MFEC รุกหนักไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ช่วยธุรกิจจากแฮกเกอร์ แนะรัฐต้องเข้มปราบปรามกว่านี้

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

MFEC รุกหนักไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ช่วยธุรกิจจากแฮกเกอร์ แนะรัฐต้องเข้มปราบปรามกว่านี้

Date Time: 6 ก.ย. 2566 19:30 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • MFEC ผู้นำด้านการให้บริการด้านโซลูชันไอทีครบวงจร และผู้นำด้านโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้เบอร์ต้นของเมืองไทย ชู ‘กลยุทธ์โซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์’ ครบวงจร ภายใต้แนวคิด O₃ (Observability, Orchestrator, Optimization) รองรับความต้องการด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่กำลังแพร่ระบาดหนัก

MFEC เตรียมเดินหน้าธุรกิจด้วย ‘กลยุทธ์โซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์’ ครบวงจร ภายใต้แนวคิด O₃ (Observability, Orchestrator, Optimization) รองรับความต้องการด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่กำลังแพร่ระบาดหนัก ตั้งเป้าดันรายได้กลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้โตแตะ 1.5 พันล้านบาทภายในปีนี้ พร้อมเสนอแนะวงการไซเบอร์ซิเคียวริตี้ต้องจับมือร่วมกันตรวจตราภัยแฮกเกอร์ และรัฐต้องสร้างกฎเกณฑ์ปราบปรามมากกว่านี้

นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและทุกกลุ่มธุรกิจต้องวางกลยุทธ์ในการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ และให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้เพื่อลดมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและวางเกราะป้องกันให้ให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นคง 

อย่างไรก็ตามแม้ตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะมีทิศทางที่เติบโต ดีมานด์เพิ่มสูงขึ้น แต่ภาพรวมตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไทย ณ ตอนนี้เติบโตเพียง 15% สวนทางกับการเติบโตของภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งการโจมตีต่อบุคคล โจมตีองค์กรธุรกิจ และโจมตีระหว่างประเทศ มากไปกว่านั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ความเสียหายด้านข้อมูล แต่ยังทำให้เกิดการสูญเสียด้านทรัพย์สิน โดยเฉพาะการจัดการแก้ไขระบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตลอดจนผลกระทบด้านอื่น ๆ อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงที่ผ่านมาทำให้หลายองค์กรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านดิจิทัลที่ลดลงด้วยเช่นกัน นายศิริวัฒน์ กล่าว 

ทั้งนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2566 ภาพรวมธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเกิน 15% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีรายได้ 5,453 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประมาณ 25% และวางแผนต่อยอดธุรกิจผ่านการพัฒนาบุคคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีและองค์ความรู้ พร้อมเสริมสร้างฐานพันธมิตรคู่ค้า World Class Cyber Security Partner 

สำหรับกลยุทธ์หลักในครั้งนี้ MFEC ได้รวบรวมสถานการณ์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับพันธมิตรคู่ค้ากว่า 40 ราย ผนวกกับข้อมูลปัญหาและโซลูชันจากลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้งในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มพลังงาน และสาธารณูปโภค นำมาออกแบบ ‘กลยุทธ์ O3’ เพื่อหาแนวทางที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง 

ด้าน นายดำรงศักดิ์ รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมถึง ‘กลยุทธ์ O3’ หรือกลยุทธ์โซลูชันไซเบอร์ซีเคียริตี้ ซึ่งถูกออกแบบมาโดยคำนึงเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ทั้งด้านการควบคุมงบประมาณและเพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในทุกมิติ ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจจับ และการแก้ไขเมื่อเจอภัยคุกคาม ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน   

โซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนวคิด O₃ 

Observability – ระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนหากมีภัยคุกคาม (Security Operation Center) เสมือนผู้ช่วยสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวที่จะเห็นภาพรวมขององค์กร และตอบสนองต่อภัยคุกคามได้ทันที สามารถติดตามที่มาที่ไป ช่องทาง หลักฐานของผู้โจมตีเพื่อสร้างการระบบเตรียมรับมือที่รู้เท่าทันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น 

Orchestrator – ตัวช่วยในการเชื่อมต่อระบบรักษาความปลอดภัย (Security Policy) และควบคุมการทำงานของซอฟต์แวร์ที่หลากหลายให้ทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัตโนมัติ (Automation) สร้างระบบสั่งการที่มีลดขั้นตอนซับซ้อน มีประสิทธิภาพ และเพิ่ม Productivity ช่วยให้องค์กรสามารถกำกับและมองภาพรวมที่สามารถเปิด-ปิดการป้องกันภัยคุกคามได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ควบคุมระบบมี Productivity  

Optimization – ยกระดับความปลอดภัยให้ทุกองค์กร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้ดีขึ้น โดยไม่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่บานปลาย ได้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ลดความซับซ้อนของงาน ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้จริง 

นายศิริวัฒน์ ให้ความเห็นว่า วงการไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ต้องจับมือร่วมกันตรวจตราภัยแฮกเกอร์ และสร้างแนวทางป้องกันเชิงรุก ไม่ใช่ตั้งรับเพียงอย่างเดียว อีกทั้งด้านหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องสร้างกฎเกณฑ์ปราบปรามมากกว่านี้ เพื่อกดดันให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัว โดย MFEC มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการรับมือภัยคุกคามโดยการส่งต่อข้อมูลผลสำรวจและงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ หรือเห็นถึงปัญหาต่อภาครัฐอยู่อย่างต่อเนื่อง  

"ปัจจุบันผู้กระทำผิดมีรูปแบบที่หลากหลายและปรับตัวรวดเร็วตามเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวกระโดดที่มักจะนำหน้าเราอยู่ก้าวหนึ่งเสมอ"

ความท้าทายหลัก คือ การเร่งการพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันเทคโนโลยี และเข้าใจถึงภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น และอีกความท้าทาย คือ องค์กรรัฐ หรือธุรกิจที่ต้องคำนึงระหว่างงบประมาณในการลงทุนที่เหมาะสมกับประสิทธิภาพในการวางระบบความปลอดภัยให้ประสิทธิภาพสูงสุดไปพร้อมกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการทำงานบนระบบดิจิทัลซึ่งมีความเสี่ยงสูง และภาครัฐที่เป็นผู้ควบคุมระบบต่างๆ ของประเทศ รวมถึงการให้บริการประชาชนทั่วไป นายดำรงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ