MLR MOR MRR คืออะไร ไขรหัสไม่ลับที่คนเป็นหนี้ต้องรู้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

MLR MOR MRR คืออะไร ไขรหัสไม่ลับที่คนเป็นหนี้ต้องรู้

Date Time: 6 ต.ค. 2563 07:30 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เชื่อว่าลูกหนี้ทั้งหลายน่าจะเคยสงสัยตัวย่อที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัดในใบแจ้งหนี้ และคอยย้ำเตือนเราทุกๆ เดือนว่า "อย่าลืมจ่ายหนี้นะจ๊ะที่รัก"

Latest


  • ดอกเบี้ย Fixed Rate คืออะไร
  • ดอกเบี้ย Floating Rate คืออะไร
  • ดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR คืออะไร 

เชื่อว่าลูกหนี้ทั้งหลายน่าจะเคยสงสัยตัวย่อที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัดในใบแจ้งหนี้ และคอยย้ำเตือนเราทุกๆ เดือนว่า "อย่าลืมจ่ายหนี้นะจ๊ะที่รัก" 

สัปดาห์นี้ "เศรษฐินีศรีราชา" จะมาคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวย่ออัตราดอกเบี้ยกัน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก "ดอกเบี้ย" กันก่อนดีกว่า ซึ่งหากดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถสรุปและอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ หรือ Fixed Rate คือ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ หรือในช่วงเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อรถยนต์ ที่กำหนดดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% ตลอดระยะเวลาการผ่อน 4 ปี หรือสินเชื่อบ้านที่กำหนดดอกเบี้ยคงที่ 3.25% ระยะ 3 ปีแรก เป็นต้น

2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว หรือ Floating Rate คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นคราวๆ ไป เช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เช่น MLR MOR และ MRR

-  MLR หรือ Minimum Loan Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

-  MOR หรือ Minimum Overdraft Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี

- MRR หรือ Minimum Retail Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัว MRR นี่ที่เราจะพบได้บ่อย เช่น MRR -0.25% ในสินเชื่อบ้านนั่นเอง

ส่วนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอื่นๆ เช่น สินเชื่อบุคคลแบบมีหลักประกัน ไม่มีหลักประกัน รวมไปถึงสินเชื่อบัตรเครดิตส่วนใหญ่ จะคิดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งอาจจะน้อยกว่า แต่ไม่มากกว่าที่แบงก์ชาติกำหนดอย่างแน่นอน

เอาเป็นว่าก่อนจะก่อหนี้ สิ่งที่เราควรทำนอกจากสำรวจภาระค่าใช้จ่าย และความจำเป็นในการก่อหนี้แล้ว เราก็ควรให้ความสำคัญกับอัตราดอกเบี้ยด้วย เพราะนี่คือต้นทุนอีกข้อที่เราในฐานะลูกหนี้ต้องแบกรับนั่นเองแหละจ้า

ผู้เขียน : เศรษฐินีศรีราชา
กราฟิก : Supassara Traiyansuwan


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ