย เพิ่มขีดความสามารถธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์

Date Time: 1 ก.พ. 2567 10:39 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • True IDC ลงทุนเพิ่มกว่า 10,000 ล้านบาท ขยายศักยภาพธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ครั้งใหญ่ เพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทฯ สร้างบริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อดึงผู้เล่นจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย

นายธีรพันธุ์ เจริญศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไปของ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การเติบโตของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2024 นั้น มีการคาดการณ์จาก USDC Technology ว่าจะเติบโตสูงถึง 12.9% และมีมูลค่าตลาดถึง 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 122,500 ล้านบาท ประกอบกับการคาดการณ์การเติบโตของการใช้งานเทคโนโลยี AI ในเอเชียจาก Statista ในปี 2023 ถึง 2030 ว่าจะเติบโตสูงสูงถึง 19.5%

การลงทุนครั้งนี้จะเน้นการขยายดาต้าเซ็นเตอร์ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการทรู ไอดีซี อีสต์ บางนา แคมปัส และโครงการทรู ไอดีซี นอร์ท เมืองทอง มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานดาต้าเซ็นเตอร์ในการรองรับการเข้ามาของธุรกิจระดับโลก เช่น ผู้ให้บริการระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Hyperscaler) อย่างระบบคลาวด์และระบบโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-Top; OTT) อย่างระบบคอนเทนต์สตรีมมิง ตลอดจนธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีการปรับใช้และพัฒนา โดยโครงการขยายครั้งนี้คาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในตั้งแต่ช่วงปี 2568 และการลงทุนส่วนถัดมาจะเป็นโครงการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนเพื่อก้าวเป็น Green Data Center เต็มรูปแบบ 

“ธุรกิจเราเป็นรากฐานที่จะรองรับการต่อยอดทางเทคโนโลยีของธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลและยุคของ AI ที่ผู้เล่นจากต่างประเทศก็ต่างพากันเข้ามาทำธุรกิจ ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ให้กับเศรษฐกิจของไทยและอาเซียน ตลอดจนสนับสนุนชีวิตดิจิทัลของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นและยั่งยืนขึ้น” 

โดยดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งสองโครงการจะมีพื้นที่ให้บริการกว่า 60,000 ตารางเมตร ก่อสร้างตามมาตรฐาน Uptime และ TIA-942 ส่งมอบความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจด้วยรูปแบบการให้บริการแบบ Build-to-Suit ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถออกแบบการวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ประเภทเน้นการประมวลผลขั้นสูงที่รองรับเทคโนโลยี AI (High Density Computing) ระบบคอมพิวเตอร์ประเภทใช้ของเหลวเพื่อปรับอุณหภูมิ (Liquid Cooling Computing) ทำให้ลูกค้าสามารถกำหนดการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเองได้ในปริมาณที่สูงและมีความอิสระมากยิ่งขึ้น 

ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่จะมีการเชื่อมต่อโครงข่ายเสรีด้วยระบบเน็ตเวิร์ก 4 เส้นทางแบบอิสระจากกัน การันตีการเข้าถึงและส่งผ่านข้อมูลอย่างไร้รอยต่อ พร้อมบริการเชื่อมต่อตรงไปยังระบบคลาวด์ต่างประเทศและบริการ Internet Exchange ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างฉับไวกว่าการเชื่อมต่อแบบทั่วไป มีการขยายปริมาณไฟฟ้าอีกจำนวน 41 เมกะวัตต์ ซึ่งส่งผลให้ ทรู ไอดีซี สามารถให้บริการด้วยกำลังไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อรวมกับกำลังไฟฟ้าเดิม อีกทั้งยังมีการควบคุมประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า (Power Usage Effectiveness: PUE) ไว้ที่ระดับต่ำที่สุดในไทย  

ทั้งนี้การดำเนินงานทั้งหมดของดาต้าเซ็นเตอร์ของทรู ไอดีซี ได้ถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้แนวทางปฏิบัติของมาตรฐาน Uptime ระดับ Tier III Gold โดย ทรู ไอดีซี จะเพิ่มการใช้งานซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลดาต้าเซ็นเตอร์อัจฉริยะ (AI Data Center Infrastructure Management) ผสานการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ไอโอทีและเซนเซอร์เพื่อการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์พร้อมการวิเคราะห์ผลจากศูนย์กลางแห่งเดียว 

สำหรับการลงทุนส่วนถัดมา ทรู ไอดีซี เล็งเห็นว่าความยั่งยืนทางดิจิทัลเพื่อก้าวเป็น Green Data Center เต็มรูปแบบและโครงการพัฒนาความเป็นเลิศในการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2570 

โดยมีการปรับตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ ตั้งแต่การออกแบบอาคารสีเขียวตามมาตรฐาน Leadership in Energy & Environmental Design (LEED) และด้านของพลังงานไฟฟ้าที่มีการนำร่องติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ไปในดาต้าเซ็นเตอร์เฟสก่อนหน้า จะนำเอาพลังงานสะอาดรูปแบบอื่นอย่างพลังงานลมและเซลล์เชื้อเพลิงมาใช้ควบคู่ในเฟสใหม่ด้วย  โดย ทรู ไอดีซี ได้ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะผลักดันธุรกิจสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2,573 อีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ