ธ.ก.ส. จับมือ KTC เพิ่มฟังก์ชัน APP ร้านค้าน้องหอมจัง จ่ายเงินผ่าน Alipay ได้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ธ.ก.ส. จับมือ KTC เพิ่มฟังก์ชัน APP ร้านค้าน้องหอมจัง จ่ายเงินผ่าน Alipay ได้

Date Time: 2 ต.ค. 2563 19:13 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ธ.ก.ส. จับมือ KTC เพิ่มฟังก์ชัน APP "ร้านค้าน้องหอมจัง" รับชำระค่าสินค้าบริการ ด้วย QR Code ผ่านทาง Alipay

Latest


ธ.ก.ส. จับมือ KTC เพิ่มฟังก์ชัน APP "ร้านค้าน้องหอมจัง" รับชำระค่าสินค้าบริการ ด้วย QR Code ผ่านทาง Alipay

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธนาคารได้ร่วมมือกับ KTC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับชำระด้วย Alipay มากว่า 5 ปี และมียอดรับชำระสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เพื่อเปิดช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการให้แก่ผู้ประกอบการภาคการเกษตร ที่เป็นสมาชิกร้านน้องหอมจังของ ธ.ก.ส.

โดยผ่าน QR Code E-Wallet ของ Alipay เช่น ร้านค้าชุมชนสร้างไทย ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านกาแฟ ร้านค้าปลีก ชุมชนท่องเที่ยว รถเช่า รถโดยสาร รถทัวร์และร้านค้าของผู้เข้าร่วมประกวดตามโครงการ New Gen Hug บ้านเกิดของ ธ.ก.ส. โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 63 เป็นต้นไป นำร่อง 500 ร้านค้าทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม การผนึกกำลังกันครั้งนี้ จะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สร้างความเข้าใจถึงการปรับตัวของร้านค้าเพื่อเตรียมความพร้อมในการขายสินค้า และบริการให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวจีนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองไทย หากมีนโยบายการเปิดประเทศให้กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของรัฐบาล

ปัจจุบัน ธ.ก.ส. มีร้านค้าน้องหอมจัง จำนวน 185,364 ร้านค้า แบ่งเป็นเกษตรกรจำนวน 184,452 ร้านค้า และนิติบุคคล จำนวน 912 ร้านค้า ซึ่งในต้นปี 2564 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ธ.ก.ส. กับเคทีซียังมีแผนจะเปิดให้บริการรับชำระผ่าน QR Code ของบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดอีกด้วย


นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC กล่าวว่า เคทีซีเป็นหนึ่งในผู้ที่ให้บริการทั้งบัตรเครดิตสำหรับผู้บริโภค และให้บริการระบบชำระเงินรูปแบบต่างๆ สำหรับร้านค้าสมาชิกในคราวเดียวกัน

โดยในปี 2559 ได้เริ่มให้บริการรับชำระด้วยอาลีเพย์ ผู้ให้บริการจ่ายเงินออนไลน์ยอดนิยมของประเทศจีน ภายใต้บริษัท Ant Group เพื่อรองรับชาวจีนที่อาศัยในไทยและกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาในไทย โดยสิ้นปี 2562 ที่ผ่านมาเคทีซีมียอดรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยอาลีเพย์ประมาณ 15,600 ล้านบาท

สำหรับความร่วมมือระหว่างเคทีซีกับ ธ.ก.ส.ครั้งนี้ เคทีซีจะใช้เทคโนโลยี QR Code Payment ในการเปิดช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านพร้อมเพย์ (PromptPay) และ eWallet ของ Alipay ผนวกเข้ากับแอปพลิเคชัน ร้านน้องหอมจัง ของ ธ.ก.ส. เพื่อช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการฐานราก และขับเคลื่อนชุมชนให้เข้มแข็ง

นอกจากนี้ ยังช่วยอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระให้กับร้านค้าต่างๆ ของ ธ.ก.ส. เกือบ 2 แสนร้านค้า ทั่วประเทศ ซึ่งมีฐานลูกค้าเป็นคนไทยและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน

รวมถึงทำธุรกรรมชำระค่าสินค้าและบริการ โดยร้านค้าสมาชิก น้องหอมจัง ของ ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับความมั่นใจจากระบบรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมรับชำระตามมาตรฐานของวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด

นายระเฑียร กล่าวอีกว่า KTC ยังให้บริการเชื่อมต่อระบบชำระเงินออนไลน์ Payment Gateway สำหรับการรับชำระบนเว็บไซต์ของร้านค้าในโครงการ รวมทั้งเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าบนเว็บไซต์สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ KTC UShop เพื่อร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน New Gen Hug บ้านเกิด ซึ่งอยู่ภายใต้เครือข่ายร้านค้าน้องหอมจังของ ธ.ก.ส. อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรับชำระด้วยอาลีเพย์อาจจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 โดยยอดการใช้จ่ายในปัจจุบันมีชาวจีนที่อาศัยตามหัวเมืองหลักในไทย โดยเราเชื่อว่าหากเปิดประเทศ บริการดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และร้านค้าได้เป็นอย่างดี


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ