EXIM BANK เล็งขอยืดหนี้ SME ต่ออีก 1 ปี พบลูกค้า 40% ยังชำระหนี้ไม่ได้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

EXIM BANK เล็งขอยืดหนี้ SME ต่ออีก 1 ปี พบลูกค้า 40% ยังชำระหนี้ไม่ได้

Date Time: 7 ส.ค. 2563 17:42 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • EXIM BANK เล็งขอยืดหนี้ SME ต่ออีก 1 ปี หลังพบลูกหนี้กว่า 40% ยังไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติ พร้อมดันเอสเอ็มอีเกษตรจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ขยายส่งออกสินค้าไปตลาด CLMV และอาเซียน

Latest


เอ็กซิมแบงก์ เล็งขอยืดหนี้ SME ต่ออีก 1 ปี หลังพบลูกหนี้กว่า 40% ยังไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติ พร้อมดันเอสเอ็มอีเกษตรจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ขยายส่งออกสินค้าไปตลาด CLMV และอาเซียน คาดเกิดมูลค่าส่งออกไม่ต่ำกว่า 500 ล้าน 

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) กล่าวว่า ธนาคารเตรียมเสนอจะขอยืดพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอีก 1 ปี ในการประชุมคณะกรรมการสภาสถาบันการเงินของรัฐ จากเดิมมาตรการจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ยังลากยาว ทำให้ลูกหนี้บางส่วนไม่สามารถกลับมาทำธุรกิจได้เต็มที่ จึงไม่สามารถที่จะผ่อนชำระหนี้ได้ตามปกติ

สำหรับลูกหนี้ที่เป็นเอสเอ็มอีของธนาคารมีจำนวนทั้งสิ้น 20,000 ราย ในจำนวนนี้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยกับธนาคาร 3,000 ราย มูลหนี้ 20,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ 60% สามารถกลับไปชำระหนี้ได้ตามปกติ

ส่วนอีก 40% ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ ดังนั้นธนาคารจึงเตรียมขอยืดระยะเวลาพักชำระหนี้ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีในกลุ่มนี้ โดยอาจจะแบ่งออกเป็นหลายมาตรการเพื่อให้เอสเอ็มอีเลือกได้ว่าจะใช้เงื่อนไขแบบใด เช่น พักดอกเบี้ย จ่ายเงินต้น หรือจ่ายดอกเบี้ยแค่ 50% เป็นต้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และภาคีเครือข่ายพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชน เปิดกิจกรรม "Global Business Matching 2020 : เปิดโลกการค้า เจรจาธุรกิจ พิชิตตลาดส่งออก"

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ส่งออกเอสเอ็มอีไทยภาคการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จับคู่ธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ เพื่อขยายการส่งออกไปตลาด CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่ยังมีกำลังซื้อและความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยอีกมาก ท่ามกลางการปรับตัวของผู้บริโภค และภาคธุรกิจจากผลกระทบของโควิด-19

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรของไทย ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและการพัฒนาประเทศของไทยและภูมิภาคอาเซียน

"ปีที่ผ่านมากิจกรรมฯ นี้ ประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคเกษตรส่งออกไปผู้ซื้อในต่างประเทศเป็นมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 500 ล้านบาท ส่วนในปีนี้คาดจะสามารถสร้างยอดส่งออกไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา"


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ