แบงก์กรุงศรี ตั้งเป้าหมาย ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่เติบโต 4-6% หนีภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แบงก์กรุงศรี ตั้งเป้าหมาย ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่เติบโต 4-6% หนีภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

Date Time: 6 มี.ค. 2567 18:26 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • กรุงศรี ชูกลยุทธ์ ESG Finance ตั้งเป้าสินเชื่อรายใหญ่โต 4-6% จากยอดสินเชื่อคงค้างปีก่อนที่ 4.99 แสนล้านบาท มุ่งสร้างโซลูชันตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน ยกระดับบริการที่ปรึกษา ตอบโจทย์การแข่งขันให้ธุรกิจแบบครบวงจร

Latest



ประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผย แผนการดำเนินธุรกิจปี 2567 ของกลุ่มงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ โดยตั้งเป้าการเติบโตด้านสินเชื่อที่ 4-6% จากยอดสินเชื่อคงค้างปีก่อนที่ 4.99 แสนล้านบาท มุ่งสร้างโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ ตลาดการเงินเพื่อความยั่งยืน พร้อมเพิ่มศักยภาพการให้บริการ ด้านวาณิชธนกิจที่ครบวงจร ภายใต้กลยุทธ์ ESG Finance เดินหน้าให้ความรู้ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่าน ของธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน


ทั้งนี้ภาพรวมการเติบโตของตลาดสินเชื่อรายใหญ่ปีนี้ กรุงศรีมองว่าค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และลูกค้าส่วนหนึ่งยังชะลอการลงทุน เพื่อรอดูทิศทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราดอกเบี้ย และปัจจัยความไม่แน่นอนนอกประเทศ


แม้เป้าหมายการเติบโตสินเชื่อที่ 4-6% ในปีนี้จะเป็น เรื่องท้าทาย แต่มองว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในบริบทที่เป็นอยู่ โดยจะเน้นให้สินเชื่อแก่ลูกค้า ที่เคยมีประวัติขอสินเชื่อแล้ว และมองหาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเพิ่มเติม ผ่านการออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เพื่อส่งเสริมลูกค้าในการเปลี่ยนผ่าน สู่เส้นทางการเงินเพื่อความยั่งยืน 

นอกจากนี้ธนาคารจะมุ่งให้บริการซื้อขายและควบรวมกิจการ (M&A) แก่กลุ่มลูกค้าในตลาดอาเซียนที่เริ่มเห็นเทรนด์การเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ป็นบริษัทขนาดกลางในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีมูลค่าดีลวงเงินเฉลี่ยตั้งแต่ 1,000-2,000 ล้านบาท 

สำหรับปีที่ผ่านมา มียอดสินเชื่อเติบโต คิดเป็นอัตราประมาณ 2.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน และสามารถปิดดีลสำคัญ ช่วยให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน อาทิ

  • การเป็นผู้จัดการเงินกู้ร่วมและผู้ประสานงานด้านดัชนีความยั่งยืน สนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) ให้กับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 11,500 ล้านบาท
  • การเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) และเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแต่เพียงผู้เดียว ให้กับบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) จำนวน 3,000 ล้านบาท
  • การให้การสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) แก่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จำนวน 500 ล้านบาท
  • การเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนและเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับหลายองค์กรสำคัญ ได้แก่
  1. พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจำนวน 3,500 ล้านบาท-หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 8,000 ล้านบาท
  2. หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,000 ล้านบาท
  3. หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Debenture) โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,500 ล้านบาท
  4. หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ของบริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,000 ล้านบาท
  5. หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 500 ล้านบาท

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ