เช็กด่วน! เงินเดือนเท่านี้ มีหนี้เท่าไร ถึงเรียกว่า “สุขภาพการเงินดี”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กด่วน! เงินเดือนเท่านี้ มีหนี้เท่าไร ถึงเรียกว่า “สุขภาพการเงินดี”

Date Time: 4 ต.ค. 2567 10:11 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • รู้จักกับการคำนวณ DSR (Debt Service Ratio) หนึ่งในวิธีที่ใช้วัดสุขภาพการเงินที่บอกเราว่า ภาระหนี้สินต่อรายได้อยู่ที่เท่าไร ซึ่งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ระบุไว้ว่า ตามหลักสุขภาพการเงินที่ดีแล้ว DSR ไม่ควรเกิน 40%

Latest


การบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ เพราะการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เรามี "การเงินดี ชีวิตดี" แต่ “ภาระหนี้สิน” ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น การจัดการหนี้สินให้ดีมีความสำคัญมาก เพราะหนี้สินที่สูงเกินไปอาจทำให้เรามีปัญหาการเงินในระยะยาว


ทั้งนี้ เราควรคำนึงถึงความสมดุลระหว่างหนี้กับรายได้ เพื่อไม่ให้มีหนี้มากเกินกว่าความสามารถในการจ่ายคืน และการบริหารหนี้อย่างรอบคอบ จะช่วยให้เรามีสุขภาพการเงินที่ดี และสามารถจัดการรายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ในครั้งนี้ “Thairath Money” จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการคำนวณ DSR (Debt Service Ratio) หนึ่งในวิธีที่ใช้วัดสุขภาพการเงินที่บอกเราว่า ภาระหนี้สินต่อรายได้อยู่ที่เท่าไร ซึ่งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ระบุไว้ว่า ตามหลักสุขภาพการเงินที่ดีแล้ว DSR ไม่ควรเกิน 40%


สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้เผยแพร่บทความ “จ่ายหนี้ต่อเดือน แค่ไหนที่เรียกว่าไหว” โดยระบุว่า การสำรวจว่าตัวเองมีภาระหนี้แต่ละเดือนมากน้อยแค่ไหน สามารถคำนวณได้จาก DSR ย่อมาจาก Debt Service Ratio หมายถึง อัตราส่วนเงินสำหรับใช้ผ่อนชำระหนี้กับรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งตามหลักสุขภาพการเงินที่ดี DSR ไม่ควรเกิน 40% ดังนี้


สูตรคำนวณ DSR = (ภาระหนี้ต่อเดือน ÷ รายได้ต่อเดือน) x 100

  • DSR น้อยกว่า 15% = มีหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
  • DSR ระหว่าง 15-40% = มีหนี้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • DSR ระหว่าง 40-50% = มีหนี้เกินตัว
  • DSR มากกว่า 50% = มีหนี้ระดับขั้นอันตราย

โดยหนี้สินที่นำมาเพื่อตรวจสุขภาพทางการเงินจะเป็นหนี้สินปัจจุบันต่อเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนรายได้ที่นำมาคำนวณจะเป็นรายได้ต่อเดือนทั้งหมด เช่น เงินเดือน รายได้พิเศษ เป็นต้น

หากต้องการทำให้สุขภาพการเงินมีความแข็งแรง นอกจากการลดค่าใช้จ่ายแล้ว การหยุดก่อหนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดี และควรเริ่มต้นด้วยการหยุดกู้ยืมก้อนใหม่ ถัดมา คือ ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น หากทำได้จำนวนหนี้ที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือนจะลดลง

อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวหรือเกิดวิกฤติ การก่อหนี้อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อลดความเสี่ยงและปัญหาทางการเงินในอนาคต การเริ่มต้นด้วยการประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตัวเอง ตรวจสอบรายรับ รายจ่าย เงินออม และภาระหนี้ที่มีอยู่ คำนวณให้ชัดเจนว่าคุณสามารถผ่อนชำระหนี้ได้หรือไม่ รวมถึงพิจารณาความมั่นคงของงานและรายได้ในระยะยาว

และหากต้องกู้ยืม ควรกู้เฉพาะในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ หลีกเลี่ยงการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น และควรเปรียบเทียบข้อเสนอจากสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ได้สินเชื่อที่เหมาะสมที่สุด

นอกจากนี้ การชำระหนี้คืนตรงเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเงินที่ลุกลามใหญ่โต

หากรู้สึกไม่แน่ใจในกระบวนการก่อหนี้หรือการจัดการหนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน นักวางแผนการเงิน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อ เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

อ่านข่าวกับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ