"เงินดิจิทัล-คริปโต” มีความเสี่ยงต่อการผันผวนและภัยไซเบอร์

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"เงินดิจิทัล-คริปโต” มีความเสี่ยงต่อการผันผวนและภัยไซเบอร์

Date Time: 14 ก.ย. 2564 07:25 น.

Summary

  • การเข้ามาของเงินดิจิทัล และคริปโตเคอร์เรนซี มีทั้งประโยชน์ และความเสี่ยง เพราะในส่วนของเงินดิจิทัลแบบ Blank Coin หรือเงินดิจิทัล ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง มีความผันผวนของราคาสูง

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การเข้ามาของเงินดิจิทัล และคริปโตเคอร์เรนซี มีทั้งประโยชน์ และความเสี่ยง เพราะในส่วนของเงินดิจิทัลแบบ Blank Coin หรือเงินดิจิทัล ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง มีความผันผวนของราคาสูง มีความเสี่ยงเรื่องภัยไซเบอร์ และมีแนวโน้มที่จะใช้ธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ จึงไม่แนะนำให้นำมาใช้ในการชำระเงินทั่วไป หรือต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน

ดังนั้น ถ้าประชาชนอยากจะถือ ให้ถือเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไรมากกว่า และที่ผ่านมามีมิจฉาชีพใช้ในทางการหลอกลวงประชาชน จึงขอให้ศึกษาให้เข้าใจก่อนลงทุน ธปท.ก็เห็นประโยชน์ของเงินดิจิทัล ในลักษณะที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง เท่ากับราคา (Stable coin) ที่ทดแทนการใช้เงินสดบางส่วนในอนาคต เพราะพกพาง่าย ใช้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย และต่อยอดไปยังนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ โดย ธปท.ได้ออกและทดลองใช้ CBDC หรือเงินดิจิทัลของ ธปท.กับธุรกิจขนาดใหญ่ไปแล้ว และกำลังจะทดลองกับรายย่อย

“โลกมีทั้งสิ่งที่เปลี่ยน และไม่เปลี่ยน และสิ่งที่ระบบการเงินไทยจะไม่เปลี่ยนคือพันธกิจ รวมทั้งบทบาทการกำกับและดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ของ ธปท.ที่จะทำเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไป”

ขณะเดียวกัน นายเศรษฐพุฒิ ได้กล่าวในงานสัมมนา 50 ปี เครือเนชั่น Thailand Next : Ep.2 “The Future of Financial System” ว่า การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เราจะเห็นในระบบการเงินของไทย มีหลักๆ 5 เรื่อง อาทิ 1.บทบาทของสถาบันการเงิน ที่ให้บริการด้านการเงิน แต่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ที่เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินเพิ่มมากขึ้น ทั้งผ่านกองทุนรวม การระดมทุนผ่านตราสารหนี้เอกชน โดยมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 3-5 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังเห็นการมีบทบาทที่เพิ่มขึ้นของระบบการเงินดิจิทัล โดยเฉพาะการโอนชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา จากยอดการทำรายการ 95 ล้านรายการต่อปี ขณะนี้เพิ่มเป็น 9,610 ล้านรายการต่อปี และเราจะเป็นผู้เล่นใหม่ๆ ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือบริษัทข้ามสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่เคยทำธุรกรรมการเงินมาก่อน เข้ามาในระบบการเงินไทยมากขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ ที่ทำธุรกรรมแบบบุคคลต่อบุคคลได้ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ดี-ไฟ หรือบล็อกเชน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ