ขอลดอัตราเงิน ม.33 ให้ลูกจ้างซื้ออุปกรณ์เอทีเค

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ขอลดอัตราเงิน ม.33 ให้ลูกจ้างซื้ออุปกรณ์เอทีเค

Date Time: 3 ก.พ. 2565 05:40 น.

Summary

  • ปัจจุบันผู้ประกอบการและแรงงานจำนวนมากประสบปัญหาต้นทุนค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ตรวจโควิด-19 แบบเอทีเค เพราะมีราคาสูงและต้องตรวจบ่อย เพราะต้องเข้าไปทำงานในโรงงานเฉลี่ยสัปดาห์ละครั้งเท่ากับค่าใช้จ่าย

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายวิสูตร พันธวุฒิยานนท์ นายกสมาคมนายจ้างผู้ประกอบกิจการรับเหมาแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการและแรงงานจำนวนมากประสบปัญหาต้นทุนค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ตรวจโควิด-19 แบบเอทีเค เพราะมีราคาสูงและต้องตรวจบ่อย เพราะต้องเข้าไปทำงานในโรงงานเฉลี่ยสัปดาห์ละครั้งเท่ากับค่าใช้จ่ายของแรงงานเฉพาะเอทีเคต่อคนตกเดือนละ 320 บาท

ทั้งนี้ นับเป็นค่าใช้จ่ายนับว่ามากสำหรับลูกจ้างผู้ใช้แรงงานจากค่าแรงต่ำแล้วยังเผชิญหน้ากับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาสินค้า สำหรับบางโรงงานอาจจะมีการช่วยเหลือแรงงานด้วยการช่วยเหลือครึ่งหนึ่ง แต่เนื่องจากโรงงานแต่ละแห่งมีแรงงานจำนวนมากทำให้ค่าใช้จ่าย

ด้านนี้จึงสูงมาก จึงอยากจะให้รัฐบาลเข้ามาแบ่งเบาภาระนี้ด้วย ด้วยการเสนอให้รัฐพิจารณาลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ม.33 อีก 3 เดือน หลังจากนำมาตรการนี้มาใช้ระหว่าง ก.ย.-พ.ย.64 ซึ่งช่วยเหลือแรงงานกว่า 12 ล้านคนได้ตรงจุด รัฐเองไม่ต้องควักงบประมาณในการช่วยเหลือแต่อย่างใด

การออกมาเรียกร้องนี้ ส่วนหนึ่งต้องเตรียมพร้อมในอุปกรณ์ให้พร้อมด้วยรองรับกับเดือน เม.ย.ที่จะถึงนี้ที่เหล่าบรรดาลูกค้าแรงงานทั้งหลายจะเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดอีก เมื่อกลับมาจะต้องคุมเข้มกันอีกและเป็นช่วงเวลาที่รัฐเตรียมประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นอีกด้วย

“ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีบอกว่าอุปกรณ์เอทีเคราคาถูกหาซื้อได้ชุดละ 30 บาท มันหาซื้อไม่ได้ รบกวนชี้เป้าให้ด้วย เพราะมีความต้องการซื้อจำนวนมากแต่ที่หาได้คือชุดละ 70-80 บาท นี่มันเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและแรงงานที่รับผิดชอบร่วมกัน จึงอยากจะให้ทางรัฐมีมาตรการออกมาช่วยบรรเทาด้วย มันจะไม่ไหวกันแล้ว”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ