พนักงานเงินเดือนหลายคนคงคุ้นกับคำว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) ซึ่งเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานเงินเดือนเพื่อใช้เป็นเงินสำรองหลังเกษียณ หากคุณออกจากงานก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุการทำงานไม่ถึง 5 ปี ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ลาออกจากงาน ไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือเสียชีวิต คุณจำเป็นต้องลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินที่ได้รับ แต่ถ้าคุณยังต้องการออมเงินและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไป คุณควรทำอย่างไร?
ปัจจุบันก็มีทางเลือกสำหรับคนไม่อยากเสียภาษี โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ให้สามารถโอนเงินจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไปอยู่ใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้แล้ว
โดยเรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า “RMF for PVD” เพื่อให้คนที่ถูกยกเลิกสมาชิก PVD ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามสามารถออมเงินต่อได้และประหยัดภาษีได้อีกด้วย
หากมีการเปลี่ยนงาน สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถเก็บเงินต่อเนื่องในรูปแบบเดิมได้ มีสองทางเลือกดังนี้
ข้อดี คือ ไม่ต้องเสียภาษี, มีนโยบายกองทุนที่หลากหลาย
ข้อควรระวัง คือ เมื่อโอนเงินไปยัง RMF for PVD แล้วจะไม่สามารถย้ายเงินดังกล่าวกลับมา PVD ได้อีก และไม่สามารถโอน PVD ไปยัง RMF for PVD หลายบลจ.
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้