กสิกรส่ง KIV ชิงตลาดเงินกู้นอกระบบ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กสิกรส่ง KIV ชิงตลาดเงินกู้นอกระบบ

Date Time: 3 ส.ค. 2566 06:18 น.

Summary

  • บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ KIV เป็นบริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคาร

Latest

8 ธนาคาร ลดดอกเบี้ย สูงสุด 0.25% ขานรับ กนง. เริ่ม 1 พ.ย. นี้

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด หรือ KIV เป็นบริษัทโฮลดิ้งภายใต้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย เพื่อลงทุนในบริษัทร่วมกับพันธมิตร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคารที่มุ่งเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้า ซึ่งจากการดำเนินธุรกิจไประยะหนึ่งสามารถทำได้ดี ธนาคารได้ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของเคไอวี โดยมีนายพัชร สมะลาภา เข้าดำรงตำแหน่งกรุ๊ป แชร์แมน และแยกเคไอวีออกมา เพื่อทำให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร และมั่นใจว่าจะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในการทำให้ธนาคารมีกำไรทางธุรกิจที่สูงกว่าธนาคารบริหารจัดการเอง ทำให้มีการเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

นายพัชร สมะลาภา กรุ๊ป แชร์แมน ของบริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด กล่าวว่า KIV มีโจทย์ชัดเจนดำเนินธุรกิจการเงินที่ธนาคารไม่ทำและร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถให้บริการการเงินที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย เจ้าของร้านค้ารายเล็ก กลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ปัจจุบันโครงสร้างของเคไอวี มีอยู่ 14 บริษัท มีมูลค่าการลงทุน 30,000 ล้านบาท และภายในปีนี้จะมีการร่วมลงทุนอีก 2-3 บริษัท มีทั้งธุรกิจให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล และธุรกรรมการเงินดิจิทัล

“ปัจจุบันมีคนไทยเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ธนาคารก็พยายามทำเต็มที่ ใช้ความได้เปรียบมีต้นทุนการเงินที่ต่ำ เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย และมีระบบไอทีดี ปรากฏว่าเมื่อทำสินเชื่อออนไลน์ กลายเป็นหนี้เสียเข้ามากระจายเลย เจอทั้งใช้เอกสารหลักฐานการเงินปลอม ไม่สามารถติดตามหนี้ได้ และยังมีอาชีพเกิดใหม่รับจ่ายทำตัวเลขเดินบัญชีให้ดูดี เมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อก็เป็นหนี้เสีย ท้ายที่สุดต้องถอย ซึ่งการร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำธุรกิจการเงิน และปล่อยสินเชื่อออนไลน์ ปรากฏว่าในปี 2565 ปล่อยสินเชื่อไป 37,000 ล้านบาท สามารถทำกำไร 80 ล้านบาท และปีนี้ คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 40,000-45,000 ล้านบาท สามารถทำกำไรได้ 900-1,100 ล้านบาท และปี 2569 ตั้งเป้าหมายมีพอร์ตสินเชื่อ 75,000-80,000 ล้านบาท ทำกำไร 4,500-5,000 ล้านบาท”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ