ชอบก็จัด ประหยัดทำไม! ส่องเทรนด์ "ติดแกลม" กินหรู อยู่สบาย พฤติกรรมสุดเสี่ยง เงินเกลี้ยงบัญชี!

Personal Finance

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ชอบก็จัด ประหยัดทำไม! ส่องเทรนด์ "ติดแกลม" กินหรู อยู่สบาย พฤติกรรมสุดเสี่ยง เงินเกลี้ยงบัญชี!

Date Time: 20 ก.ค. 2567 10:09 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • พฤติกรรมสุดป๊อป ชีวิตต้องหรู กินอยู่ต้องเด่น คนของโซเชียล ทุกอย่างต้องเป๊ะ! ดันเทรนด์ "ติดแกลม" ขึ้นแท่นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ ในครั้งนี้ #Thairath Money จะพาไปรู้จักกับวิธีบริหารเงินที่จะสร้างทั้งความสุขในชีวิต และเรื่องการเงินได้แบบสมดุล ติดแกลมได้แต่ไม่ติดลบ

คอลเลกชันนี้ต้องมี Limited นี้ต้องโดน อะไรเด่น อะไรดี ขออัป IG STORY หน่อยแล้วกัน! 

พฤติกรรมสุดป๊อปของคนรุ่นใหม่ ที่ใช้ชีวิตเยี่ยงคุณหนู กินอย่างหรู อยู่อย่างสบาย จนเกิดเป็นศัพท์ใหม่ขึ้นบนโลกโซเชียลนั่นก็คือคำว่า “ติดแกลม” หรือที่คนทั่วไปมักจะใช้ว่า “ติดแกรม” ซึ่งมาจากคำว่า Glamorous ที่แปลว่า สวย หรู มีเสน่ห์ ดึงดูดใจ 

โดยมักจะใช้ชมคนที่พิเศษกว่าปกติ นั่นคือการมีรสนิยม สวย ดูดี มีระดับ ซึ่งคำอย่างไม่เป็นทางการของคำนี้คือ “glam” จะเห็นได้ว่าบิวตี้บล็อกเกอร์หลายๆ คนนิยมใช้กันมาก เพื่อบอกถึงลักษณะในการแต่งหน้า แต่งตัว ที่ “โฮ่ง” เริด ดี จึ้ง สุดๆ นั่นเอง

แต่หลายๆ คนกลับนำมาใช้ในมิติของความหมายที่มีการใช้ชีวิตหรูหรา ช็อปปิ้งหนัก เปย์ไม่พัก กินหรู อยู่ดี ที่ไม่ใช่เพียงแค่การแต่งกายให้ดูแพงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงวิถีชีวิตที่ป๊อปอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น นั่งเฟิร์สคลาส ท่องเที่ยวแบบลักซู พร้อมกับไม่ยอมที่จะเก็บไว้คนเดียว แต่ยังชอบอัปลงโซเชียลมีเดียเพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง “วิถีเซเลบ ชีวิตติดแกลม” นี้ด้วยเช่นกัน 

แต่รู้หรือไม่ว่า? เบื้องหลังของชีวิตติดแกลมนี้ อาจจะนำมาซึ่ง พฤติกรรมสุดเสี่ยง ทำเงินเกลี้ยงบัญชีได้ด้วยเช่นกัน ในครั้งนี้ #Thairath Money จะพาไปรู้จักกับวิธีบริหารเงินที่จะสร้างทั้งความสุขในชีวิต และเรื่องการเงินได้แบบสมดุล คือ 

  1. บริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าบ้าน ค่าประกัน โดยอาจจะแบ่งเงินมาให้ส่วนนี้ 50%

  2. แบ่งเงิน 5-10% มาเป็นเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เพื่อสร้างชีวิตให้ปลอดภัยและมั่นคงเงิน เนื่องจากเงินสำรองจัดเป็นหนึ่งในกองเงินที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งกับตัวคุณและครอบครัว

    โดยเงินในส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถคลี่คลายปัญหาความเดือดร้อนเรื่องเงินในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร้กังวล เพราะถือเป็นปราการด่านแรกของการป้องกันปัญหาทางการเงิน โดยควรมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

  3. สร้างเงินให้งอกเงย ด้วย ‘การให้เงินช่วยทำงาน’ โดยอาจจะแบ่งเงินออมบางส่วนออกมาแล้วนำไปลงทุนเพิ่ม อย่างเช่น ลงทุนในกองทุนรวม ETF หรือซื้อสลากเก็บไว้สัก 5-10% ของเงินที่มี

  4. แม้ “เงิน” เป็นสิ่งมีค่า แต่หามาก็ต้องได้ใช้
    ฉะนั้นใช้เงินให้สนุกอย่าไปกลัว ชีวิตเกิดมาแค่เพียงครั้งเดียว เราต้องนำเงินออกมาใช้บ้าง เพราะบางครั้งอาจไม่มีโอกาสได้ใช้ ตายไปก็นำเงินไปไม่ได้ สู้ซื้อความสุข ประสบการณ์ ที่เราอยากได้ โดยนำเงินจากส่วนที่เหลือจากการบริหารมาใช้ ทั้งหมดนี้จะทำให้เราไม่รู้สึกผิด และไม่ต้องเป็นห่วงคนข้างหลัง เหมือนกับประโยคหนึ่งของหนังสือ Money Mindset ที่ว่า “เงินเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงินนั้นสำคัญกว่า” 

สะท้อนให้เห็นว่า “ใช้ชีวิตติดแกลม” ได้ แต่ต้องเห็นค่าของเงิน และรู้จักเก็บ รู้จักใช้ ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้ “คุณหนู” อยู่อย่างสบายใจ สบายกาย และสบายกระเป๋า ป๊อปให้สุด! แล้วหยุดที่มีเงินเก็บ! ได้นั่นเอง.

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/business_marketing

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ