เงินบาทแข็งทุก 1% ฉุด รายได้ส่งออกหาย 1 แสนล้าน แนะผู้ส่งออก “ปิดความเสี่ยง”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เงินบาทแข็งทุก 1% ฉุด รายได้ส่งออกหาย 1 แสนล้าน แนะผู้ส่งออก “ปิดความเสี่ยง”

Date Time: 29 ส.ค. 2567 12:19 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • ศูนย์วิจัยกสิกร ชี้ “บาทแข็ง” ทุก 1% เงินบาทแข็งค่าทุก 1% ฉุดรายได้ส่งออก 1 แสนล้านบาทต่อปี คาดระยะสั้น “บาทแข็งต่อ” มีโอกาสแตะ 33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แนะผู้ประกอบการใช้เครื่องมือทางการเงิน “ปิดความเสี่ยง”

Latest


จับตาสถานการณ์ “เงินบาท” แข็งค่า โดยวานนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินบาทแข็งค่านั้น มาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย ซึ่ง


ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าทุก 1% จะทำให้รายได้ส่งออกของผู้ประกอบการลดลงกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี พร้อมทำเงินไหลออกจากตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม ประเมินทิศทางระยะสั้นยังแข็งค่าต่อเนื่อง แนะผู้ประกอบการใช้เครื่องมือทางการเงิน “ปิดความเสี่ยง”


เงินบาทแข็งค่าทุก 1% ฉุดรายได้ส่งออก 1 แสนล้านบาทต่อปี


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เงินบาทที่แข็งค่าทุกๆ 1% อาจมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 0.5% ของ Nominal GDP ทั้งนี้ แม้สภาวะเงินบาทที่ผันผวนจะไม่กระทบกลไกการตั้งราคาสินค้าส่งออกที่มักจะอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มากนัก แต่คงต้องยอมรับว่า การแข็งค่าของเงินบาทอาจมีผลกระทบต่อเนื่องมายังผู้ประกอบการโดยเฉพาะฝั่งผู้ส่งออกที่มีรายได้ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ


เพราะจะทำให้รายได้เมื่อแปลงกลับมาเป็นรายได้สกุลเงินบาทลดลง ซึ่งผลกระทบจะยิ่งชัดเจนขึ้น ในกรณีที่ผู้ส่งออกดังกล่าวพึ่งพิงวัตถุดิบจากในประเทศเป็นหลัก เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถใช้กลไก Natural Hedge เพื่อบรรเทาผลกระทบได้ตัวอย่างธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ ยางและพลาสติก รถยนต์ และการผลิตอาหาร


อีกประเด็นน่าห่วง คือ ความผันผวนที่สูงขึ้นของสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้า นอกเหนือจากทิศทางเงินบาทแข็งค่าจะกลับมาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ของผู้ส่งออกในจังหวะเข้าสู่ High Season ของการส่งออกไทยในไตรมาส 3 แล้วนั้น


ระยะสั้น “บาทแข็งต่อ” แตะ 33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ


สำหรับแนวโน้มในระยะสั้น หรือประมาณ 1-2 เดือนจากนี้ มองว่า หาก Sentiment ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนแอ จากเรื่องแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดยังคงมีต่อเนื่อง อาจเห็นเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้


โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทุกรอบการประชุม FOMC ใน 3 รอบ การประชุมที่เหลือของปีนี้ ประมาณ 0.75-1.00% เทียบกับโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ในขณะนี้ตลาดคาดว่า อาจเกิดขึ้นประมาณ 1 ครั้งในปีนี้


ด้านปัจจัยในประเทศ แม้จะมีภาพเป็นบวกมากขึ้นเมื่อมีทีมรัฐบาลชุดใหม่ควบคู่วิสัยทัศน์เชิงนโยบายที่ชัดเจน แต่ก็ต้องรอบทสรุปอย่างเป็นทางการของนโยบายรัฐบาลใหม่ และการให้รายละเอียดในทางปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น


ดังนั้น ทิศทางค่าเงินบาทในช่วงท้ายปี 2567 จึงยังมีโอกาสแกว่งตัวตามสถานการณ์และข้อมูลเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเพิ่มเติม โดยอาจมีการปรับฐานเป็นบางช่วง ทำให้คาดว่าเงินบาทจะปิดปี 2567 ที่ประมาณ 34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ


แนะผู้ประกอบการใช้เครื่องมือทางการเงิน “ปิดความเสี่ยง”


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามความซับซ้อนของปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองโลก


ดังนั้น ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า ที่มีรายรับ-รายจ่ายในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่น Forward, Options และ Futures


นอกจากนี้ ก็ควรกระจายตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าเพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาโดยตั้งเป้าหมาย เพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการให้เหนือคู่แข่ง เลือกใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency) ตลอดจนบริหารจัดการรายได้และต้นทุนและลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยวิธีอื่นๆ เช่น Natural Hedge หรือ Foreign Currency Deposits (FCD) เป็นต้น

อ่านข่าวการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์