4 วิธีบริหารเงิน ฉบับ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ยุคใหม่ อยู่สบาย มีเงินเก็บ-ใช้ ไม่ขาดมือ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

4 วิธีบริหารเงิน ฉบับ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ยุคใหม่ อยู่สบาย มีเงินเก็บ-ใช้ ไม่ขาดมือ

Date Time: 20 เม.ย. 2567 07:00 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • 4 วิธีบริหารเงิน ให้อยู่สบาย ฉบับ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ยุคใหม่ ไม่มีปัญหาการเงินมาให้กวนใจ มีเงินเก็บ มีเงินใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพ่อของลูก

Latest


ไม่ว่าจะยุคไหนๆ “ความรัก” ก็ไม่เข้าใครออกใครเสมอ ขนาดคู่แต่งงานบางคู่ ถึงแม้จะมีลูกด้วยกันแล้ว ก็มีโอกาสเลิกราได้ ทำให้ต้องใช้ชีวิตพ่อม่าย-แม่ม่าย หรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกันอย่างกะทันหัน ดังนั้นหากไม่มีการวางแผนรับมือมาก่อน ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต รวมถึงการบริหารจัดการเงินและทรัพย์สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นในครั้งนี้ #Thairath money ได้รวบรวม 4 วิธีบริหารเงิน ให้อยู่สบาย ฉบับ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ยุคใหม่ จาก Krungsri THE COACH มาฝากกัน เพื่อที่คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกคนจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่นและมีความสุข ไม่มีปัญหาการเงินมาให้กวนใจ มีเงินเก็บ มีเงินใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพ่อของลูก

  1. ทำงบการเงินปัจจุบัน และประเมินกระแสเงินสด

    เราจะไม่สามารถวางแผนการเงินให้ตัวเองได้เลย ถ้าเราไม่รู้สถานะการเงินของตัวเองว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน รายรับ รายจ่าย หรือเงินเหลือ เงินขาด ทั้งปีอยู่เท่าไร ดังนั้น ขั้นตอนแรกสุดถ้าเราจะวางแผนการเงินให้ตัวเองอย่างถูกต้อง คือ เราต้องเริ่มจัดทำงบการเงินของตัวเอง ซึ่งจะมีอยู่ 2 งบด้วยกันคือ งบดุลแบบง่ายๆ โดยระบุรายการทรัพย์สิน และหนี้สินทั้งหมดที่เรามี และงบกระแสเงินสด จะทำให้เราทราบว่า เราจะมีเงินเหลือมากน้อยเท่าไร ควรจะลดรายจ่ายรายการไหน หรือเพิ่มรายได้อีกเท่าไร

    แต่อย่าลืมว่า รายได้หรือรายจ่ายบางรายการ ก็มาบางเดือน ไม่ใช่ทุกเดือน เช่น เงินโบนัส ค่าเทอมบุตร หรือค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรไล่ประเมินแต่ละเดือนจนครบทั้งปี จะทำให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายรวมทั้งปีได้ชัดเจนขึ้น

  2. หาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ตามทักษะประสบการณ์ หรือความสนใจที่มี

    เนื่องจากคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมีภาระค่อนข้างเยอะ ทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว เงินออมเพื่อเป้าหมายส่วนตัวแล้ว ยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบุตรแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น อาจจะมีโอกาสสูงที่รายได้จะไม่พอใช้ หากรายได้ประจำไม่สูงมากนัก จึงต้องหาลู่ทางสร้างรายได้เพิ่ม

  3. สร้างระบบควบคุมรายจ่าย-การออมอัตโนมัติ

    สามารถทำได้โดยใช้แอปพลิเคชัน กำหนดงบประมาณและจดยอดรายจ่าย หรือการใช้บัตรเครดิต ให้แจ้งเตือนเมื่อมีการใช้หรือเมื่อใกล้ครบยอด จะช่วยให้เรามีสติในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนการออม ก็ตั้งระบบให้มีการตัดบัญชีรายได้ไปออมอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน แล้วค่อยใช้จ่ายในส่วนที่เหลือ

  4. วางแผนทำประกันคุ้มครองความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

    วางแผนเพื่อรองรับความเสี่ยงต่างๆ ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้แน่ใจว่า หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น การดำเนินชีวิตและเป้าหมายการเงินต่างๆ ของทั้งเราและลูกยังสามารถดำเนินต่อไปได้

    อาทิ ความเสี่ยงจากการจากไปก่อนวัยอันควร เพื่อให้แน่ใจว่า หากเราจากไปกะทันหัน ลูกก็ยังมีเงินไว้ใช้ดำรงชีวิตและเป็นค่าการศึกษาจนกว่าจะเรียนจบได้ หรือแม้กระทั่ง ความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ไม่ว่าตัวเรา หรือบุตร เกิดเจ็บป่วยจากโรคหรืออุบัติเหตุ เราควรจะมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หรือจากการทำประกันสุขภาพ 

ทั้งหมดนี้จะทำให้ “คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว” และ “ลูกน้อย” มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ภายใต้การเงินดี ชีวิตดีนั่นเอง

อ้างอิง Krungsri THE COACH


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ