Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR

จดทะเบียนบริษัท ช่วยประหยัด “ภาษี” ได้ จริงไหม? ปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึง เมื่อเป็นเจ้าของกิจการ

Date Time: 12 ก.พ. 2568 10:47 น.

Summary

  • เป็นเจ้าของกิจการ ,ทำธุรกิจ ,ทำฟรีแลนซ์ อยากประหยัด “ภาษี" ต้องจดทะเบียนบริษัทไหม ไขข้อข้องใจ ประเภทของค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึง มากกว่าเรื่อง “ภาษี”

ก่อนหน้านี้ Thairath Money นำเสนอ แนวทางเตรียมความพร้อม การวางแผนภาษีล่วงหน้า เพื่อช่วยประหยัด “ภาษี” เมื่อถึงคราวต้องยื่นภาษีและขอคืนในแต่ละปีภาษี

โดย 1 ในเคล็ดลับสำคัญ สำหรับคนที่มีรายได้ในแต่ละปีมาก ทั้งมาจากการทำงานประจำ งานพิเศษ  ทำฟรีแลนซ์ หรือ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง คือ การกระจายเงินได้ ออกเป็นหลายหน่วยภาษี เช่น จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคล หรือ จดทะเบียนบริษัท เปลี่ยนรูปแบบจาก “บุคคลธรรมดา” เป็น “นิติบุคคล”

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ควรรับรู้ คือ แม้การจดทะเบียนบริษัทเป็นหนทางในการลดภาระภาษีได้ แต่ในความเป็นจริง การจดทะเบียนบริษัท อาจจะไม่ใช่ ปัจจัยเรื่องภาษีที่ประหยัดได้ เท่านั้น แต่เป็นตัวชี้วัดอื่นๆ ที่คนทำธุรกิจต้องคำนึงด้วย

จดบริษัท = ประหยัดภาษี? 

ข้อมูล จาก บมจ.ธรรมนิติ ระบุ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวหรือประกอบอาชีพอิสระ มีโอากาสประหยัดภาษีได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนบริษัท หากเข้าใขหลักการคำนวณภาษีที่แตกต่างกัน ระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล คือ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ประเภทของ ค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น 

  • หักค่าใช้จ่ายเหมา : เหมาะกับคนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เพราะหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น 60% สำหรับคนที่ขายของแบบซื้อมาขายไป ซึ่งอัตราการหักค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้ที่กฎหมายกำหนดไว้ 
  • หักค่าใช้จ่ายตามจริง : เหมาะกับผู้ที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ค่าซื้ออุปกรณ์ ค่าแรง ที่ต้องมีหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี 

ค่าลดหย่อน 

ตามกฎหมายบุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้หลากหลาย เช่น 

  • ลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา ค่าเลี้ยงดูบุตร และ ค่าเลี้ยงคู่สมรส 
  • ลดหย่อนจากเบี้ยประกัน ประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต 
  • ลงทุนในกองทุน TESG SSF และ RMF หรือ การลดหย่อนอื่นๆ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด 

ตัวชี้วัดของธุรกิจ 

สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องนำมาพิจารณาจริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องประหยัดภาษี แต่เป็นตัวชี้วัดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น 

  • โอกาสในการเติบโตของธุรกิจ
  • ความจำเป็นด้านการเงิน 
  • การวัดผลและค่าใช้จ่ายจริง 


เป้าหมายของธุรกิจ 

ฉะนั้นปัจจัยในการตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “ภาษี” เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ “ธุรกิจ” ที่เจ้าของกิจการ และ นักบัญชีต้องพิจารณาร่วมกัน ได้แก่ 

  • ถ้ามีเป้าหมายขยายธุรกิจในอนาคต การจดทะเบียนบริษัทถือว่าเหมาะสม
  • ถ้าไม่มีแผนขยายกิจการ การดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ก็เป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ 


สรุปแล้ว การไม่จดทะเบียนบริษัทก็สามารถประหยัดภาษีได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการที่ดำเนินการอยู่ หากเราทำธุรกิจในลักษณะที่ไม่เป็นนิติบุคคล หรือเป็นกิจการขนาดเล็กที่รายได้ไม่สูงมาก ก็สามารถใช้วิธีการเสียภาษีในรูปแบบของ "รายบุคคล" ได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนบริษัท

ในกรณีนี้ เราสามารถยื่นภาษีในฐานะผู้ประกอบการรายบุคคล (หรือที่เรียกว่า "ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา") ซึ่งมีอัตราภาษีที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับการจดทะเบียนบริษัท และไม่ต้องมีภาระด้านบัญชีและรายงานที่ยุ่งยากเหมือนกับบริษัทนิติบุคคล

แต่ก็มีข้อจำกัด เช่น หากรายได้ของเราเริ่มสูงขึ้นหรือมีลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานพนักงานจำนวนมาก หรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง อาจจำเป็นต้องจดทะเบียนบริษัทเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายและเพื่อสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การคุ้มครองความรับผิดชอบทางกฎหมาย (limited liability) เป็นต้น

อีกทั้ง หากทำกิจการขนาดเล็กและรายได้ไม่สูงมาก การไม่จดทะเบียนบริษัทอาจช่วยประหยัดภาษีได้ แต่ถ้าเรามีแผนธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น หรือคาดว่าจะเติบโต การจดทะเบียนบริษัทอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีในระยะยาวมากกว่า 

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/investment 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


เราใช้คุ้กกี้

เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติมคลิก(Privacy Policy) และ (Cookie Policy)