คลังจ่อคลอด “พิโกไฟแนนซ์พลัส”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คลังจ่อคลอด “พิโกไฟแนนซ์พลัส”

Date Time: 19 มี.ค. 2562 08:17 น.

Summary

  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายวงเงินสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายวงเงินสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) จากปัจจุบันอนุญาตให้ปล่อยสินเชื่อได้ไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี จะเพิ่มเป็นไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงินกู้ที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 28% หรือเรียกว่า “พิโกไฟแนนซ์พลัส” ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียดกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มั่นใจว่า พิโกไฟแนนซ์พลัสจะช่วยแก้ไขหนี้นอกระบบได้มากขึ้น เพราะถือเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ที่สามารถกู้เพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน หรือเพื่อดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น ทะเบียนรถยนต์ หรือจักรยานยนต์ หรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้ แต่ผู้ที่ได้รับในอนุญาตพิโกไฟแนนซ์ ต้องระบุขอบเขตการปล่อยสินเชื่อ เช่น จังหวัด หรืออำเภอ เป็นต้น

“กระทรวงต้องการลดหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ เพราะปัจจุบันประชาชนจำนวนมาก มีหนี้นอกระบบที่มากกว่า 50,000 บาท จึงต้องเพิ่มวงเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่พิโกไฟแนนซ์ เพื่อช่วยลดหนี้นอกระบบ ส่วนนาโนไฟแนนซ์ ยังไม่มีนโยบายอะไรเพิ่มเติม เพราะเป็นการปล่อยกู้เพื่อทำธุรกิจ และต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน”

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.59 ถึงเดือน ม.ค.62 มีนิติบุคคลที่ยื่นขออนุญาตพิโกไฟแนนซ์ทั่วประเทศ 794 ราย ใน 68 จังหวัด แต่ได้รับใบอนุญาตแล้ว 469 ราย ใน 66 จังหวัด ในจำนวนนี้ เปิดดำเนินการแล้ว 382 ราย ใน 64 จังหวัด และมีผู้ประกอบการปล่อยสินเชื่อแล้ว 358 ราย ใน 63 จังหวัด โดย ณ สิ้นเดือน ธ.ค.61 มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสม 56,558 บัญชี รวม 1,558.97 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ย 27,564.01 บาทต่อบัญชี ประกอบด้วย สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 30,274 บัญชี รวม 929.26 ล้านบาท หรือ 59.61% ของยอดสินเชื่ออนุมัติสะสม และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน 26,284 บัญชี รวม 629.71 ล้านบาท หรือ 40.39%

ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวม 20,402 บัญชี คิดเป็นเงิน 587.97 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อคงค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มี 1,944 บัญชี คิดเป็นเงิน 57.90 ล้านบาท หรือ 9.85% ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม และมีสินเชื่อคงค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (เอ็นพีแอล) 645 บัญชี คิดเป็นเงิน 35.91 ล้านบาท หรือ 6.11% ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ