“การวางแผนการเงินก่อนที่จะเกษียณ” เพื่อให้เรามีเงินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่ยากลำบาก ในช่วงบั้นปลายของชีวิตนั้น คงเป็นฝันของใครหลายๆ คน และคงเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญกันมากขึ้นในยุคนี้ เพราะหากมัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง หรือหวังแต่รอเงินช่วยเหลือ “เบี้ยผู้สูงอายุ” จากรัฐ ชีวิตอาจตกอยู่บนความไม่แน่นอนอย่างไม่สิ้นสุดแน่ๆ
วัยเกษียณ-อายุมากขึ้น แม้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายถึง ว่าเราจะเตรียมพร้อมด้านการเงินไม่ได้ ยิ่งประเมินตัวเองได้เร็วเท่าไร คำนวณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ได้ชัดเจนเมื่อนั้น จะยิ่งเป็นการช่วย ต่อการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง และมีวินัย จนพลิก ทำให้ชีวิตวัยเกษียณของเราเต็มไปด้วยความสุข
อย่างไรก็ตาม คำถามที่ได้ยินมากที่สุด ก็คือ แล้ววัยเกษียณควรมีเงินเก็บเท่าไร? ถึงจะเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ถ้าเมื่อเราต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีอายุยาวไปจนถึง 80 ปี ต้องใช้เงินดูแลตัวเองมากขนาดไหนกันเชียว
โอกาสนี้ #ThairathMoney ชวนมองเป้าหมาย และคำนวณค่าใช้จ่าย และเงินออมที่ควรจะมี ไปพร้อมๆ กัน โดยอ้างอิงข้อมูลเผยแพร่ จาก Supalai ดังนี้
ยามเกษียณ แบบ “พออยู่ได้”
ยามเกษียณ แบบ “อยู่สบาย”
ยามเกษียณ แบบ “หรูหรา”
ทั้งนี้ ข้อมูลชุดนี้ เป็นเพียงประมาณการเท่านั้น ยังไม่นับรวม เงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อใช้คำนวณค่าใช้จ่ายรายเดือน ในรูปแบบการใช้ชีวิตตั้งแต่ พออยู่ได้ ไปจนถึงอยู่อย่างหรูหราในวัยเกษียณ เพื่อใช้สำหรับการวางแผนเก็บเงินต่อเดือน ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเราเท่านั้น