3 วิธีบริหารเงิน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ให้ใช้ชีวิตเกษียณได้อย่างฝัน

Personal Finance

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

3 วิธีบริหารเงิน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ให้ใช้ชีวิตเกษียณได้อย่างฝัน

Date Time: 9 พ.ย. 2567 09:00 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เผยแพร่บทความ การบริหารเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หลังเกษียณ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายและสร้างความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน

Latest


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หลักประกันทางการเงินในวัยเกษียณ หนึ่งในแผนการออมเงินที่มั่นคงและเป็นระบบของ “มนุษย์เงินเดือน” โดยนายจ้างจะสมทบเงินเพิ่มจากส่วนของลูกจ้าง และมีบริษัทจัดการลงทุนคอยบริหารเงินกองทุนนี้ให้เติบโต

เมื่อถึงช่วงวัยเกษียณการถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีวิธีการบริหารเงินหลายรูปแบบ โดย วิภา  เจริญกิจสุพัฒน นักวางแผนการเงิน (CFP) เผยแพร่บทความผ่านสมาคมนักวางแผนการเงินไทยไว้ว่า การจัดสรรเงินออกเป็นพอร์ตการลงทุนตามความเสี่ยงต่าง ๆ หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายเงินปันผล เป็นอีกหนึ่งวิธีเพื่อให้สามารถใช้จ่ายและสร้างความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน  

นอกจากนี้ หากมีความจำเป็นต้องถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาก่อน ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินในระยะยาว ซึ่งนักวางแผนการเงินได้แนะนำแนวทางที่สามารถช่วยให้ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้


เปิดเงื่อนไข PVD ถอนเงินออกได้เมื่อไร ?


วิภา เจริญกิจสุพัฒน นักวางแผนการเงิน (CFP) ระบุว่า การถอนเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ต้องเป็นสมาชิกกองทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี และอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จึงจะถอนโดยไม่ติดเงื่อนไขภาษี

กรณีถอนก่อน มี 2 ลักษณะ คือ 1.เป็นสมาชิกไม่ถึง 5 ปี ต้องนำไปรวมกับรายได้ปกติยื่นภาษีต้นปี และ 2.เป็นสมาชิกเกิน 5 ปี และถอนก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกแยกยื่นเป็นใบแนบ ภงด.90/91 ได้ โดยแยกคำนวณจากเงินได้ปกติ ซึ่งจำนวนเงินที่นำมาคำนวณภาษี คือ ส่วนนายจ้างสมทบและผลประโยชน์ทั้งหมด

หากมีความจำเป็นต้องออกจากการเป็นสมาชิกก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ เช่น ออกจากงาน ไม่ต้องการผิดเงื่อนไข มีทางเลือก 2 วิธี ได้แก่

  1. ขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำงานเดิม รอโอนไปไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำงานใหม่
  2. โอนย้ายมาออมลงทุนต่อกับกองทุนรวม RMF for PVD
     

3 วิธีบริหารเงิน PVD ยามเกษียณ

นักวางแผนการเงิน ระบุว่า หลังเกษียณจำเป็นต้องจดค่าใช้จ่าย และทำงบประมาณรายรับรายจ่ายใหม่ เนื่องจากโครงสร้างรายจ่ายเปลี่ยน และยังคงต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่ ทยอยถอนต้นปีเท่ากับค่าใช้จ่ายในปีนั้น

พร้อมกันนี้ ให้แนะนำว่า ควรคงเงินไว้ในพอร์ตลงทุน ซึ่งมีวิธีบริหารจัดการหลายวิธี เช่น

1.คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อปี ขอให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเป็นรายงวด ปรับสัดส่วนการลงทุนตราสารความเสี่ยงต่ำ 80 - 90% ตราสารความเสี่ยงสูง 10 - 20%

2.ถอนทั้งก้อนบริหารแยกเงินเป็น 3 พอร์ต แบ่งเป็น พอร์ต 1 ความเสี่ยงต่ำ, พอร์ต 2 ความเสี่ยงปานกลาง และพอร์ต 3 ความเสี่ยงสูง

  • ช่วงที่ 1 หลังเกษียณเริ่มถอนเงินจากพอร์ตความเสี่ยงต่ำก่อน
  • ช่วงที่ 2 ปรับพอร์ต 2 เป็นความเสี่ยงต่ำ และพอร์ตที่ 2  3 เป็นความเสี่ยงปานกลาง ถอนเงินจากพอร์ตที่ 2
  • ช่วงที่ 3 ปรับพอร์ต 3 เป็นความเสี่ยงต่ำ ถอนเงินจากพอร์ตที่ 3

3.ถอนทั้งก้อนไว้พอร์ตลงทุนจ่ายเงินปันผลเฉลี่ย 3.5 - 4% ของเงินต้น และเติบโต 2 - 3% ต่อปี


หลายคนที่มีประสบการณ์การออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเห็นว่าเงินออมก้อนนี้เป็นเงินออมก้อนใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับเงินอ้อมก้อนอื่น ๆ เพราะเก็บอย่างเป็นระบบ เก็บแล้วเก็บเลย เก็บเพื่อเก็บ

อย่างไรก็ดี การออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเครื่องมือการออมที่มีประสิทธิผล สะดวก ง่าย และปลอดภัย นายจ้างช่วยเติมเงินสมทบ เงินออมเพิ่มตามรายได้ มี บลจ. ช่วยบริหารเงินให้เติบโต ปลอดภัยโดยโครงสร้างการบริหารจัดการ ช่วยให้ผู้มีรายได้ให้เวลากับการทำงานและครอบครัวได้อย่างสบายใจ และสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างที่ฝัน

อ่านข่าวการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ