5 สาเหตุกดดัน เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในปีหนู เสี่ยงหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

5 สาเหตุกดดัน เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในปีหนู เสี่ยงหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์

Date Time: 3 ม.ค. 2563 15:32 น.

Video

วิเคราะห์อนาคต Google เจ้าแห่งเสิร์ชเอนจิน จะอยู่ยังไง ถ้าไม่ได้ผูกขาด | Digital Frontiers

Summary

  • เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล

Latest


เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน

ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรืออีไอซี นำเสนอบทวิเคราะห์มุมมองค่าเงินบาทในปี 2020 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวพร้อมรับมือต่อความผันผวนของค่าเงินในระยะต่อไป โดยมองว่าค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • 1. ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2020 จะยังคงเกินดุลสูงใกล้เคียงในปี 2019 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าในปี 2020 มีแนวโน้มทรงตัวจากปีก่อน และภาคการท่องเที่ยวจะยังคงขยายตัวแม้อยู่ในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงการลงทุนในประเทศจะยังอยู่ในภาวะซบเซา จึงทำให้โดยรวมแล้ว การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยแม้จะชะลอลงแต่ยังคงเกินดุลในระดับสูงที่ประมาณ 6% ต่อ GDP  

  • 2. ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปรับลดลง ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมถึงไทย โดยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีความคืบหน้า เป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย EM-Asia ส่วนความเสี่ยงจากสถานการณ์ Brexit ปรับดีขึ้นเช่นกัน จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับสูงขึ้น และมีเงินทุนไหลกลับเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้

  • 3. ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสปรับอ่อนค่าลงได้เล็กน้อย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจโลกปรับแย่ลง จะทำให้มีความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินหลักของโลกและมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับดีขึ้น ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกลดลง จะทำให้ความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับลดลงมา  

  • 4. ข้อจำกัดของแบงก์ชาติ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ อ่อนค่าลงได้ และจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ ทำให้ความสามารถของแบงก์ชาติในการดูแลค่าเงินบาทผ่านช่องทางนี้ลดลง นอกจากนี้ไทยยังต้องเผชิญต่อความเสี่ยงที่อาจถูกจัดเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน อาจไม่สามารถดูแลค่าเงินบาทได้มากเท่ากับในอดีต ดังนั้นโอกาสที่เงินบาทต้องเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าจึงจะมีอยู่ต่อไป

  • 5. เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่า อาจทำให้ค่าเงินในภูมิภาครวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม เนื่องจากระยะต่อไปสงครามการค้ามีแนวโน้มลดความรุนแรงลง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนโลกมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จึงทำให้เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และด้วยเสถียรภาพต่างประเทศของไทยที่แข็งแกร่ง จะยิ่งทำให้เงินบาทสามารถแข็งค่าขึ้นตามเช่นกัน

ทั้งนี้เงินบาทในปี 2020 จะยังเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าอยู่ต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลงจากปี 2019 โดยมองว่า เงินบาท ณ สิ้นปี 2020 จะอยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากไทยยังต้องเผชิญปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลในระดับสูง ขณะที่ความต้องการลงทุนในต่างประเทศยังต่ำ ทำให้มีความต้องการเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในปริมาณมาก อีกทั้งดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสปรับอ่อนค่าลงได้เล็กน้อย ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

ส่วนปัจจัยหนุนที่ช่วยให้เงินบาทจะไม่แข็งค่าขึ้นเร็วมากเท่าในปี 2019 คือ การลงทุนในต่างประเทศของภาคธุรกิจไทยอาจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นบ้าง การขายทำกำไรทองคำมีแนวโน้มลดลง และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทย-สหรัฐฯ ที่อาจกว้างขึ้นได้.
 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ