เช็กลิสต์แผนการเงินปี 2024 ทำอะไรสำเร็จแล้วบ้าง เพื่อตัวเราใน “อนาคต”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กลิสต์แผนการเงินปี 2024 ทำอะไรสำเร็จแล้วบ้าง เพื่อตัวเราใน “อนาคต”

Date Time: 29 ธ.ค. 2567 08:00 น.

Video

ลายเส้นสะท้อนตัวตนเบียร์ “The Brewing Project“ | BrandStory Special EP x เมรัยไทยแลนด์

Summary

  • Thairath Money ชวนทุกคนทบทวนแผนการเงินในปีที่ผ่านมา ว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว เมื่อเทียบกับการตั้งเป้าหมายช่วงต้นปี มีตรงไหนที่ต้องปรับเปลี่ยน อะไรที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเงินในอนาคต

Latest


ใกล้เวลาสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงวุ่นกับการเตรียมฉลองงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 ตื่นเต้นที่จะได้พบหน้าและใช้เวลาแห่งความสุขไปพร้อมกับครอบครัวและคนที่รัก หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการทำงานหนักมาตลอดทั้งปี แต่ก่อนที่จะไปสนุกกันอย่างเต็มที่

Thairath Money อยากชวนทุกคนใช้เวลาไม่กี่นาที มาลองทบทวนแผนการเงินในปีที่ผ่านมา ว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว เมื่อเทียบกับการตั้งเป้าหมายช่วงต้นปี มีตรงไหนที่ต้องปรับเปลี่ยน อะไรที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเงินในอนาคต

สำหรับคนที่ยังไม่เริ่มวางแผนการเงินแต่พอจะมีเป้าหมายการเงินในใจบ้างแล้ว เราอยากชวนไปดูสถานการณ์คนไทยมีความพร้อมแค่ไหน เรื่องจัดการเงินของคนไทย เพื่อให้เห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินมากขึ้น

คนไทยพร้อมเกษียณแค่ไหน

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่พร้อมเกษียณและมีความมั่นคงทางการเงินต่ำ แม้คนไทยจะชอบออม แต่มีเพียง 22% เท่านั้นที่มีเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เดือนขึ้นไป สะท้อนว่าคนไทยมีแนวโน้มที่จะวางแผนเก็บออมเพื่อใช้ในยามชราน้อยลง ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ กลุ่มคนที่เกษียณอายุแล้วยังไม่สามารถเก็บออมได้ตามแผนที่ตั้งใจ มีมากถึง 42%–47% เมื่อเทียบกับคนในช่วงวัยเดียวกัน

สิ่งนี้กำลังส่งสัญญาณว่าประเทศกำลังจะเจอ “วิกฤติสังคมสูงวัย” คนเกษียณไปมีเงินไม่พอใช้ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมากขึ้นเพื่อจัดหาสวัสดิการรองรับคนกลุ่มนี้ ในขณะที่ไทยมีพื้นที่ทางการคลังน้อยลงเรื่อยๆ เพราะรายได้โตไม่ทันรายจ่าย ในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดยอด (Super Aged Society) ซึ่งหมายความว่า เราจะมีสัดส่วนคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด การหวังพึ่งเบี้ยคนชราจากรัฐบาลจึงไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ เพราะจำนวนคนแก่ล้นประเทศ ในขณะที่สัดส่วนคนวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ ตามอัตราการเกิดที่น้อยลง ดังนั้นการมีแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เรา “เกษียณไปไม่ลำบาก”


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ