หลังโควิดครอบครัวมั่งคั่ง วางแผนส่งต่อทรัพย์สิน-ธุรกิจมากขึ้น Sandwich Generation คนกลางสำคัญ

Personal Finance

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หลังโควิดครอบครัวมั่งคั่ง วางแผนส่งต่อทรัพย์สิน-ธุรกิจมากขึ้น Sandwich Generation คนกลางสำคัญ

Date Time: 17 พ.ย. 2566 17:25 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • KBank Private Banking ชี้ ปรากฏการณ์การส่งต่อทรัพย์สินครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นทั่วโลก และรวมถึงประเทศไทยด้วย รวมทั้งครอบครัวที่มีความมั่งคั่งสูง ส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจมากขึ้น จากปัจจัยความท้าทายในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบให้มูลค่าทรัพย์สินมีความเสี่ยงที่จะมีมูลค่าลดลง ผลสำรวจพบ ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก 80-90%

Latest


เรียกได้ว่าเป็นยุคของการส่งต่อความมั่งคั่งครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Wealth Transfer) เลยก็ว่าได้ เมื่อคนมีอายุยืนยาวขึ้น ในหลายครอบครัวจึงมีสมาชิกอย่างน้อย 3 รุ่นขึ้นไป ทำให้สมาชิกครอบครัวในรุ่นตรงกลาง หรือ Sandwich Generation ต้องรับบทหนักในการเป็นตัวกลางระหว่างคนรุ่นก่อนและทายาทรุ่นต่อไป ต้องรับมือกับความซับซ้อนและความท้าทายที่มากขึ้นจากในอดีต พร้อมเผยมุมมองที่แตกต่างของทายาทรุ่นใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อเตรียมพร้อมการส่งต่อความมั่งคั่งให้ประสบความสำเร็จ

การส่งต่อทรัพย์สินในสหรัฐฯ สูงกว่า 2 พันล้านล้าน

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non-Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า การส่งต่อความมั่งคั่งครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นทั่วโลก และรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งการส่งต่อทรัพย์สินเฉพาะในสหรัฐฯ จะมีมูลค่ากว่า 59 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 พันล้านล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ นโยบายด้านภาษี การทำสาธารณกุศล และทำให้เกิดการศึกษาถึงวิธีการในการส่งต่อทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ทั้งนี้ ในสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจในสหรัฐฯ ต่างให้ความสำคัญในการศึกษาบทบาทของกลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างรุ่น หรือที่เรียกว่า Sandwich Generation ในครอบครัวที่อาจจะประกอบด้วยสมาชิกครอบครัวตั้งแต่ 3 รุ่นขึ้นไป ซึ่ง Sandwich Generation นี้ จะเป็นผู้รับบทบาทสำคัญในการปกป้องทรัพย์สินจากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ไม่ให้มีมูลค่าลดลง ในขณะเดียวกันต้องวางแผนส่งต่อทรัพย์สินของครอบครัวไปยังรุ่นต่อไป โดยที่ยังต้องรับความกดดันจากคนรุ่นพ่อแม่ที่มีทัศนคติต่างกัน 

“Sandwich Generation จะต้องเข้าใจความต้องการของ Next Gen ที่กำลังวางแผนส่งต่อทรัพย์สินให้ โดยต้องการมีอิสระในการใช้ชีวิต เลือกทางเลือกในการทำงานด้วยตนเอง อยากมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและการตัดสินใจของครอบครัว รวมทั้งยังต้องการที่จะจัดการธุรกิจครอบครัวให้เป็นระบบ โดยมีแนวโน้มที่จะใช้มืออาชีพเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้การส่งต่อของรุ่นต่อๆ ไปให้ราบรื่นมากขึ้น” 

และจากการศึกษาร่วมกันระหว่าง KBank Private Banking กับ  Lombard Odier พบว่าหลังการระบาดของ Covid-19 ครอบครัวที่มีความมั่งคั่งสูง ส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจมากขึ้น เนื่องมาจากความท้าทายในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบให้มูลค่าทรัพย์สินของครอบครัวต้องมีความเสี่ยงที่จะมีมูลค่าลดลง ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ถี่และรุนแรงขึ้น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ภาวะสงคราม  อัตราเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ภาษี และข้อบังคับต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ การวางแผนปกป้องทรัพย์สินครอบครัวจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ในขณะเดียวกัน การวางแผนส่งต่อทรัพย์สินก็เป็นเรื่องที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก 80-90% มองว่าการสื่อสารระหว่างรุ่นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการส่งต่อความมั่งคั่ง แต่ 50% มองว่าการสื่อสารระหว่างรุ่นเป็นเรื่องที่ยาก และไม่ได้มีการสื่อสารกัน

ส่วนครอบครัวที่ KBank Private Banking จัดกงสีให้หลังๆ จะมีกองทุนที่สามารถไปลงทุนได้ อาทิ Startup ทั้งหมดนี้จึงเป็นหน้าที่สำคัญของคนที่เป็น Sandwich Generation ที่จะต้องเตรียมพร้อม และทำความเข้าใจความต้องการของทายาทที่จะต้องรับช่วงต่อ 

KBank Private Banking จึงได้สรุป 3 มุมมองหลักที่แตกต่างของทายาทรุ่นใหม่ ดังนี้

  1. มุมมองด้านการลงทุน เช่น ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการลงทุนของครอบครัว ที่ในรุ่นพ่อแม่สูงอายุมักจะออมเงินในรูปแบบของเงินฝาก และเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ในขณะเดียวกัน รุ่นทายาทกลับมองว่าการฝากเงินหรือการลงทุนดังกล่าวให้ผลตอบแทนน้อยและทำให้สินทรัพย์เติบโตไม่ทันเงินเฟ้อ จนท้ายที่สุดทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง คนรุ่นใหม่จึงสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก เช่น การลงทุนในธุรกิจ Sustainability เป็นต้น

  2. มุมมองต่อทรัพย์สินอย่างที่ดิน ที่คนรุ่นทายาทมองว่าเป็นทรัพย์สินที่จัดการยาก ต้องเฝ้าระวัง มีภาระค่าใช้จ่าย ขาดสภาพคล่อง ใช้ประโยชน์ได้ยาก และที่ดินบางผืนมีการปรับราคาขายไม่เท่าอัตราเงินเฟ้อ

  3. มุมมองด้านการจัดการในครอบครัว เช่น ไม่อยากทำงานร่วมกับสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่ยังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ต้องการเลือกอาชีพหรือลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ของตัวเอง เป็นต้น

ในฐานะผู้ให้บริการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว มองว่าทุกครอบครัวไม่ว่าจะมีทรัพย์สินมากหรือน้อย ก็จำเป็นจะต้องมีการบริหารสินทรัพย์ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในอนาคต และต้องไม่ลืมบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนมุมมองทรัพย์สินในครอบครัวให้เป็นองค์รวม ตั้งแต่ในระดับการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ, การลงทุน, การจัดการความเสี่ยง, ระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน, การจัดการภาษี, การส่งต่อทรัพย์สิน, การวางแผนผู้สืบทอด 

สิ่งต้องทำต่อไปก็คือ ต้องมีการสื่อสารภายในครอบครัวที่โปร่งใส เปิดเผย และเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างรุ่น ที่สำคัญคือต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับความต้องการและช่วงเวลา เช่น ปัจจุบันแนวโน้มในการจัดตั้งทรัสต์ลดลง การจัดตั้งสำนักงานครอบครัวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ในสิงคโปร์เติบโตขึ้น 5 เท่า ปัจจุบันคาดว่าจะมีกว่า 1,000 ครอบครัว ส่วนในไทยมีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ครอบครัว 

รวมทั้งการขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้คำแนะนำในการจัดโครงสร้างธุรกิจให้ก้าวข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัว รวมถึงผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่เป็นเครื่องมือที่ถูกที่สุด และมีคุณสมบัติที่หลากหลายในการบริหารจัดการและส่งต่อทรัพย์ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ส่วนกรณีที่กรมสรรพากรปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมีเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ เริ่มใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไปนั้น พีระพัฒน์ มองว่า จะต้องดูความชัดเจน ในส่วนของนโยบายที่รัฐจะจัดเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศปีหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และจะมีการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ รวมทั้งเรื่องของตัวรายได้ที่จะนำมาคำนวณค่อนข้างมีหลากหลาย เนื่องจากมีหลายส่วนที่จะกระทบทั้งผู้ลงทุนเอง และสถาบันที่ไปลงทุนให้ ดังนั้นจึงอยากจะได้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ