ชวนลูกหนี้ที่ถูกยึดรถมาด่วน! มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์คึกคัก

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชวนลูกหนี้ที่ถูกยึดรถมาด่วน! มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์คึกคัก

Date Time: 18 มิ.ย. 2564 06:45 น.

Summary

  • งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ แค่ 2 สัปดาห์มีลูกหนี้เข้าร่วมแล้ว 13,450 คัน วงเงินสินเชื่อ รวม 6,725 ล้านบาท ยังสมัครต่อได้ถึง 31 ก.ค.นี้ พร้อมชวนลูกหนี้ 2 กลุ่ม

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ แค่ 2 สัปดาห์มีลูกหนี้เข้าร่วมแล้ว 13,450 คัน วงเงินสินเชื่อ รวม 6,725 ล้านบาท ยังสมัครต่อได้ถึง 31 ก.ค.นี้ พร้อมชวนลูกหนี้ 2 กลุ่ม ให้เข้าร่วมไกล่เกลี่ยหนี้ด่วน คือลูกหนี้ที่ถูกยึดรถขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมี “ติ่งหนี้” หรือเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มสูงเกินไป และลูกหนี้ที่ถูกยึดรถแล้ว แต่ยังไม่ขายทอดตลาด ให้เข้ามาเจรจาเพื่อนำรถคืนกลับไปใช้ประกอบอาชีพต่อได้ ส่วนใครที่เริ่มผ่อนไม่ไหวก็เข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้เช่นกัน

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท.ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมผู้ให้บริการ 12 แห่ง ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น ซึ่งได้รับเสียงตอบรับอย่างดี มีประชาชนสนใจเข้าร่วมจำนวนมาก โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64

มีผู้เช่าซื้อสนใจลงทะเบียน 13,450 คัน คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 6,725 ล้านบาท โดยประชาชนที่มีปัญหาผ่อนส่งรถยนต์ หรือขาดส่งหนี้ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ยังสามารถสมัครขอไกล่เกลี่ยหนี้ได้จนถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการไกล่เกลี่ยหนี้ให้กับหนี้เช่าซื้อที่ผ่อนส่งไม่ไหว และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้มีช่องทางเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้ว ยังขอเน้นย้ำถึงลูกหนี้อีก 2 กลุ่มที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของมหกรรมครั้งนี้ให้เข้ามาเจรจา กลุ่มแรกคือ กลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อที่ถูกยึดรถออกขายทอดตลาดไปแล้ว และประสบปัญหาเจ้าหนี้เรียกร้องให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือเพิ่มเติม หรือที่เรียกว่าชำระ “ติ่งหนี้” ที่ค้างอยู่ หากรู้สึกว่าเจ้าหนี้ต้องการให้จ่ายมากเกินไป สามารถยื่นขอไกล่เกลี่ยผ่านงานมหกรรมครั้งนี้ โดยแนวทางการไกล่เกลี่ย ลูกหนี้จะชำระหนี้เฉพาะยอดหนี้ตามแนวของศาลและ สคบ. โดยจะให้โอกาสลูกหนี้สามารถผ่อนชำระหนี้ส่วนนี้ได้นานระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี เป็นต้น

ขณะที่อีกกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มลูกหนี้เช่าซื้อที่รถถูกยึดไปไม่นาน รถยังไม่ถูกขายทอดตลาด ซึ่งหากเป็นรถที่ใช้ประกอบอาชีพ สามารถลงทะเบียนขอไกล่เกลี่ยในงานมหกรรมครั้งนี้กับเจ้าหนี้ลิสซิ่งได้เช่นเดียวกัน เพื่อไม่ต้องให้รถ
ถูกขายทอดตลาด โดยแนวทางการไกล่เกลี่ย

ส่วนนี้ คือ ผู้ให้เช่าซื้อจะยอมให้ผู้เช่าซื้อสามารถรับรถที่ถูกยึดมา กลับไปเพื่อใช้ประกอบอาชีพ โดยจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ผ่อนชำระหนี้ต่อจากที่หยุดชำระค่างวดไป และจะคิดค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยจากค่างวดที่ควรได้รับชำระเท่านั้น ซึ่งจะไม่สูงมาก

“เราเชื่อว่าหลังจากที่แนวปฏิบัติเรื่องการคำนวณติ่งหนี้ของเช่าซื้อชัดเจนขึ้น เจ้าหนี้จะมีแรงจูงใจที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยกับลูกหนี้มากขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว ลูกหนี้ที่เช่าซื้อรถคันนี้ คือ ผู้ที่เต็มใจจะให้ราคาดีที่สุด ถ้าไกล่เกลี่ยปัญหากันได้ ก็จะเป็นสถานการณ์ที่ได้ผลดีทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของผู้ให้เช่าซื้อทั้ง 12 แห่งที่ร่วมโครงการไกล่เกลี่ยหนี้กับ ธปท. หากประสบปัญหาไม่สามารถหาข้อยุติกับเจ้าหนี้ได้ สามารถยื่นข้อเสนอผ่านช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” ของ ธปท. ซึ่งจะส่งคำขอไกล่เกลี่ยหนี้ไปที่เจ้าหนี้ลิสซิ่งของลูกหนี้ ที่ www.1213.or.th/App/DebtCase  ได้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ