เวียดนาม ศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน

Investment

Wealth Management

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

เวียดนาม ศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน

Date Time: 28 มี.ค. 2567 10:00 น.
Content Partnership

Summary

  • • ประเทศเวียดนาม มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตสูงและเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตในอาเซียนมีการค้าการลงทุนที่ดีมีอนาคต
  • • ความท้าทายในเวียดนามค่อนข้างสูง จากผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้ามาลงทุนทำธุรกิจ มีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ลงทุนต้องระมัดระวัง
  • • ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ “ธนาคารกรุงเทพ” พร้อมเป็นเพื่อนคู่คิด พาผู้ลงทุนไทย ขยายกิจการ ทำธุรกิจในประเทศเวียดนามให้ประสบความสำเร็จ

ประเทศเวียดนาม มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) เติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% มีรายได้ประชากรต่อหัว 4,163.5 ดอลลาร์สหรัฐ จากประชากรมากถึง 100 ล้านคน ทำให้ประเทศเวียดนามมีขนาดการเติบโตของเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน และที่สำคัญยังเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 7 ของไทย ซึ่งประเทศเวียดนามมีความน่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของอาเซียน อีกทั้งปัจจัยทางการเงินและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพอีกด้วย จึงเป็นโอกาสการลงทุนและการส่งออกที่ดีประเทศหนึ่ง

โอกาสการค้าการลงทุนในประเทศเวียดนาม

จากประชากรคนเวียดนามมีมากถึง 100 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ในเขตเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ประเทศเวียดนามมีโอกาสการเติบโตในตลาดผู้บริโภครวดเร็วมาก ซึ่งคนเวียดนามมีรายได้ปานกลางประมาณ 15 ล้านคน และกลุ่มนี้เองจะเพิ่มมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเป็นนับ 20-30 ล้านคน และประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นคนหนุ่มสาว ถือได้ว่าเป็นโอกาสของการค้าการลงทุนและผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้ามาขยายธุรกิจในเวียดนาม โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น การผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบการเกษตร และการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต้นน้ำ เป็นต้น

เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน ตั้งแต่ปี 2538 ถือเป็นการรวมตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการวางนโยบาย ออกกฎหมาย กรอบความร่วมมือต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ส่งเสริมและเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน ด้านการบริการ และตลาดแรงงานที่ถือเป็นจุดเด่นของเวียดนาม เพราะได้ส่งออกแรงงานไปประเทศอาเซียนค่อนข้างมาก

ขณะที่นโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านภาษีก็มีส่วนสำคัญในการลดภาษีศุลกากร และนโยบายที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การส่งเสริมการค้าเสรีต่างๆ กับประเทศในอาเซียน ถือเป็นความร่วมมือที่สร้างโอกาสการค้าการลงทุนให้กับนักลงทุนไทยได้เข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศเวียดนามให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น และเชื่อมโยงการค้าไปทั่วภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย

ความท้าทายในประเทศเวียดนาม

ความท้าทายในเวียดนามมีค่อนข้างสูง เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศที่มีการแข่งขันสูงมาก และยังมีคู่แข่งจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ๆ เข้ามาแย่งชิงพื้นที่ส่วนแบ่งทางการตลาด และข้อควรรู้ของเวียดนามคือ สกุลเงินที่ใช้ประจำ คือ ด่ง และกฎระเบียบการค้าการลงทุนของเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาลงทุนต้องปรับตัวและเรียนรู้อย่างมาก รวมถึงแรงงานที่มีฝีมือเริ่มขาดแคลนและค่าจ้างสูง ส่งผลให้ผู้ลงทุนต้องระมัดระวังความเสี่ยง หรืออาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเข้ามาเป็นที่ปรึกษาการทำธุรกิจในเวียดนาม

หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่ารู้จักประเทศเวียดนามเป็นอย่างดีคือ “ธนาคารกรุงเทพ” เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของไทยที่เข้าไปมีส่วนร่วมในประเทศเวียดนามมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในเวียดนามในรูปแบบสำนักงานตัวแทนตั้งแต่ปี 2504 จนสะสมประสบการณ์และความรู้ความชำนาญ เข้าใจคนในพื้นที่ และธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ จนทำให้ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และยังได้รับอนุญาตดำเนินธุรกิจยาวไปจนถึงปี 2654

ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพมี 2 สาขาในเวียดนามคือ สาขาโฮจิมินห์ เปิดเมื่อปี 2535 และสาขาฮานอย เปิดเมื่อปี 2537

ธนาคารกรุงเทพ สาขาโฮจิมินห์

ธนาคารกรุงเทพ สาขาฮานอย อาคาร International Centre ชั้น 3

ทั้งนี้ เพื่อดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่เข้ามาเปิดธุรกิจในเวียดนาม พร้อมทั้งดูแลโซลูชันด้านการเงิน และบริการอื่นๆ รวมทั้งยังนำประสบการณ์ที่มีมากกว่า 60 ปี ถือเป็นจุดที่แข็งแกร่ง เพราะมีความเข้าใจท้องถิ่นเวียดนามมากที่สุด มีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ ช่วยสนับสนุนได้ในหลายด้าน เช่น โรงพยาบาล การผลิต นิคมอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน โครงการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ถือเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจไทยที่อยากเข้ามาลงทุนในเวียดนาม

ธนาคารกรุงเทพ คร่ำหวอดในเวียดนามมากกว่า 30 ปี มีส่วนช่วยผู้ประกอบการไทยสู่ความสำเร็จ และมองถึงโอกาสที่ยังมีอยู่มหาศาล

‘ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์’ SVP และผู้จัดการทั่วไปสาขาในประเทศเวียดนาม ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารแรกที่ได้ใบอนุญาตหลังจากเวียดนามเปิดประเทศ ตั้งแต่ปี 1992 รวมมากกว่า 30 ปี ทำให้ธนาคารเป็นผู้ที่มีโอกาสไปช่วยเหลือนักธุรกิจไทยที่ลงทุนตั้งแต่วันแรกจนวันนี้จนประสบความสำเร็จเกือบทุกราย โดยเป็นธนาคารต่างชาติในประเทศเวียดนาม มีแค่ 2 สาขา คือ โฮจิมินห์ กับ ฮานอย เพราะฉะนั้นจะเน้นไปที่ Corporate Banking ไม่ได้ทำ retail

มั่นใจเลยว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เวียดนามจะยิ่งใหญ่กว่านี้ จากประชากรที่มี 100 ล้านคน อยู่ในวัยหนุ่มสาว และคนเหล่านี้กำลังจะรวยขึ้น ในขณะที่ประเทศเวียดนามมีแผนวางล่วงหน้า 30 ปี แล้วภายใน 30 ปี ทุก 10 ปี หรือ 5 ปีต้องทำอย่างไร เพราะฉะนั้นถ้าในปี 2030 แผนที่วางไว้คือรายได้ต่อคนต่อหัวต้องมีไม่ต่ำกว่า 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ขนาดของเศรษฐกิจเวียดนามกำลังเติบโตขึ้นกว่าปัจจุบันอีกหลายเท่า ดังนั้นการบริโภคทุกอย่างจะเติบโตทั้งหมด

ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามจะไปเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ เยอะมาก มีทั้ง CPTPP ที่มีญี่ปุ่นอยู่ในนั้น เพราะฉะนั้นสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม และส่งไปญี่ปุ่น และยังได้ภาษีดีกว่าที่ประเทศไทยส่งไปญี่ปุ่น แล้วก็ยังมี FTA EU, FTA UK, FTA อิสราเอล, FTA ยุโรปตะวันออกกับรัสเซีย และทุกวันนี้ก็กำลังเจรจาต่อไปอีกกับอเมริกาใต้ สิ่งที่เวียดนามทำคือขยายไปตลอดเวลา ทำให้สิ่งที่ผลิตมีต้นทุนถูกกว่ากว่าประเทศไทย และการส่งออกสินค้าไปภาษีเป็น 0% มองว่าเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมนักลงทุนทุกประเทศ ต้องการจะไปลงทุนที่เวียดนาม เป็นสิ่งที่รัฐบาลวางแผนไว้เมื่อ 20 ปีก่อนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจไทยไม่ได้มีกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ของไทยจะเป็นพวกค้าปลีก หรือภาคการผลิต ดังนั้นการบริโภคในประเทศ ถ้าตลาดเมืองไทยไม่เติบโต อาจลองตลาดที่เวียดนาม หรือบริษัทไทยที่คิดว่าต้นทุนในประเทศไทยแพง และส่งออกไป FTA สู้ไม่ได้ ลองไปตั้งฐานการผลิตที่เวียดนามและส่งออกสินค้านั้น จะได้ประโยชน์กับธุรกิจไทยไปด้วย โดยยังมีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของไทยเข้าไปขยายธุรกิจในเวียดนาม เพราะมองถึงโอกาสทางด้านค้าปลีกในเวียดนามยังมีอยู่มหาศาล จากประชากรคนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น

"ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ไม่เหมือนเมืองไทย เขาบอกว่าเป็นตลาดปราบเซียน ผมทำงานอยู่ในเวียดนามมา 20 ปี จึงได้เอาประสบการณ์ที่มีช่วยเหลือธุรกิจไทยในการต่อยอดธุรกิจภายในที่เข้ามา เพื่อให้สามารถก้าวต่อไปโดยที่ไม่ต้องเจออุปสรรค ธนาคารกรุงเทพจึงมีหน้าที่ไปช่วยเหลือลูกค้าต่างๆ เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จในเวียดนาม” ธาราบดี กล่าวทิ้งท้าย

ดังนั้น ตลอดระยะเวลาที่ ธนาคารกรุงเทพ ดำเนินกิจการในประเทศเวียดนามมามากกว่า 60 ปี นับจากปี 2504 ถือว่ามีประสบการณ์สูง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ที่จะนำพาผู้ลงทุนไทยเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนามได้อย่างแข็งแกร่ง และสร้างโอกาสให้กิจการเติบโตได้เป็นอย่างดี

ที่ปรึกษาการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจ
ธนาคารกรุงเทพ สาขาโฮจิมินห์
ที่อยู่ : Harbour View Tower, 35 Nguyen Hue Blvd, District 1, Ho Chi Minh City, Vietnam
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.
โทรศัพท์ : +84 28 3821 4396
อีเมล: bblhcm@bangkokbank.com
ธนาคารกรุงเทพ สาขาฮานอย อาคาร International Centre ชั้น 3
ที่อยู่ : Unit 3, Level 3, International Centre Building, 17 Ngo Quyen Street,Hoan Kiem District, Hanoi, Vietnam
เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์เวลา 08.00-16.00 น.
โทรศัพท์ : +84 24 3936 5903-8
อีเมล: bblhanoi@bangkokbank.com
ศูนย์ให้คำแนะนำด้านการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจดำเนินธุรกิจใน AEC
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารแห่งความเป็นเลิศใน AEC
ศูนย์ AEC Connect พร้อมช่วยคุณสร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาค
โทรศัพท์ : 02 230 2758
อีเมล: aecconnect@bangkokbank.com
ติดต่อและปรึกษาเพิ่มเติม
ธนาคารกรุงเทพ (สำนักงานใหญ่)
เว็บไซต์ : www.bangkokbank.com
โทรศัพท์ : บัวหลวงโฟน 1333 หรือ 02 645 5555
อีเมล: info@bangkokbank.com

Author

Content Partnership

Content Partnership