ซึ่งที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้มีแผนทดลองออกสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองเพื่อทดสอบการใช้ในระดับประชาชน หรือที่เรียกว่า retail CBDC ซึ่งย่อมาจาก retail central bank digital currency ด้วยเช่นกัน
โดย สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อให้ประชาชนใช้งาน (Retail CBDC) คือ เงินในรูปแบบธนบัตรที่ถูกพัฒนาให้กลายสภาพเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ทำให้การถือ Retail CBDC เทียบเท่ากับการถือธนบัตร ไม่มีความเสี่ยง นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินครั้งสำคัญที่จะเชื่อมโอกาสจากทั่วทุกมุมโลกมาสู่ประเทศไทยอย่างไร้พรมแดน
พร้อมช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจ ด้วยเครือข่ายการชำระเงินที่หลากหลาย โปร่งใส และสามารถติดตามได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนสามารถพัฒนาต่อยอด สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ พร้อมช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวก และมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศการเตรียมทดสอบ “Retail CBDC” ในช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ล่าสุดก็ได้มีความคืบหน้าการเริ่มทดลองให้มีการใช้จ่ายเงิน “บาทดิจิทัล” หรือ Retail CBDC แล้วในวงจำกัด
โดยในโครงการนี้มีธนาคารยักษ์ใหญ่ 2 แห่ง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) 1 ราย ซึ่งก็คือ 2C2P เข้ามาร่วมทดสอบ
โดยทางฝั่งของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการจับมือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB รองรับการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ซึ่งออกโดย ธทป. สำหรับ ธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ชื่อ “CBDC SCB Wallet” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ โดยนับเป็นการทดสอบการใช้งานฟีเจอร์พื้นฐาน ได้แก่ การเติม-จ่าย-โอน-แลกคืน CBDC
ทั้งนี้ ได้เริ่มทดสอบการใช้งานที่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา และเริ่มขยายบริเวณทดสอบมายังร้านค้า โดยรอบธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 และจะมีการทดสอบใช้งานไปจนถึงประมาณไตรมาส 3 2566
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้น มีผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัดร่วมกับธนาคาร เป็นพนักงาน SCB และพนักงานในกลุ่ม SCBX ทั้งสิ้นกว่า 3,000 ราย
ขณะที่ทาง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า "CBDC Krungsri" เพื่อเป็นแอปพลิเคชันสำหรับทดสอบการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน (Pilot test Retail CBDC) ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จากร้านค้าที่เข้าร่วมทดสอบโครงการ Retail CBDC ซึ่งทางกรุงศรีได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันอยู่ในช่วงลงสนามทดลองใช้จริงในวงจำกัด
การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบการใช้งานพื้นฐาน ได้แก่ การเติม / จ่าย / โอน / แลกคืน CBDC โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ประกอบด้วยผู้ใช้บริการและร้านค้า โดยได้เริ่มทดสอบการใช้งานที่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเช่นกัน และเริ่มขยายบริเวณทดสอบมายังสำนักงานธนาคารกรุงศรีฯ และร้านค้าโดยรอบ ณ สำนักงานใหญ่ พระราม 3 และ สำนักงานเพลินจิต ตั้งแต่ปลายพฤษภาคม จนถึงประมาณไตรมาส 3 ปีนี้
โดยมีร้านค้าในตลาดครูหวีและร้านอาหารในศูนย์อาหารร่วมทดสอบ รวมทั้งสิ้นกว่า 100 ร้านค้ามีพนักงานธนาคารกรุงศรีฯ ที่เข้าร่วมทดสอบกว่า 2,000 คน โดย 1 CBDC มีมูลค่า เท่ากับ 1 บาทเสมอ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Retail CBDC ยังเป็นโครงการเพื่อศึกษา และการทดสอบยังอยู่ในวงจำกัดโดยมีผู้ใช้งานและร้านค้า รวมทั้งโครงการและทุกผู้ให้บริการประมาณ 10,000 คนเท่านั้น ยังไม่มีแผนที่จะออกใช้งานจริง
โดยแผนการทดสอบ Retail CBDC ระยะนำร่องนี้ ที่กรุงศรีเข้าร่วม แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. การทดสอบระดับพื้นฐาน (Foundation track) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ รวมถึงรูปแบบของการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริงกับประชาชนรายย่อย เป็นการทดสอบใช้ชำระค่าสินค้าบริการในพื้นที่เฉพาะ และ 2. การทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation track) เป็นการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการที่หลากหลาย เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบ Retail CBDC ในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ หลังจากที่กรุงศรีได้พัฒนาโมบายแอป CBDC Krungsri เพื่อร่วมทดสอบการใช้งาน Retail CBDC สำหรับใช้จ่ายกับร้านค้ารายย่อยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมทดสอบโครงการ จึงต่อยอดขยายการทดสอบให้กว้างและครอบคลุมยิ่งขึ้น
โดยมองไปถึงการร่วมทดสอบกับร้านค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีรูปแบบระบบการบริหารจัดการเงิน การชำระเงิน และการบัญชี ที่มีความซับซ้อนมากกว่า เพื่อให้ได้เรียนรู้กรณีศึกษาที่หลากหลาย และเป็นการร่วมพิสูจน์ว่า Retail CBDC มีศักยภาพรองรับการทำธุรกรรมได้ตั้งแต่ร้านค้ารายย่อยอย่าง Street Market ไปจนถึงร้านค้ารายใหญ่บนห้างสรรพสินค้า และครอบคลุมทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค
จึงได้เกิดความร่วมมือกับธุรกิจขนาดใหญ่ชั้นนำทั้ง 4 ราย ซึ่งเปิดให้ร้านค้าในเครือเข้าร่วมทดสอบใช้งาน Retail CBDC ครั้งนี้ ครอบคลุมประเภทธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจพลังงาน ได้แก่
ส่วนทางด้าน บริษัททูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด แพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลก ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน (Non-Bank) ที่ได้รับเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เข้าร่วมทดสอบ Rtail CBDC ระยะทดลองใช้ในวงจำกัด โดยขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงการทดลองใช้งานกับผู้ใช้บริการที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการ และได้ให้บริการลูกค้าในการเปิด CBDC Wallet เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว
ล่าสุด เดินหน้าร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ในเครือ SCG ได้แก่ SCG HOME Online, Q-CHANG, COTTO Life เข้าร่วมทดสอบโครงการ Retail CBDC ระยะทดลองใช้ในวงจำกัดโดยใช้ CBDC Wallet ในการชำระค่าสินค้าและบริการให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการผ่านช่องทาง Online ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2566 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้