ประเทศญี่ปุ่น โอกาสที่น่าลงทุน

Investment

Wealth Management

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

ประเทศญี่ปุ่น โอกาสที่น่าลงทุน

Date Time: 17 พ.ค. 2567 16:30 น.
Content Partnership

Summary

  • • ประเทศญี่ปุ่น มีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตยานยนต์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
  • • โอกาสลงทุนในญี่ปุ่นมีธุรกิจและหลากหลายอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรรม ประมง และการท่องเที่ยว
  • • ธนาคารกรุงเทพ มีความเข้าใจประเทศญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ทั้งวัฒนธรรมคนญี่ปุ่น รูปแบบธุรกิจอุตสาหกรรม และมีความสัมพันธ์อันดี ทำให้เป็นจุดแข็งพร้อมพานักธุรกิจไทยลงทุนได้ในระยะยาว

ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประมาณ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2566 เป็นรองจากประเทศเยอรมนี ประเทศจีน เเละประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมหลักคือผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด ถือว่ามีความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และยังมีการทำเกษตรกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น มีสัดส่วนมากถึง 1.2% ของจีดีพีทั้งหมด แม้ที่ดินเพาะปลูกจะไม่มากแต่สามารถได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากที่สุดในโลก รวมถึงการทำประมงที่เรียกว่าประเทศญี่ปุ่นไม่เป็นสองรองใคร เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดต่างชาติโดยเฉพาะคนไทยเข้าท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก

โอกาสการค้าการลงทุน

"ญี่ปุ่น" เป็นประเทศที่มีความน่าสนใจ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะในการผลิตยานยนต์ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ทั้งยังมีอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมีอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้ช่วงที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องเจอกับการแข่งขันที่สูงกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ แต่ก็ยังขึ้นชื่อว่ามีนวัตกรรมเทคโนโลยีมากที่สุดแห่งหนึ่ง สะท้อนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมและธุรกิจที่ถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่นยังมีหลากหลาย ประกอบด้วย ด้านเกษตรกรรมและประมง มีสัดส่วนมากถึง 1.2% ของจีดีพีทั้งหมดเมื่อปี 2561 แต่ญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาสังคมสูงวัยทำให้มีความกังวลมากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมักเป็นผู้สูงวัยและยากที่จะหาผู้สืบทอด ขณะที่ในด้านการทำประมง ญี่ปุ่นเป็นแหล่งประมงใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยญี่ปุ่นอยู่อันดับ 7 ด้านการจับปลาซึ่งมากถึง 15% ของทั้งโลก

เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว และคนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นมากและต่อเนื่อง เนื่องด้วยมีอาหารการกินที่ถูกปาก คุ้นเคย รวมถึงมีแหล่งช็อปปิ้งที่ถือว่าถูกใจคนไทย โดยญี่ปุ่นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศได้มากถึง 31.9 ล้านคนในปี 2562 เป็นอันดับ 11 ของโลก และตามรายงานความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวปี 2560 จัดอันดับญี่ปุ่นเป็นอันดับ 4 จาก 141 ประเทศซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย

หนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำของไทยที่คุ้นเคยกับประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง คือ "ธนาคารกรุงเทพ" ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่น โดยมี 2 สาขาที่ให้บริการธุรกรรมการเงินเต็มรูปแบบ ได้แก่ สาขาโตเกียว ซึ่งเปิดบริการมายาวนานเกือบ 70 ปี เป็นสาขาต่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดอันดับ 2 ของธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพ สาขาโตเกียว

และสาขาโอซาก้า เปิดให้บริการมานานกว่า 54 ปี ทั้งสองสาขาให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบครบวงจร เพื่อมาตอบรับและสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจของไทยที่ต้องการไปลงทุนในประเทศญี่ปุ่น

ธนาคารกรุงเทพ สาขาโอซาก้า

ธนาคารกรุงเทพ ทั้งสาขาโตเกียวและสาขาโอซาก้า มีการให้บริการทางการเงิน เช่น บริการเพื่อธุรกิจส่งออกและนำเข้า, สินเชื่อธุรกิจ มีทั้งสินเชื่อระยะยาว สินเชื่อเพื่อเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อโครงการ, บริการโอนเงินระหว่างประเทศ, บริการเงินฝาก และบริการให้คำปรึกษา แนะนำลูกค้าธุรกิจไทยที่มีความสนใจลงทุนในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และด้วยความสัมพันธ์อันดีและรู้จักวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง ทำให้เป็นจุดแข็งของธนาคารกรุงเทพที่พร้อมพาลูกค้าไทยมาลงทุนในประเทศญี่ปุ่น

ธนาคารกรุงเทพ พร้อมพานักลงทุนไทยเติบโตระยะยาวในประเทศญี่ปุ่น ด้วยประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และความเข้าใจวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง

ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่อยู่กับคนญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานเกือบ 70 ปี ประกอบกับธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยเพียงแห่งเดียวในญี่ปุ่นและสามารถให้บริการทางการเงินเหมือนกับธนาคารท้องถิ่นทุกประการ ทำให้มีความพร้อมรองรับและพานักลงทุนไทยเข้ามาลงทุนในญี่ปุ่น

"ทวี พวงเกตุแก้ว" เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Senior Vice President และผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพในญี่ปุ่นมี 2 สาขา คือ โตเกียว และโอซาก้า ซึ่งให้บริการทางการเงินแบบเต็มรูปแบบ ทำได้เหมือนกับธนาคารท้องถิ่นของญี่ปุ่นเอง ทั้งเรื่องการรับฝากเงินและการให้สินเชื่อที่ทำในรูปแบบสกุลเงินท้องถิ่นเงินเยน รวมถึงการโอนเงิน บริการเพื่อการส่งออกและนำเข้า เป็นต้น

พนักงานธนาคารกรุงเทพที่ญี่ปุ่นมีพนักงานส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่นทำให้เข้าใจวัฒนธรรมของท้องที่ และสามารถดูแลคนญี่ปุ่นได้ด้วยความเข้าใจเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็มีพนักงานคนไทยที่เข้าใจวัฒนธรรมของทั้งไทยและญี่ปุ่น สามารถดูแลคนไทยที่สนใจทำธุรกิจในญี่ปุ่นอย่างเข้าใจเช่นกัน

จุดแข็งที่มีมาอย่างยาวนาน คือ ธนาคารเรารู้จักลูกค้า ดูแลตั้งแต่เริ่มต้น อย่างต่อเนื่อง เป็นมิตร เป็นที่ปรึกษา โดยใช้วิธีการดูแลแบบคนไทย เน้นการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว ด้วยความที่เรามีสาขาที่ญี่ปุ่น มีพนักงานทั้งคนไทย และคนญี่ปุ่น ทำให้มีความเข้าใจวัฒนธรรมของไทยและญี่ปุ่นเป็นอย่างดี สามารถดูแลลูกค้าได้ทั้งไทย และญี่ปุ่นอย่างเต็มที่

กลุ่มพนักงานธนาคารกรุงเทพ ประเทศญี่ปุ่น สาขาโตเกียว

"ทวี" บอกเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลาที่ธนาคารกรุงเทพ เข้ามาดำเนินธุรกิจให้บริการทางการเงินในประเทศญี่ปุ่นมาเกือบ 70 ปี ทำให้มีความเข้าใจตลาด และธุรกิจของประเทศญี่ปุ่น ด้วยการทำกิจการธนาคารได้เหมือนกับธนาคารท้องถิ่นญี่ปุ่นทุกอย่าง จึงมองเห็นว่า โอกาสทางธุรกิจของประเทศญี่ปุ่น อย่างตลาดกลุ่มคนผู้สูงวัย Aged Society เป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป สัดส่วนมากถึง 30% ของจำนวนประชากรญี่ปุ่น ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีการใช้ชีวิตแบบไม่ทำอาหาร เลือกซื้อกลับบ้าน หรือเน้นนั่งร้านอาหารราคาไม่แพง เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ

ดังนั้น จึงเล็งเห็นช่องทางและโอกาสขยายการเติบโตจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากสังคมสูงวัย เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจเชิงสุขภาพ และธุรกิจที่อยู่อาศัย เป็นต้น แต่ความท้าทายคืออาจเจอปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต เพราะประชากรลดลง จะเห็นว่าญี่ปุ่นยังคงจ้างผู้สูงอายุทำงาน และใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาทำงานทดแทนแรงงาน

นอกจากนี้ ยังมีตลาดกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กำลังซื้อยังไม่สูง และพฤติกรรมกลุ่มนี้คือ ไม่ทำกับข้าวเองเช่นเดียวกับกลุ่มผู้สูงอายุ จึงเลือกซื้อกลับบ้าน หรือเน้นนั่งรับประทานที่ร้านอาหาร เน้นของราคาไม่แพง

ขณะที่ความน่าสนใจอื่นๆ ที่เป็นโอกาสธุรกิจไทยในญี่ปุ่น อย่างตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะเข้ามาลงทุนพัฒนาอสังหาฯ ที่ญี่ปุ่นด้วยเงินสินเชื่อสกุลเงินเยนจากธนาคารกรุงเทพที่ให้บริการทางการเงินเต็มรูปแบบ เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน แถมยังได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำมากในเวลานี้ ไม่ว่าจะเข้ามาลงทุนสร้างอสังหาฯ ที่พักอาศัย หรือพัฒนาโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศมากขึ้น ถือเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนไทย

"ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยเพียงแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่น เปิดให้บริการทางการเงินแบบเต็มรูปแบบ และมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงินได้เช่นเดียวกับธนาคารท้องถิ่น จึงสามารถรับฝาก และปล่อยกู้เป็นสกุลเงินท้องถิ่นได้ สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแน่นอน"

ธนาคารกรุงเทพในญี่ปุ่น คือการบริการแบบเข้าใจคนไทย เน้นรักษาความสัมพันธ์ ดูแลกันต่อเนื่องยาวนาน เข้าใจลูกค้าคนไทยด้วยกันอย่างลึกซึ้ง ธนาคารกรุงเทพอยู่ในตลาดญี่ปุ่นมาเกือบ 70 ปี มีทั้งสาขาโตเกียว และโอซาก้า ทำให้เข้าใจตลาด และธุรกิจในญี่ปุ่นไม่แพ้ใคร มีทีมงานทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นประสานงานร่วมกัน เปรียบเสมือนเป็น "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน" พาผู้ประกอบธุรกิจและนักลงทุนไทยเข้ามาลงทุนและช่วยให้ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับเติบโตไปในระยะยาว

ที่ปรึกษาการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจ
ธนาคารกรุงเทพ สาขาโตเกียว
ที่อยู่ : Bangkok Bank Building, 8-10 Nishi-Shimbashi, 2-Chome, Minato-ku, Tokyo 105-0003, Japan
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-15.00 น.
โทรศัพท์: +(81 3) 3503 3333
ธนาคารกรุงเทพ สาขาโอซาก้า
ที่อยู่ : Bangkok Bank Building, 9-16 Kyutaro Machi, 1-Chome, Chuo-ku, Osaka 541-0056, Japan
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-15.00 น.
โทรศัพท์: +(81 6) 6263 7100
ศูนย์ให้คำแนะนำด้านการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจดำเนินธุรกิจใน AEC
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารแห่งความเป็นเลิศใน AEC
ศูนย์ AEC Connect พร้อมช่วยคุณสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาค
โทรศัพท์: 02 230 2758
อีเมล: aecconnect@bangkokbank.com
ติดต่อและปรึกษาเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงเทพ (สำนักงานใหญ่)
เว็บไซต์: www.bangkokbank.com
โทรศัพท์: บัวหลวงโฟน 1333 หรือ 02 645 5555
อีเมล: info@bangkokbank.com

Author

Content Partnership

Content Partnership