กรุงเทพประกันชีวิต กวาดเบี้ยรับรวม 3.4 หมื่นล้าน กำไรสุทธิ 2.5 พันล้าน ขายผ่านแบงก์โตสุด

Personal Finance

Insurance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรุงเทพประกันชีวิต กวาดเบี้ยรับรวม 3.4 หมื่นล้าน กำไรสุทธิ 2.5 พันล้าน ขายผ่านแบงก์โตสุด

Date Time: 22 ก.พ. 2567 18:09 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • กรุงเทพประกันชีวิต ประกาศผลการดำเนินงานในปี 2566 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมกว่า 34,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรกกว่า 6,800 ล้านบาท โดยช่องทางธนาคารมีเบี้ยประกันภัยรับปีแรกเพิ่มขึ้น 2% จากผลิตภัณฑ์ในช่องทางธนาคารที่ได้รับผลตอบรับที่ดี มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานกว่าทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 67 วางแผนสร้างการเติบโตทั้ง ผลิตภัณฑ์ บริการ

Latest


โชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2566 ว่า กรุงเทพประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวมในปี 2566 จำนวน 34,155 ล้านบาท โดยเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรกจำนวน 6,885 ล้านบาท ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  

ยอดขายผ่านแบงก์โตสุด ตัวแทน-ช่องทางอื่นๆ ลดลง 13%

และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในปี 2566 ทั้งสิ้น 2,548 ล้านบาท โดยช่องทางธนาคารมีเบี้ยประกันภัยรับปีแรกเพิ่มขึ้น 2% จากผลิตภัณฑ์ในช่องทางธนาคารที่ได้รับผลตอบรับที่ดี ขณะที่ช่องทางตัวแทนมีเบี้ยประกันภัยรับปีแรกลดลง 2% และช่องทางอื่นๆ ลดลง  13% 

สำหรับไตรมาส 4 ปี 2566 บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวมจำนวน 7,878 ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรกจำนวน 1,574 ล้านบาท ลดลง 28% เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าช่องทางธนาคารมีฐานเบี้ยรับปีแรกที่สูง  บริษัทมีสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2566 จำนวน 325,931 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2565 ที่ 5% จากการลดลงของมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ลงทุน 

ทั้งนี้สินทรัพย์ลงทุนและเงินสดคิดเป็นสัดส่วน 97% ของสินทรัพย์รวม  อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีความมั่นคงของฐานะทางการเงินสูงจากระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio–CAR ณ สิ้นปี 2566 ที่ระดับ 405% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2565 ที่ 377% ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 140%   

ในปี 2566 บริษัทมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนบนรากฐานที่มั่นคงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจบริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง อาทิ ผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการวางแผนเกษียณ แฮปปี้ เพนชั่น (มีเงินปันผล) ประกันบำนาญที่มีผลประโยชน์ที่รับรองการจ่ายและมีโอกาสรับผลประโยชน์เพิ่มเติมจากเงินปันผล เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินเมื่อถึงวัยที่ไม่มีรายได้จากการทำงาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เน้นสร้างการออม เกนเฟิสต์ สปีด อัพ 15/8 และผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันปัญหาค่าใช้จ่ายการเงินจากค่ารักษาพยาบาล

ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกรักและดูแลสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ทำให้สามารถมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 9% และปริมาณการใช้กระดาษภายในองค์กรลดลง 11% จากปีก่อนหน้า บริษัทยังได้รณรงค์การลดการใช้กระดาษอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมให้ลูกค้าดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน BLA Happy Life ผ่านแคมเปญลูกค้าต่างๆ ในปี 2566 มีจำนวนผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากปีที่ผ่านมา

ในด้านสังคมบริษัทให้ความสำคัญในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล และบริษัทยังให้ความสำคัญในการส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินและการประกันชีวิตกับประชาชนตลอดปีรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน บริษัทได้ดำเนินการด้านการกำกับกิจการอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  

ส่งผลให้บริษัทได้รับผลการประเมินจากการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies – CGR) ประจำปี 2566 ในระดับ 5 ดาว หรือดีเลิศซึ่งเป็นระดับสูงสุด และได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top Quartile ของบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน “SET ESG Ratings” ในระดับ AA ประจำปี 2566 สะท้อนถึงความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของกรุงเทพประกันชีวิต

“ในปีนี้ได้วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ และการขายผ่านช่องทางจำหน่ายต่างๆ โดยเฉพาะช่องทางธนาคารที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการทุกกลุ่มลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มการทำงานร่วมกับกลุ่มคู่ค้าที่มีศักยภาพสูง เพื่อให้เข้าใจความต้องการและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป้าหมายสร้างการเติบโตในระยะยาว”


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ