การร่วมกู้คืออีกหนึ่งโอกาสที่สามารถสานฝันให้การมีบ้านง่ายมากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการกู้ร่วมไม่ได้มีแค่คู่รักชาย-หญิงเท่านั้นที่สามารถทำได้ เพราะคู่รัก LGBTQIAN+ ก็สามารถจับมือร่วมกู้ได้เช่นกัน โดยมี 4 ธนาคารที่รองรับการกู้ร่วมคู่รักทุกเพศ
“บ้าน” ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่คือจุดศูนย์รวมความรักของครอบครัว และคู่ชีวิตที่คิดจะลงหลักปักฐานสร้างความมั่นคงร่วมกัน แน่นอนว่าการมีบ้านสักหลังคือความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่การที่จะมีบ้านได้นั้นก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกันโดยเฉพาะเมื่อต้องทำเรื่องกู้บ้าน เพราะบางคนอาจมีวงเงินและคุณสมบัติไม่เพียงพอ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามี “ผู้กู้ร่วม” เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินและแชร์ความฝันในการมีบ้านไปด้วยกัน
กู้ร่วม คือการนำสถานะทางการเงินของ 2 คน ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมารวมกันเพื่อทำสัญญายื่นกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน และเพิ่มความมั่นใจให้ธนาคารว่าจะผู้กู้จะสามารถผ่อนชำระหนี้ตามกำหนดได้เพราะไม่ต้องแบกคนเดียว
การกู้ร่วมสามารถทำได้ทั้งในสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยประโยชน์ของการกู้ร่วมซื้อบ้านนั้นคือ มีโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น ได้วงเงินกู้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการจายความเสี่ยงและเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้ยื่นกู้
โดยปกติแล้ว สินเชื่อบ้านจะมีผู้กู้ และผู้กู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คนเท่านั้น (ผู้กู้หลัก 1 คน และ กู้ร่วมสูงสุด 2 คน) ซึ่งการกู้ร่วมซื้อบ้านจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
รวมถึงคู่รัก LGBTQIAN+ ก็สามารถกู้ร่วมได้เช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยมี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ที่คู่รักทุกคู่จะได้รับสิทธิทางกฎหมายอย่างเสมอภาค โดยจะต้องแสดงหลักฐานยืนยันการเป็นคู่รักกันจริง เช่น ทะเบียนบ้านที่มีชื่อทั้งสองคน หรือเอกสารที่กู้ซื้อร่วมกัน เช่น รถยนต์ รวมถึงเอกสารการทำธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้ธนาคารพิจารณาวงเงินและคุณสมบัติต่อไป
ปัจจุบัน มี 4 ธนาคารเอื้อคู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ร่วมได้ โดยมี
ทั้งนี้ วงเงินกู้สูงสุดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้กู้ร่วม และความมั่นคงทางอาชีพหรือการเงินของผู้กู้เป็นหลัก
อีกทั้งการเตรียมเอกสารให้พร้อมก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ซึ่งการกู้ซื้อบ้านร่วมกันของคู่รัก LGBTQIAN+ นั้นต้องมี
อย่างไรก็ตาม “การกู้” หมายถึงการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นให้กับตัวเอง ดังนั้นการวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องกู้เท่าที่ตัวเราจำเป็นและคิดว่าจะชำระคืนไหว ไม่สร้างหนี้มากเกินไปจนเกินตัว เพราะหากมีหนี้เกินจะรับไว้ ไม่ว่าจะมีผู้กู้ร่วมมากเท่าไหร่ก็ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าจะสามารถแบกหนี้ที่หนักอึ้งไปได้ตลอด
ที่มา : ธอส., แสนสิริ, ทีทีบี, DDproperty