Zipmex ไม่รอด!! สตง.สรุปคดี ชี้ ผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ส่งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ

Tech & Innovation

Digital Assets

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Zipmex ไม่รอด!! สตง.สรุปคดี ชี้ ผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ส่งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ

Date Time: 20 ธ.ค. 2566 18:30 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • สตง. พร้อมด้วย สำนักงาน ก.ล.ต. และ ปปง. ร่วมกันตั้งโต๊ะแถลงสรุปคดี บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด และ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ฐานความผิดฉ้อโกงประชาชน พร้อมส่งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเป็นคดีพิเศษ

Latest


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท.บช.สอท., นางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), นางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล ก.ล.ต., นายนพดล อุเทน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและพัฒนามาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และ นายพีรธร วิมลโลกการ ผู้อำนวยการกองกำกับและตรวจสอบ ปปง. ร่วมกันแถลงข่าว กรณีมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน บช.สอท., ปอศ. และสถานีตำรวจต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ดำเนินคดีกับ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด และ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ในฐานความผิดฉ้อโกงประชาชน ซึ่งจากข้อเท็จจริงพบว่า บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. เมื่อปี 2561 ให้มีบริการการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล

แต่ต่อมาในปี 2563 ได้มีการชักชวนประชาชนให้นำสินทรัพย์ดิจิทัลไปฝากไว้กับทางบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ภายใต้บริการที่มีชื่อเรียกว่า Zip up และ Zip up+ โดยเป็นบริการเปิดรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลจากลูกค้า และจะให้ผลตอบแทนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล 

ทั้งนี้ บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ได้โอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่มาลงทุนไปยังต่างประเทศเพื่อลงทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ขาดทุนจนไม่สามารถนำมาเงินมาคืนให้กับลูกค้า จนกระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ได้ประกาศระงับการถอนเงินบาท และสินทรัพย์ดิจิทัลจาก “ZipUp” หรือ “Z Wallet” ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความเสียหาย ต่อมา ก.ล.ต.ได้ดำเนินการตรวจสอบและสั่งให้ บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นำส่งข้อมูลเกี่ยวกับกิจการและการดำเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แต่บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ไม่นำส่งข้อมูลดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เมื่อได้รับการแจ้งเตือนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก็นำส่งข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่ครบถ้วน จึงได้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ก.ล.ต. กล่าวโทษบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) นายเอกลาภ ยิ้มวิไล (นายเอกลาภ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Zipmex ต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่สั่งให้นำส่งข้อมูลกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (wallet) ที่ใช้เก็บทรัพย์สินของลูกค้า และรายละเอียดเกี่ยวกับรายการโอนหรือถอนสินทรัพย์ดิจิทัล

กรณี บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 51 ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 75 ตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ทั้งนี้นอกเหนือจากการกล่าวโทษดังกล่าว ก.ล.ต.ได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ บริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด และ นายเอกลาภฯ รวมแล้วเป็นจำนวน 10,977,000 ล้านบาท ในฐานความผิดที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นวงกว้างกับประชาชน จึงได้มีคำสั่งที่ 411/2566 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนเพื่อรับผิดชอบการสืบสวนคดีดังกล่าว โดยได้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งสอบปากคำผู้เสียหาย จำนวน 485 คน (เอกสารคำให้การ 20,210 แผ่น) รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 900 ล้านบาท คาดว่าจะมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์เพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง)

ทางคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของ บริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นความผิดฐาน “ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา 4, 5, 12, 15 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และความผิดตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 และความผิดมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน”

ประกอบกับคดีนี้มีธุรกรรมทางการเงินที่มีความสลับซับซ้อนต้องรวบรวม และวิเคราะห์พยานหลักฐานจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่สามร้อยคนขึ้นไป หรือมีจำนวนเงินที่กู้ยืมรวมกันตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป อันเข้าลักษณะการเป็นคดีพิเศษตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 จึงได้มีหนังสือส่งสำนวนการสอบสวนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณารับเป็นคดีพิเศษ ตามระเบียบและกฎหมายต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ