ร้องเรียนผลิตภัณฑ์การเงินพุ่ง 92% ปี 63 คนแห่ขอแก้หนี้-แจ้งเบาะแสถูกหลอกลวง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ร้องเรียนผลิตภัณฑ์การเงินพุ่ง 92% ปี 63 คนแห่ขอแก้หนี้-แจ้งเบาะแสถูกหลอกลวง

Date Time: 21 ก.พ. 2565 05:50 น.

Summary

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานปริมาณเรื่องร้องเรียนทางการเงินผ่านช่องทางผู้ให้บริการทั้งหมดในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 565,430 รายการ เพิ่มขึ้น 15% จากสิ้นปีก่อน

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานปริมาณเรื่องร้องเรียนทางการเงินผ่านช่องทางผู้ให้บริการทั้งหมดในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 565,430 รายการ เพิ่มขึ้น 15% จากสิ้นปีก่อน เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องร้องเรียนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 521,781 รายการ คิดเป็น 92% ของจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด รองลงมาคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง 35,544 รายการ คิดเป็น 6% ของจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน 6,443 รายการ คิดเป็น 1%

ขณะที่เรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ของ ธปท.ปี 2563 มีทั้งสิ้น 59,649 รายการ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 92% เป็นการขอคำปรึกษา 56,556 รายการ เพิ่มขึ้น 87% เป็นการขออนุเคราะห์ 2,469 รายการ เพิ่มขึ้น 641% โดยส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นเรื่องร้องเรียนปัญหา 2,168 รายการ เพิ่มขึ้น 62% และเป็นการแจ้งเบาะแส 456 รายการ เพิ่มขึ้น 141% เนื่องจากพบภัยที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงทางการเงินเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 10 อันดับแรก ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด ผ่าน ศคง.พบว่า อันดับที่ 1 เป็นการร้องเรียนเรื่องปัญหาการโอนและชำระเงิน ทั้งการโอนเงินและชำระเงิน เช่น ปลายทางไม่ได้รับเงิน การโอนเงินผิดบัญชี ขณะที่ปัญหาทางการเงิน

อันดับที่ 2 คือปัญหาเกี่ยวกับบัตรเครดิต ทั้งกรณีดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และไม่ได้รับเอกสารแจ้งข้อมูลสำคัญๆ

อันดับ 3 เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เงินฝาก ส่วนใหญ่เป็นเงื่อนไขของการฝากเงินประเภทต่างๆไม่ครบถ้วน

อันดับที่ 4 เป็นการร้องเรียนสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้ตามกำกับ

อันดับ 5 เป็นการร้องเรียนสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ (Hire Purchase) ซึ่งทั้งสองอันดับเป็นการร้องเรียนพฤติกรรมของพนักงาน

อันดับที่ 6 เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับบัตรเดบิต ส่วนหนึ่งพบว่าลูกค้าไม่สามารถทำบัตรเดบิต ประเภทที่ค่าธรรมเนียมถูกที่สุดได้

อันดับที่ 7 เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

อันดับที่ 8 เป็นการ้องเรียนเกี่ยวกับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นหลักประกัน (Car for Cash)

อันดับที่ 9 เป็นการร้องเรียนสินเชื่อธุรกิจรายย่อยแก่บุคคลธรรมดาและวิสาหกิจขนาดย่อม

และอันดับที่ 10 เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย

ทั้งนี้ ปัญหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินถูกร้องเรียนติด 3 อันดับแรกในไตรมาสที่ 4 เป็นปัญหาเดียวกับที่ถูกร้องเรียนเป็น 3 อันดับสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมา ขณะที่ปริมาณการติดต่อสอบถาม หรือร้องเรียนต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น มาจากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้คนสนใจสอบถามเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ