ดอกเบี้ยนโยบายกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อดอกเบี้ยในตลาดให้ต้องขยับตัวเช่นกัน โดยจากการรายงานของ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ล่าสุดพบว่า มีหลายธนาคารที่ขยับขึ้นดอกเบี้ยซึ่งส่งผลโดยตรงกับผู้กู้เงิน ไม่ว่าจะเป็นผู้กู้ซื้อบ้าน หรือ ทำธุรกิจ ที่ทำให้อาจมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น นั้นเริ่มกดดันกับความสามารถในการจ่ายหนี้ของประชาชน และต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยในมุมมองของายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 24 และ 29 มีนาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ ณ วันที่ 12 เมษายน 2566 เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ยังมีความกังวลต่อฐานะการเงินของกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยที่แม้รายได้ฟื้นตัวแล้ว แต่รายได้ของบางกลุ่มยังไม่กลับไปสู่ระดับช่วงก่อน การระบาด และไม่เพียงพอรองรับค่าใช้จ่ายและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่ามาตรการ ทางการเงิน โดยเฉพาะมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรผลักดันให้ครอบคลุมกลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างตรงจุดและยั่งยืน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรดำเนินการต่อเพื่อลดความเสี่ยง ที่เงินเฟ้อจะอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายนานต่อเนื่อง โดยแม้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากการส่งผ่านต้นทุนและแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นหากเศรษฐกิจ ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด ซึ่งเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนานต่อเนื่องอาจกระทบต่อพฤติกรรมการตั้งราคาและการคาดการณ์เงินเฟ้อ
ทั้งนี้ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และพร้อมที่จะปรับ ขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไป (gradual and measured policy normalization) ยังเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีกลุ่มเปราะบาง นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ อภิปรายเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย แท้จริงที่ต่ำเกินไปว่าอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ และเป็นการสะสมความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว นโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงควรคำนึงถึงระดับอัตรา ดอกเบี้ยแท้จริงที่เหมาะสมด้วย