พิษค่าเงินตุรกีเขย่าเศรษฐกิจโลก! คาดวิกฤติยืดเยื้อ ไทยแกร่งเงินไหลเข้า

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พิษค่าเงินตุรกีเขย่าเศรษฐกิจโลก! คาดวิกฤติยืดเยื้อ ไทยแกร่งเงินไหลเข้า

Date Time: 14 ก.ย. 2561 14:38 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ คาดวิกฤติค่าเงินตลาดใหม่ยืดเยื้อถึงปลาย ก.ย.ระบุ อินเดีย-อินโดนีเซีย ยังเสี่ยง ส่วนไทยเศรษฐกิจแกร่งเงินไหลเข้าค่าเงินบาทแข็งในกรอบ 32.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

Latest


บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ คาดวิกฤติค่าเงินตลาดใหม่ยืดเยื้อถึงปลาย ก.ย.ระบุ อินเดีย-อินโดนีเซีย ยังเสี่ยง ส่วนไทยเศรษฐกิจแกร่งเงินไหลเข้าค่าเงินบาทแข็งในกรอบ 32.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 14 ก.ย.61 นายจิมมี่ ซู หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของ บลจ.ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศนิวซีแลนด์) เปิดเผยบทวิเคราะห์สาเหตุเบื้องหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลให้ค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ ต่างร่วงลงทั่วโลกกว่า 13% ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น และเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดที่พัฒนาแล้ว การเสื่อมค่าของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่รอบนี้ เริ่มเมื่อค่าเงินลีราของตุรกีร่วงลงเมื่อเดือน ส.ค. อย่างไรก็ตามตุรกีไม่ใช่ตลาดเกิดใหม่เจ้าเดียว ที่ประสบกับแรงกดจากภาวะเสื่อมค่าของเงินนี้ ตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในโลกก็กำลังจะพบกับปัญหาเดียวกัน ที่เป็นไปได้มีสองประเทศซึ่งจะเจอกับแรงกดดันในตอนนี้ คือ อินโดนีเซียและอินเดีย และคาดว่าวิกฤติครั้งนี้จะยังเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือน ก.ย.นี้

โดยวิกฤติค่าเงินในครั้งนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และแนวโน้มการเติบโตการส่งออกของจีนให้มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 2-3 ไตรมาสถัดไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในระดับปานกลาง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ซึ่งรัฐบาลจีนกำลังดำเนินการมาตรการต่างๆ เพื่อลดความอ่อนแอของค่าเงินหยวน โดยการกำหนดความต้องการสำรองในการซื้อขายล่วงหน้า หนึ่งในเหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลัง คือ การป้องกันไม่ให้สกุลเงินหยวนร่วงลงจาก 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หากค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงลงถึงระดับสำคัญที่ 7 หยวนต่อดอลลาร์ จะเป็นการสร้างแรงกดดันอย่างมหาศาลให้กับค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ที่เหลืออย่างแพร่กระจาย รวมไปถึงตลาดหุ้น

อย่างไรก็ตามมองว่า วิกฤติค่าเงินครั้งนี้จะไม่เกิดเป็นวงกว้าง เนื่องจากความรุนแรงยังน้อยกว่าสมัยวิกฤติหนี้สินของสหภาพยุโรป ในช่วงปี 2553-2555 การเทขายสินทรัพย์บางประเภทของตลาดเกิดใหม่ เกิดจากปัจจัยไม่กี่อย่าง นั่นคือความพยายามที่จะทำให้นโยบายการเงินของสหรัฐฯ เป็นไปตามปกติ หลังจากกว่าทศวรรษที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพิเศษ ซึ่งส่งผลต่อประเทศอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมถึงหนี้ต่างประเทศประการที่สองแม้ว่านโยบายแบบกระชับ ซึ่งเป็นที่ถูกใจของหลายๆ กลุ่มทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ก็สร้างความลำบากทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น อาร์เจนตินา ในการขายหรือกู้ยืมเป็นสกุลเงินดอลลาร์ได้ยากขึ้น

สำหรับวิธีการแก้ปัญญาด้วยการขึ้นดอกเบี้ย อย่างเช่นที่หลายประเทศกำลังทำอยู่นั้น ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนัก แต่จากทางเลือกที่เหลือไม่มาก เพราะประเทศตลาดเกิดใหม่เพียงไม่กี่ประเทศ ที่ถือทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ดังนั้นหากไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเทขาย ระบบการเงินของพวกเขาจะอ่อนแอลง แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ และลดความกดดันด้านการเสื่อมค่าของสกุลเงิน ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเศรษฐกิจอยู่หลายอย่าง หากธนาคารกลางออกนนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ไหว อีกทางเลือกหนึ่งคือสร้างความแข็งแกร่งให้กับการจัดการเงินทุนระหว่างประเทศ (cross-broader capital management) แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีต่อประเทศนัก เนื่องจากมันจะไปลดบทบาทการทำงานของระบบตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพ และบิดเบือนการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ต่างๆ ในประเทศของตนเอง

อย่างไรก็ตามในส่วนของผลกระทบจากวิกฤติค่าเงิน ที่มีต่อประเทศไทยนั้นถือว่าไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีงบเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ในตอนนี้ค่าเงินบาทเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดในกลุ่มเพื่อนบ้านในภูมิภาค เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งค่าของไทย และการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลจำนวนมาก ช่วยปกป้องสกุลเงินบาทจากความวุ่นวายที่เลวร้ายที่สุดของตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้พบว่าวิกฤตินี้ทำให้กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์ของไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างดี ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 10 ปี ของไทยอยู่ที่ 2.76% ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าของสหรัฐฯ ที่ 2.87% ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยวิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2558 ผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงนั่นหมายความว่า มีการซื้อพันธบัตรของไทยมากขึ้น อีกทั้งรายงาน GDP ไตรมาส 2/2561 ที่แข็งแกร่งน่าจะเพียงพอ ที่จะโน้มน้าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญ ต่อการกระชับนโยบาย การเติบโตที่แข็งแกร่งและการส่งออกที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้สินทรัพย์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจโดยรวมของไทยนั้น ยังมีการฟื้นตัวจากแรงหนุน และความได้เปรียบทางด้านการค้าและการท่องเที่ยว ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเป็นเหมือนการคุกคามห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค แต่ก็อาจทำให้บางบริษัทเปลี่ยนฐานการผลิตไปยังที่อื่นๆ เช่น มาที่ไทยซึ่งอาจทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ประเทศได้มากอีกทางหนึ่ง อีกทั้งวิกฤติครั้งนี้ยังทำให้ไทยมีโอกาสจัดส่งสินค้าไปจีนมากขึ้น หลังจากจีนได้เรียกเก็บภาษีศุลกากรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดีในส่วนของทิศทางค่าเงินบาทนั้น สภาพการเติบโตของค่าเงินบาทไทยตอนนี้ เปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่ให้ความปลอดภัยในช่วงการเทขายของตลาดเกิดใหม่ นั่นหมายความว่าค่าเงินบาทของไทยจะยังคงมีเสถียรภาพแบบนี้ไปจนถึงสิ้นปี ณ ตอนนี้แนวรับของค่าเงินบาทจะยืนพื้นที่ 32.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวต้านจะอยู่ที่ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ