สุดล้ำ KTB เร่งติดตั้งไบโอแมทริกซ์ สแกนหน้าลูกค้า ยืนยันเจ้าของบัญชีตัวจริง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สุดล้ำ KTB เร่งติดตั้งไบโอแมทริกซ์ สแกนหน้าลูกค้า ยืนยันเจ้าของบัญชีตัวจริง

Date Time: 26 ก.พ. 2562 20:49 น.

Video

เปิดเคล็ดลับ ลดหย่อนภาษี ถือสั้น กำไรพุ่ง ต้องซื้อกองทุนฯ แบบไหน ? | Money Issue

Summary

  • กรุงไทย เผยแผนยุทธศาสตร์ ปี 62 มุ่งเน้นกลุ่มสินเชื่อรายย่อย เร่งผลักดันแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ปรับองค์กรให้ทันยุคดิจิตัล รองรับความต้องการลูกค้า คาดหลังเลือกตั้งเศรษฐกิจกลับมาคึกคัก...

Latest


กรุงไทย เผยแผนยุทธศาสตร์ ปี 62 มุ่งเน้นกลุ่มสินเชื่อรายย่อย เร่งผลักดันแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ปรับองค์กรให้ทันยุคดิจิตัล รองรับความต้องการลูกค้า คาดหลังเลือกตั้งเศรษฐกิจกลับมาคึกคัก ประชาชนกล้าลงทุน...

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ติดตั้งเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ครบทุกสาขาทั่วประเทศแล้ว ประชาชนที่มาใช้บริการจึงต้องพกบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งสามารถเช็กกับกรมการปกครองว่าท่านมีตัวตนจริง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

ขณะเดียวกัน ธนาคารยังได้ยกระดับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย โดยการติดตั้งระบบไบโอแมทริกซ์ (biometrics) ในการตรวจสอบข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล จากกล้องวงจรที่มีความมารถในส่งข้อมูลไปประมวลผลด้วยระบบ AI เพื่อตรวจสอบว่าผู้ที่เข้ามาใช้บริการเป็นเจ้าของบัญชีจริงหรือไม่ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย ก็สามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะสามารถใช้ได้ประมาณกลางปีนี้

สำหรับแผนการดำเนินยุทธศาสตร์ของธนาคารกรุงไทยปี 62 ธนาคารตั้งเป้าว่าจะมีการเติบโตมากกว่า 5% ภายใต้สมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หรือ GDP อยู่ที่ประมาณ 4.1% ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีความผันผวน ความไม่แน่นอนสูง

โดยในปีนี้ธนาคารจะมุ่งเน้นกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเป็นหลัก ทางธนาคารจึงพยายามเร่งทำความรู้ความเข้าใจเพื่อจะขยายฐานใหม่ๆ ของธุรกิจ SME มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันคาดว่ากลุ่มสินเชื่อรายใหญ่จะไม่เติบโตแบบหวือหวามากนัก ซึ่งเห็นได้จากกลุ่มอีคอมเมิร์ช (E-Commerce) หรือการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เร่ิมมีการชลอการลงทุน บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทเร่ิมทยอยรีไฟแนนซ์ซิ่งเป็นระยะ เข้าไปสู่การลงทุนกลุ่มมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้ทำให้กระทบกับยอดสินเชื่อคงค้างพอสมควร  (Outstanding Balance) ในส่วนของ NPL หรือหนี้เสีย ทางธนาคารจะพยายามรักษาระดับให้ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีการปรับให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

สำหรับการปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลในปีนี้ จะยังคงมุ่งเน้นใน 5 Ecosystem ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของธนาคารเหมือนเดิม ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (Government) กลุ่มการชำระเงิน (Payment) กลุ่มด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล (Health and Medical) กลุ่มมหาวิทยาลัย โรงเรียน นักศึกษาและนักเรียน (University and Education) และระบบขนส่ง (Mass Transit)

แต่ทั้งนี้เราจะมีการปรับในส่วนนี้ทั้งหมดภายใต้การดำเนินกลยุทธ์ 5P ที่มี "กรุงไทยคุณธรรม" เป็นแกนหลัก ได้แก่ 1.Platform คือ การเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาล 2.Partnership ธนาคารจำเป็นต้องมีพันธมิตรที่เข้ามาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เช่น การเป็นพันธมิตรกับกรมศุลกากร เปิดบัตรกรุงไทยโลจิสติกส์, การบินไทย, ปตท. ไปรษณีย์ไทย เพื่อให้การดูแลเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม

3.People มุ่งเน้นกำลังคน เพิ่มประสิทธิภาพพนักงานในทุกด้านให้เหมาะสมกับงาน สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.Process ผลักดันการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ทั้งภาพลักษณ์ภายนอกและระบบหลังบ้านเพื่อทดแทนกระบวนการทำงานแบบเดิม เช่น แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และตัวสุดท้าย 5.Performance การปรับการทำงานทุกส่วนจะต้องเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ธนาคารตั้งเป้าผู้ใช้บริการในปีนี้ไว้ที่ 10 ล้านคน จากปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน 4 ล้านคน ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารกำลังเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และแม้ว่ากรุงไทยจะเป็นธนาคารพาณิชย์อันดับที่ 5 ที่เปิดให้บริการโมบายแบงกิ้ง แต่ก็มีความภาคภูมิใจเนื่องจากได้พัฒนาระบบจากการรวมพลังของบุคลากรภายในของธนาคาร เรียกได้ว่าเป็น home made ของกรุงไทย

และสาเหตุที่กรุงไทยเปิดให้บริการ Krungthai NEXT ช้ากว่าธนาคารอื่น ส่วนหนึ่งมาจากความยากในการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ให้เข้ากับกระบวนการทำงานและการทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใจในทุกบริการ

นายผยง กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีก 1 เดือนต่อจากนี้ หากมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วก็อาจจะก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้น ประชาชนจะเร่ิมกล้าลงทุน มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ ก็จะเติบโตตามมา.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ