แนะ SMEs ใช้แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงระดมทุน รับมือเศรษฐกิจผันผวน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แนะ SMEs ใช้แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงระดมทุน รับมือเศรษฐกิจผันผวน

Date Time: 28 มิ.ย. 2565 19:01 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Investree แนะ SMEs ใช้แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงระดมทุน แทนการขอสินเชื่อ รับมือเศรษฐกิจผันผวน เผยอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมปรับขึ้นแล้ว

Latest


Investree แนะ SMEs ใช้แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงระดมทุน แทนการขอสินเชื่อ รับมือเศรษฐกิจผันผวน เผยอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมปรับขึ้นแล้ว

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 65 นางสาวณัทสุดา พุกกะณะสุต ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ Investree กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง ทั้งจากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงาน ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น เงินเฟ้อ และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนในสินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) แม้จะมีความเสี่ยง แต่เป็นความเสี่ยงที่จับต้องได้ ถือเป็นการลงทุนในธุรกิจจริง และมีโอกาสที่นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่เติบโตไปพร้อมกับธุรกิจ

ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เพราะมีโอกาสได้ผลตอบแทนล่าช้า และมีความเสี่ยงที่จะมีเงินสูญเช่นกัน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์นี้ควรจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์นี้ในวงเงินที่จำกัด และกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในหุ้นกู้ที่ออกโดยหลากหลายบริษัท เพื่อป้องกันการกระจุกตัว

สำหรับภาพรวมตลาดการปล่อยสินเชื่อเพื่อ SMEs นั้น ปัจจุบันไทยมีบริษัทจดทะเบียนกว่า 3 ล้านบริษัท 99% หรือประมาณ 2.9 ล้านเป็น SMEs และมากกว่า 2 ล้านบริษัทนั้นเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ถึงแม้ในตลาดจะมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อสูง แต่บริษัทขนาดเล็กยังคงเจอปัญหาเข้าไม่ถึงเงินกู้เหมือนเดิม จากเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกลายเป็นข้อจำกัด

เช่น ประวัติชำระหนี้ไม่ดี ไม่ยอมชำระหนี้ มีหนี้สินติดค้าง หรือชำระเงินล่าช้า การระดมทุนหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจึงเป็นโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SMEs และแน่นอนว่าเราก็เห็นโอกาสเติบโตจากตลาดนี้เช่นกัน รวมไปถึงโอกาสจากนักลงทุนไทยที่ก็เปิดกว้างในการเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งการลงทุนในหุ้นกู้ คราวด์ฟันดิง ก็ยังผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ และให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ SMEs

อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมปรับขึ้นแล้ว

นางสาวณัทสุดา กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ไทย Yield curve หรืออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ได้ปรับตัวตามสหรัฐฯ ไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยอิงกับสหรัฐฯ เพราะใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง หรือ Thai Baht FIX ถ้าสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยก็จะปรับขึ้นไปด้วย

"อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 10 ปี YTD อยู่ที่ 2.94% ซึ่งเทียบกับเดือนม.ค. 65 อยู่ที่ 1.99% จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยขึ้นมา 1% นี่จะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลายคนที่ไปขอรีไฟแนนซ์บ้านแล้วธนาคารถึงปล่อยลอยตัว เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยได้ปรับขึ้นไปแล้ว"

ทั้งนี้ ในเดือนม.ค.65 เราจะพบว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมในตลาดอยู่ที่ 50 สตางค์ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 10 บาทขึ้นมาแล้ว 50 สตางค์ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาตินั้นไม่ได้มีสาระสำคัญกับตลาด แต่จะส่งผลสำคัญต่อดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ในเชิงเอกชนในการกู้ยืมนั้นต้นทุนได้เพิ่มขึ้นแล้ว ส่งผลให้เอกชนหลายแห่งออกตราสารหนี้กันเพื่อล็อกอัตราผลตอบแทน

คราวด์ฟันดิงคือโอกาสของ SME 

สำหรับมูลค่าธุรกิจคราวด์ฟันดิงในประเทศไทยปี 2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมประมาณ 2,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และน้อยมากเมื่อเทียบกับช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME จึงแทบไม่มีความเสี่ยงต่อระบบตลาดเงิน-ตลาดทุนโดยรวม

ขณะที่ธุรกิจของอินเวสทรี เติบโตมากกว่า 300% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นถึงความสนใจของ SME และนักลงทุนที่มีต่อธุรกิจนี้ ซึ่งเราเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และการเติบโตของธุรกิจนี้ก็ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของภาครัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งความเห็นนี้ก็เป็นความเห็นที่สะท้อนมาจากมุมมองของตัวแทนผู้ประกอบการจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ที่ร่วมในการประชุม APEC SFOM เช่นกัน

นางสาวณัทสุดา กล่าวว่า ตัวเองได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ด้านการคลังเอเปค หรือ APEC Senior Finance Officials’ Meeting : APEC SFOM เมื่อเร็วๆ นี้ ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่ให้บริการคราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบนิเวศของตลาดทุนเพื่อส่งเสริมการเงินเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อสนับสนุนระดมทุนในตลาดทุน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตทั่วโลก และเป็นโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อย

ทั้งนี้ จากรายงานของ International Finance Corporate หรือ IFC ภายใต้ธนาคารโลก ปี 2017 พบว่าผู้ประกอบการ MSMEs ไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้น้อย ช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนคิดเป็นประมาณ 10 % ของ GDP ที่มีมูลค่าสูงถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท)

ดังนั้นการส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลกำลังเติบโตสูงทั่วโลก โดยในเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วน 8% ของตลาดโลก ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก

นางสาวณัทสุดา กล่าวอีกว่า ตามคำแนะนำของ IFC ภาครัฐควรเข้าช่วยสนับสนุนนวัตกรรมการเงินดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริม การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึง Financial Inclusion รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลเครดิตกลาง ยิ่งขยายฐานมากขึ้นเท่าไร

โอกาสที่ผู้ประกอบการจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนยิ่งมีมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความไว้วางใจของผู้ที่ต้องการระดมทุนและผู้ลงทุน ที่ภาครัฐเข้ามาช่วยสร้างความเชื่อมั่นที่มาเลเซีย ภาครัฐเข้าไปร่วมลงทุนกับแพลตฟอร์ม ช่วยประชาสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจผู้ให้บริการ ซึ่งช่วยลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

โดยข้อเสนอแนะที่ IFC เคยแนะนำให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น ภาครัฐควรเข้าไปกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อแฟคตอริงให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงฐานข้อมูลเครดิตของผู้ให้บริการมากขึ้น รวมถึงควรพัฒนาให้หลักทรัพย์ค้ำประกันให้มีการเปลี่ยนมือได้ง่ายขึ้น ซึ่งแม้ว่า IFC จะให้คำแนะนำดังกล่าวไปตั้งแต่ปี 2017 และภาครัฐได้นำไปปฏิบัติบ้างแล้ว แต่เรายังพัฒนาต่อยอดได้อีก ยกตัวอย่าง

เช่น ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการปรับกฎหมาย National Credit Bureau เพื่ออนุญาตให้คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์มสามารถเป็นสมาชิกได้ แต่ขณะเดียวกันคราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์มนั้นๆ อาจต้องมีทุนจดทะเบียนสูงถึง 50 ล้านบาทถึงจะเป็นสมาชิก NCB ได้ ซึ่งเป็นระดับทุนจดทะเบียนที่เป็นอุปสรรคสำหรับ non-bank ที่จะเข้าเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้พัฒนาระบบการเงินไทยมาระดับหนึ่งแล้ว และยังมีช่องว่างที่จะพัฒนาต่อยอดได้อีก

"เราหวังว่าผู้ประกอบการใหม่เช่นเราจะมีโอกาสร่วมในการประชุมเชิงนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเรา มีโอกาสได้ออกความเห็น และร่วมพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ถึงเวลาที่ต้องส่งเสริมแพลตฟอร์มบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น"


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ