ขอเลื่อนใช้ ก.ค.62 คุมบ้านหลัง 3 อสังหาฯร้อง ธปท.คุมวางดาวน์ 20% กระทบหนัก

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ขอเลื่อนใช้ ก.ค.62 คุมบ้านหลัง 3 อสังหาฯร้อง ธปท.คุมวางดาวน์ 20% กระทบหนัก

Date Time: 12 ต.ค. 2561 05:55 น.

Summary

  • นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิด เผยในการประชุมชี้แจงและเปิดรับฟังความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน เกี่ยวกับมาตรการ...

Latest

ปลดล็อกเรื่องภาษี!

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิด เผยในการประชุมชี้แจงและเปิดรับฟังความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน เกี่ยวกับมาตรการการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคุมอัตราส่วนการให้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเทียบกับมูลค่าบ้าน (LTV) ที่ 80% สำหรับบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป และบ้านทุกสัญญาที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปว่า มาตรการดังกล่าวเข้มงวดเกินไปสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้เติบโตร้อนแรง นอกจากนี้ยังไม่พบสัญญาณฟองสบู่ ดังนั้น จึงอยากเสนอให้ใช้มาตรการกับสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับบ้านหลังที่ 3 มากกว่า และให้เลื่อนการใช้เป็นวันที่ 1 ก.ค.2562 จากที่ ธปท.เสนอให้ใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2562

“สาเหตุที่ต้องการให้ใช้มาตรการกับหลังที่ 3 เนื่องจากปัจจุบันผู้จบการศึกษาใหม่ หรือผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางส่วนใหญ่จะซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกแค่พออยู่ได้ แต่เมื่อเริ่มทำงาน 5-6 ปี หรือมีครอบครัวจะหาซื้อที่อยู่อาศัยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่สัญญาสินเชื่อเดิมยังผ่อนอยู่และยังขายที่เดิมไม่ได้ จึงน่าจะให้โอกาสซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เพื่อความจำเป็น อีกกรณีคือกลุ่มลูกค้าที่มีบ้านชานเมืองที่ยังผ่อนชำระ แต่เมื่อมีคอนโดฯ เกิดใกล้ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของลูก จึงต้องการซื้อเพื่อความสะดวกมากขึ้น”

ขณะที่นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ต้องการให้ ธปท. ในฐานะผู้กำกับที่มีอำนาจและมีหน้าที่ขอให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม หรือ LTV 90% ไปชั่วคราวก่อนอย่างน้อย 3-6 เดือน ส่วนการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวมดังนั้น จึงต้องการให้คุมเข้มให้ตรงจุดมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ โดยหากต้องการออกมาตรการจริง อยากให้ดำเนินการเป็นขั้นบันได หรือทยอยปรับ เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนได้มีเวลาปรับตัว ไม่เช่นนั้นอาจกระทบกับลูกค้ารายย่อยได้ นอกจากนี้ อยากให้ ธปท. แยกประเภทของสินเชื่อ เช่น สินเชื่อบุคคล หรือการซื้อประกันชีวิตพ่วง ออก และให้คำนวณหรือคิดเฉพาะสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ