ทุกวันนี้มีเงินมากกว่า 1 ล้านล้าน ถูกโอนข้ามพรมแดนผ่านเครือข่ายบล็อกเชนของ Ripple

Tech & Innovation

Digital Assets

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

Tag

ทุกวันนี้มีเงินมากกว่า 1 ล้านล้าน ถูกโอนข้ามพรมแดนผ่านเครือข่ายบล็อกเชนของ Ripple

Date Time: 10 ม.ค. 2566 09:32 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ปัจจุบัน Ripple มีจำนวนธุรกรรมเกิดขึ้นแล้วกว่า 20 ล้านธุรกรรม และมีมูลค่ารวมของเงินที่โอนระหว่างประเทศรวมเกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท

Latest


เทคโนโลยีบล็อกเชนกลายเป็นที่ถูกจับตาเป็นอย่างมากสำหรับภาคการเงิน โดยเฉพาะในส่วนของการ โอนเงินข้ามพรมแดน ที่ตรงนี้ถือว่ามีเพนพอยท์ที่รอการแก้ไขอย่างมหาศาล รวมถึงมีขนาดตลาด ที่ใหญ่มากพอให้ให้ผู้เล่นหน้าใหม่ทุ่มเทเพื่อดิสรัปต์ผู้เล่นรายเดิมอย่างระบบ SWIFT ระบบโอนเงินโลก ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1973 ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือของชาติตะวันตกในการ คว่ำบาตรรัสเซีย และในปัจจุบันก็บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Ripple ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012 ที่ใช้บล็อกเชน เพื่อหวังจะปฏิวัติวิธีการเคลื่อนย้ายเงินข้ามพรมแดนในแบบเดิมที่ทั้งช้าและต้นทุนสูง ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

เมื่อกล่าวถึง Ripple โดยทั่วไปแล้ว หลายคนอาจรู้จัก Ripple ในฐานะผู้พัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลที่เรียกว่า XRP ซึ่งใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินผ่านเครือข่ายบล็อกเชนที่เรียกว่า RippleNet

กระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ระดับวินาทีเท่านั้น จากเดิมที่ใช้เวลากว่า 2-3 วันกว่าที่จะถึง ปลายทาง ต่อมาในปี 2018 ทาง Ripple ได้มีการต่อยอดเครือข่าย RippleNet โดยพัฒนาโซลูชั่น ที่เรียกว่า On-Demand Liquidity (ODL) ควบคู่กับ XRP ในการเชื่อมเงินเฟียต 2 สกุล เพื่อทำการโอนเงินระหว่างประเทศหากัน ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายโอนมูลค่าระหว่างตลาดได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว โดยมีค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด ซึ่งตรงนี้ไม่ได้แค่ประหยัดเวลาแต่ช่วยลดต้นทุนของการทำธุรกิจได้เป็น อย่างมากเช่นกัน โซลูชั่นดังกล่าวนี้ให้ผลลัพธ์ที่ตรงข้ามกับกระบวนการดั้งเดิมในการส่งการชำระเงิน และรอหลายวันจึงจะได้รับเงินอย่างสิ้นเชิง และเป็นกระบวนการที่โปร่งใสตรวจสอบได้

Ripple ขยายบริการครอบคลุมแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

มร.บรูคส์ เอ็นท์วิสเซิล รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริปเปิ้ล แลป (Ripple) เปิดเผยกับ Thairath Money ว่า การยอมรับของ On-Demand Liquidity เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา ได้ขยายครอบคลุมแล้วกว่า 40 ตลาดทั่วโลก จากปี 2020 ที่มีการให้บริการอยู่เพียง 3 ประเทศเท่านั้น

นอกจากนี้ Ripple ยังได้เปลี่ยนจุดเน้นจากการวัดจำนวนธุรกรรมบนเครือข่าย เป็นการวัดปริมาณธุรกรรม โดยใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแทน ซึ่งในปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน Ripple มีจำนวนธุรกรรมเกิดขึ้นแล้วกว่า 20 ล้านธุรกรรม และมีมูลค่ารวมของเงินที่โอนระหว่างประเทศรวมเกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาทต่อดอลลาร์)

และในขณะเดียวกันบริษัทกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรและลูกค้าในตลาดทั่วโลก ในยุโรป เอเชีย และอเมริกา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ Ripple สามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้เล่นหลักในตลาดการเงินโลกได้

ปั้นกลยุทธ์ Go to market ผ่านการร่วมมือพันธมิตรทั่วโลก

จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีบล็อกเชนในอุตสาหกรรมการเงิน ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่ตอกย้ำได้อย่างชัดเจนว่า Ripple อยู่ในตำแหน่งที่ดีของการเป็นผู้เล่นใหม่ในการพัฒนาเทคโนโลยี ทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถพลิกโฉมอุตสาหกรรมการชำระเงินทั่วโลกได้ โดยปัจจุบัน Ripple มีสำนักงานอยู่ทั่วโลกทั้งในซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก ลอนดอน ไอซ์แลนด์ ดูไบ อินเดีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

นอกจากนี้เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีของบริษัทเข้าสู่ตลาด (Go to market) อย่างรวดเร็ว Ripple ยังได้มีความร่วมมือกับสถาบันการเงินและบริษัทด้านนวัตกรรมในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่ได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมในโครงการนำร่อง CBDC ในอนาคต ทั้งนี้ที่ผ่านมา Ripple ได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และ บริษัท เอสบีไอเรมิต จำกัด (SBI Remit) รวมถึงสถาบันฯ อื่นๆ ในการใช้เทคโนโลยี RippleNet ให้บริการโอนเงินแบบเรียลไทม์สำหรับลูกค้ารายย่อยระหว่างไทยและญี่ปุ่น

ขณะที่ความท้าทายจากการที่ Ripple ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คดีความฟ้องร้องกับสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ที่ได้ยืดเยื้อมากว่า 2 ปีแล้ว แม้ว่ากำลังจะยุติในเร็ว ๆ นี้ แต่คดีนี้กำลังถูกจับตามอง อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมคริปโตเคอเรนซี่โดยรวมที่จะเป็นกรณีศึกษา ให้กับธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงบรรทัดฐานของการตัดสินคดีความเช่นนี้ในอนาคตเช่นกัน


Author

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)
Leading efforts to deliver content on the Digital Economy and the Future of Money.