เดอะวิสดอมกสิกรไทย แนะนักลงทุนจับตานโยบายทรัมป์ จัดพอร์ตการลงทุนแบบ “Core & Satellite”

Personal Finance

Banking & Bond

Content Partnership

Content Partnership

Tag

เดอะวิสดอมกสิกรไทย แนะนักลงทุนจับตานโยบายทรัมป์ จัดพอร์ตการลงทุนแบบ “Core & Satellite”

Date Time: 17 ธ.ค. 2567 15:09 น.
Content Partnership

Summary

  • เมื่อทรัมป์กลับมา จะพาโลกและไทยไปทางไหน? เจาะลึกทุกมิติที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนในงาน "Wealth Forum Thailand 2025: The New Frontiers of Investment Opportunity" โดยเดอะวิสดอมกสิกรไทย พร้อมวิเคราะห์แนวทางการปรับกลยุทธ์ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2025 จากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน ให้สามารถก้าวข้ามความไม่แน่นอนและคว้าโอกาสสร้างความมั่งคั่งในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทายได้

หลังจาก “โดนัลด์ ทรัมป์” คว้าชัยชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 และพรรครีพับลิกันสามารถครองเสียงส่วนใหญ่ทั้งในสภาบนและสภาล่าง (Republican Sweep) ส่งผลให้นโยบายต่างๆ ที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้มีแนวโน้มที่จะสามารถผลักดันให้ผ่านสภาฯ ได้ไม่ยากนัก

ซึ่งหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 นโยบายเร่งด่วนที่คาดว่าจะเห็นใน 100 วันแรก ไม่ว่าจะเป็นมาตรการปรับเพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้า มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและครัวเรือน รวมถึงการต่ออายุมาตรการลดภาษีที่ประกาศใช้ในปี 2017, มาตรการกีดกันแรงงานอพยพ แล้วเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร มิติใดจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุน?

เดอะวิสดอมกสิกรไทยจึงได้จัดงาน "Wealth Forum Thailand 2025: The New Frontiers of Investment Opportunity" เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ที่อาจสะเทือนเสถียรภาพของตลาดโลกและส่งผลต่อการลงทุนในไทย พร้อมวิเคราะห์แนวทางการปรับกลยุทธ์ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2025 โดยทีม K WEALTH ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเงินและการลงทุนของธนาคารกสิกรไทย และได้เชิญ J.P. Morgan Asset Management กับ Lombard Odier องค์กรชั้นนำระดับโลกซึ่งเป็นพันธมิตรของธนาคารกสิกรไทย มาร่วมวงสัมมนาด้วย ที่จะทำให้นักลงทุนสามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้สามารถก้าวข้ามความไม่แน่นอนและคว้าโอกาสสร้างความมั่งคั่งในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทาย

ในครั้งนี้ Thairath Money ได้สรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา Wealth Forum Thailand 2025 มาเล่าให้ฟังดังนี้


- สิ่งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2025 คือ “ความผันผวน”

- สถานการณ์ปี 2025 เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีการติดตาม

- นโยบายการเงินของธนาคารกลางแตกต่างจากที่เคยประเมินไว้ ความผันผวนของตลาดเงิน ตลาดทุน อัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีอยู่

- เศรษฐกิจไทยยังคงรับมือกับความไม่แน่นอน บริบทโลกของการเงินการลงทุนกับการมาของทรัมป์จึงค่อนข้างผันผวน


แนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2025

ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรกของโดนัลด์ ทรัมป์ เช่น นโยบายการลดเงินสนับสนุนทางทหารกับชาติพันธมิตร นโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมือง นโยบายด้านพลังงาน รวมถึงการลดภาษี ซึ่งโดยรวมแล้วจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่” “สงครามการค้าจะสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียรวมถึงไทยอย่างมากจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การตอบโต้ทางการค้าไปมา การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบจากโอกาสทางการค้าที่หายไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 60% จะส่งผลกระทบทางอ้อมให้ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญการไหลบ่าเข้ามาของสินค้านำเข้าจากจีนที่ได้เปรียบด้านราคา ซึ่งจะส่งผลกระทบอีกต่อหนึ่งต่อภาคการผลิตในแต่ละประเทศ”

Ms. Jin Yuejue, Managing Director, Asia Head of the Investment Specialist Multi-Asset Solution Group จาก J.P. Morgan Asset Management กล่าวว่า แนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2025 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2025 จะเป็นปีที่ทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราเจอโควิด ซัพพลายเชนดิสรัปชั่น เจอดอกเบี้ยสูงที่สกัดเงินเฟ้อ แต่หลังจากปี 2025 หลายๆ อย่างจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง การเติบโตจะกลับมา เงินเฟ้อไม่ได้สูง และดอกเบี้ยกลับมาสู่ภาวะปกติ แต่ในภาพความสดใสยังคงมีความผันผวน จำเป็นอย่างยิ่งที่ในปีหน้าแม้ทิศทางจะดีขึ้น แต่ต้องระมัดระวังการลงทุนด้วยเช่นกัน

“ปัจจุบันทั่วโลกเงินเฟ้อชะลอตัว แต่สิ่งสำคัญที่จะส่งผลกระทบกับเงินเฟ้อหลังจากนี้ คือ การมาของทรัมป์ที่นับเป็นตัวแปรสำคัญ โดยนโยบายของทรัมป์ที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ คือ 1. การจัดการกับคนอพยพ 2. การเก็บภาษีการค้าที่มากขึ้น โดยเริ่มต้นที่จีน เพิ่ม 10% เม็กซิโก-แคนาดาโดน 25% โดยจะเห็นชัดเจนในช่วงครึ่งหลังปี 2025”

และเมื่อ “เงินเฟ้อ” มาจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางของสหรัฐ ที่จะใช้มาตรการเรื่องดอกเบี้ยอย่างไรต่อไป ซึ่งในมุมมอง Ms. Jin Yuejue มองว่า เฟดอาจชะลอการลดดอกเบี้ยลงไตรมาสละ 2 ครั้ง ทำให้โอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับตัวลงแรงๆ อาจจะไม่ได้เยอะมากนัก นอกจากความเสี่ยงในเรื่องของเงินเฟ้อที่ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามอง ก็ยังมีในเรื่องของ “ภาวะสงคราม” แม้จะเจรจากันได้ แต่สำหรับปี 2025 สงครามอาจไม่รุนแรง ความสำคัญอยู่ที่ “ทรัมป์” มากกว่า ซึ่งต้องรอดูว่าทรัมป์จะออกนโยบายอะไร อีกด้านคือ ความขัดแย้งของจีนกับอเมริกา เพราะจีนเตรียมตั้งรับและตอบกลับเช่นกัน ฉะนั้นความเสี่ยงจึงสามารถมองได้สองด้าน คือ ด้านที่มีในตลาดกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งหากเรามองออกทั้งหมดนี้ก็จะกลายมาเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน

แนะนักลงทุนกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก

ฉะนั้นคำแนะนำการลงทุนหรือโซลูชันให้กับผู้ลงทุนในปี 2025 ยังเห็นด้วยที่ต้องกระจายความเสี่ยง เพราะสถานการณ์ความผันผวนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องพร้อมที่จะติดตามและปรับน้ำหนักการลงทุนอย่างเหมาะสม โดยให้น้ำหนักไปที่หุ้นอเมริกาและญี่ปุ่น แต่เลี่ยงยุโรป เพราะมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้นักลงทุนต้องมีทั้งหุ้นและตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูง สอดคล้องกับภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ ดังนั้นกิจการภาคเอกชนจะมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง มีงบดุลบริษัทที่ดีขึ้น นักลงทุนอาจจะหันมาลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพดีก็ได้เช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกันกลยุทธ์ที่เหมาะสมการลงทุนในหุ้นในปี 2025 มองว่าหุ้นอเมริกาผลประกอบการยังคงเติบโต ส่วนกลยุทธ์คือเลือกมองหาหุ้นที่ไปทาง Value มากขึ้น โดยต้องกระจายการลงทุน ต้องปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ขณะที่ Mr. Homin Lee, Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐที่ทำให้ภาพของการลงทุนมีความผันผวนคือการมาของทรัมป์ที่มาพร้อมกับนโยบายหลากหลาย บางนโยบายเป็นบวกทำให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโต แต่บางนโยบายเป็นลบกับเศรษฐกิจที่ไม่ใช่แค่สหรัฐ แต่ส่งผลกับทั้งโลก

สิ่งสำคัญคือ Tax ที่จะมีการลดการเก็บภาษีนิติบุคคล รายได้เข้ารัฐบาลน้อยลงแต่จะไปลดเรื่องของ Green และเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องตามดูต่อไปว่าจะส่งผลมากน้อยแค่ไหนในระยะยาว แต่ประเทศที่เกี่ยวข้องที่สหรัฐขาดดุลการค้าน่าจะเจอความท้าทายและส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

ขณะที่เงินเฟ้อมาจากการขึ้นภาษีการค้าที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งทรัมป์ไม่สามารถขึ้นภาษีการค้าได้เต็มที่อย่างที่หาเสียงไว้ และมาตรการการกีดกันการค้ามันส่งผลกระทบทั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเงินเฟ้อน่าจะเกิดขึ้นและสูงกว่ารอบที่ผ่านมา โดยคาดว่าช่วงกลางปี 2025 จะเห็นแอคชั่นของมาตรการทรัมป์เต็มรูปแบบ

สำหรับคำแนะนำการลงทุน Mr. Homin Lee แนะนำถึงหุ้นสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ยังส่งสัญญาณบวกต่อเนื่อง ในขณะที่หุ้นยุโรปยังคงทรงตัว ตราสารหนี้ระดับลงทุน Investment Grade หรือหุ้นกู้ High Yield ที่มี Credit Rating ที่ดี นอกจากนี้การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) เช่น ทองคำและอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เป็นโอกาสการลงทุนที่ดีในช่วงเวลานี้

ความเสี่ยงอาจมาพร้อมกับโอกาส

“อย่างไรก็ตามความเสี่ยง ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ การคว่ำบาตรกับอิหร่านที่อาจรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในเกมความขัดแย้งนี้ยังเป็นอะไรที่ต้องติดตาม ส่วนอีกด้านที่จะเห็นแน่ๆ คือการเพิ่มงบประมาณในการป้องกันประเทศ ที่เม็ดเงินจะกลับมามากขึ้น โดยฝั่งอเมริกาจะได้ประโยชน์กับการที่เป็นผู้ประกอบการด้านอาวุธ เทคโนโลยี ดังนั้นจริงๆ แล้วความเสี่ยงในเรื่องของเงินเฟ้อ ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ สามารถมองได้สองมุม ที่ต้องเตรียมความพร้อมระวัง แต่อีกมุมหนึ่งคือเมื่อไรที่มีความเสี่ยงนักลงทุนสามารถคว้าโอกาสในการลงทุนได้”

ฉะนั้นในแง่ของการลงทุนในปี 2025 คีย์แรกที่ต้องเข้าใจคือการมาของทรัมป์เท่ากับความผันผวนที่มากขึ้น นักลงทุนจึงต้องทำความเข้าใจและกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่แค่ในแต่ละสินทรัพย์ แต่ต้องกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์นั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ฝั่งของ “หุ้น” ยังเป็นบวกกับตลาดหุ้นอเมริกา หุ้นญี่ปุ่น ส่วนตลาดที่ค่อนข้างลงมาคือตลาดหุ้นยุโรป


โอกาส ความเสี่ยง และกลยุทธ์การลงทุนปี 2025

ทั้งนี้มุมมองผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน วิเคราะห์สำหรับการปรับพอร์ตการลงทุนให้สามารถก้าวข้ามความไม่แน่นอนและคว้าโอกาสสร้างความมั่งคั่งในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทาย

วีระพล บดีรัฐ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ควรกระจุกการลงทุนให้น้อย กระจายการลงทุนให้เยอะ โดยการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core Satellite สำหรับนักลงทุนทั่วไป 70% อาจฝากไว้ที่ Multi Asset Fund ไม่ว่าจะเป็น K-Wealth Plus Series ให้ Fund Manager บริหาร ส่วนอีก 30% เลือกลงทุนเอง เช่น K-FIXEDPLUS-A ทั้งนี้การจัดพอร์ตลงทุนแบบ Core Satellite เป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่นและอยู่ได้ยาวๆ

และสำหรับการปรับพอร์ตที่ลงทุนไปแล้ว ควรมีจีนในพอร์ตหรือไม่นั้น หากมองในระยะยาว ควรมีอยู่ และอเมริกา ยุโรปควรถือระยะยาวๆ แต่ปัจจุบันเราไม่ได้มองจีนเป็น Core Port แต่เรามองจีนเป็นการลงทุนระยะสั้น ดังนั้นถ้าวันนี้ใครยังไม่มีจีน ค่อยๆ สามารถเติมเข้าไปในพอร์ตได้ ไม่เสียหาย เนื่องจากจุดต่ำสุดของจีนไม่สามารถลงได้มากกว่านี้ แต่ถ้ามีไม่เกิน 30% สามารถถือต่อได้ไม่จำเป็นต้องขายทิ้ง แต่ไม่จำเป็นต้องมีเยอะ

ส่วนอินเดีย แม้จะโตมาโดยตลอด แต่อาจจะเข้าสู่การชะลอตัว แต่อินเดียควรอยู่ในพอร์ตเหมือนเดิม แต่ถ้ามีเยอะไม่ควรเติมในระยะสั้น

ขณะที่เวียดนาม ยังพอมีโอกาสเติบโตไปได้อีก Valuation ของเวียดนามต่ำกว่าค่าเฉลี่ยพอสมควร แต่มีโอกาสเติบโตได้ แม้มีปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่อง มอง Satellite เวียดนามน่าลงทุนสุดใน 3 ตัวนี้

วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ CFA, รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย มองว่า ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ลงทุนควรมี portfolio ที่กระจายการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อรองรับกับความผันผวน โดยใช้กลยุทธ์ Core Satellite

และการมาของทรัมป์แม้จะผันผวน แต่มีโอกาสซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดอกเบี้ย มาตรการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบในบางอุตสาหกรรม ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกประเทศที่ได้อานิสงส์เชิงบวกแต่ต้องกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ซึ่งวันนี้อัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะลงได้อีก แต่อาจจะลงได้ช้า เนื่องจากการใช้เงินของทรัมป์อาจจะเยอะ และการกีดกันทางการค้าอาจจะทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่ได้ลดลงเร็ว ไม่ได้ลดลงแรง โดยทางธปท.ได้ลดอัตราดอกเบี้ยแล้วในช่วงที่ผ่านมา ส่วนในปี 2025 มีโอกาสที่จะลงได้อีก 1-2 ครั้ง เพื่อลดภาระหนี้สินภาคครัวเรือน

“เศรษฐกิจไทยไม่ได้เติบโตเยอะนัก เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งมองว่า GDP ไม่ถึง 3% อย่างแน่นอน ฉะนั้นนโยบายภาครัฐที่ออกมาแล้วคือ ให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และลดดอกเบี้ย ฉะนั้นมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยโลกก็อยู่ในช่วงขาลงเช่นกัน ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 0.8% ดังนั้นในปี 2025 จึงมองเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 1% สรุปได้ว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางทรงกับลง”

ดังนั้นสำหรับใครที่มีเงินฝากในออมทรัพย์ กระแสรายวัน จะต่ำลงเรื่อยๆ แต่โซลูชั่นในเรื่องกองทุนรวมตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า ส่วนรูปแบบใหม่ๆ หรือเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ มองเทรนด์การลงทุนคล้ายๆ แบบเดิม คือ เรื่องของเทคโนโลยี AI ยังคงดีอยู่ แต่เรื่องของ Growth เริ่มลดลง และเซกเตอร์อื่นๆ ประเทศอื่นๆ เริ่มเติบโตดีขึ้น โดยเป็นการโตกระจาย ไม่ได้โตกระจุกเหมือนในอดีต

สำหรับธีมการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่พึ่งพาได้ที่ วจนะ มองคือ ตราสารหนี้ที่เน้นของไทย ส่วนของหุ้นโลกจะเน้นที่ K-GSELECT เมื่อนึกถึงการลงทุนหุ้นโลกที่สามารถแข่งขันในตลาด และแบรนด์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ส่วนอีกธีมคือ ดอกผลที่จะได้รับนอกจากตราสารหนี้ที่เกิดขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยที่มีทิศทางลง ตราสารหนี้ไม่ใช่ได้ประโยชน์อย่างเดียว แต่มีตราสารอื่นที่ได้รับประโยชน์ด้วย อาทิ อสังหาริมทรัพย์ อย่าง K-PROPI ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

โดยเซกเตอร์ที่เน้นลงทุนเป็นเซกเตอร์ที่มีความต้องการสูง เช่น Data Center ส่วนกลุ่มประเทศไหนที่นักลงทุนต้องระวัง คือ ตลาดหุ้นยุโรป เนื่องจากโตต่ำ

สรพล วีระเมธีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย กล่าวเช่นเดียวกันว่า ปี 2025 เป็นปีแห่งความผันผวน ดังนั้นจึงแนะนำกระจายสินทรัพย์ลงทุนในกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจาก Geopolitical ที่จำกัด

“ปี 2025 ของไทย เครื่องยนต์ที่ยังพอไปได้ คือ การบริโภคในประเทศ, การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ ที่จะเป็นลมส่ง แต่ประเทศไทยพึ่งพิงเรื่องของการส่งออกค่อนข้างเยอะ ดังนั้นการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น”

ทั้งนี้ในเรื่องของสงครามการค้าสามารถวิเคราะห์ได้ 2 มุมคือ ด้านบวกที่ต่างประเทศเริ่มมีการย้ายเข้ามาซื้อสินทรัพย์ ที่ดิน ในประเทศไทยมากขึ้น อาทิ อมตะ ของ WHA ซึ่งนับเป็นปัจจัยบวก ขณะที่ปัจจัยลบที่ถือเป็นความเสี่ยงคือ ต้องระวังการกีดกันทางการค้า โดยต้องเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างการขึ้นภาษี

สำหรับสินทรัพย์นอกเหนือจากตราสารหนี้ที่ทุกคนต้องมี เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องกระจายความเสี่ยง คือ เรื่องของ “ตราสารทุน” หรือ หุ้น ซึ่งหลายๆ ฝ่ายยังคงเชื่อมั่นในหุ้นโลก หุ้นอเมริกา

ดังนั้นในมุมมองของนักกลยุทธ์ “นักลงทุนไทย” จะทำอย่างไรดี?

สรพล มองว่าภาพรวมการลงทุนในปี 2025 หลาย ๆ อย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ทรัมป์จะทำให้คนหันมาสนใจ Valuation ถ้าลงทุนในหุ้นไทยอย่างเดียว มีหุ้นไม่เกิน 5 ตัวที่เข้า winner คือ DELTA, CCET, TRUE, INTOUCH, GULF จาก SET ที่มี 600 ตัว ฉะนั้นต้องมีการกระจายความเสี่ยง กระจายพอร์ตการลงทุนที่ไม่ได้โฟกัสประเทศใดประเทศหนึ่ง และเราจะไม่เจ็บตัว

ส่วนหุ้นอเมริกายังมีโอกาสไปต่อได้ เนื่องจากมีการปรับตัวขึ้นของหุ้นอเมริกา แต่คีย์ที่ต้องให้ความสำคัญคือมอง Valuation มากขึ้น เพราะตราบใดที่ยังคงมีความผันผวน สิ่งที่จะยังคงอยู่กับเราคือความเหมาะสม ที่หุ้นเหล่านั้นต้องไม่แพงเกินไป เติบโตได้ ผลประกอบการดี ส่วนของหุ้นไทย เป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 มองไว้ที่ 1,520 จุด และไม่ว่าสงครามโลก สงครามการค้า หรือวิกฤติ ยังไงการลงทุนก็จะต้องลงทุนอยู่ดี เพราะไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรเราจะลงทุนต่อได้

“สำหรับการลงทุนแนะนำให้ถือ Core ประมาณ 70% สามารถปรับได้เมื่อเศรษฐกิจแย่โดยเพิ่ม Core ไปประมาณ 80-85% แต่อย่างไรก็ดีการกระจายความเสี่ยงคือหัวใจสำคัญของทั้งหมด”


Author

Content Partnership

Content Partnership