JAS ฝ่าอาถรรพ์  ใครถือสิทธิ “พรีเมียร์ลีก” ขาดทุนทุกราย จับตาดีลกับ AIS อาจเป็นทางรอด

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

JAS ฝ่าอาถรรพ์ ใครถือสิทธิ “พรีเมียร์ลีก” ขาดทุนทุกราย จับตาดีลกับ AIS อาจเป็นทางรอด

Date Time: 13 พ.ย. 2567 12:57 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • JAS ยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างมาก เมื่อเข้าถือครองสิทธิการถ่ายทอดสด ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และ เอฟเอ คัพ เป็นเวลา 6 ปี แต่ที่ผ่านมา ใครที่ถือสิทธิฟุตบอลรายการนี้ ไม่มีกำไร

Latest


สร้างกระแสข่าวฮือฮา เมื่อ JAS หรือ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเข้าซื้อลิขสิทธิ์ ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และ เอฟเอ คัพ ลีกฟุตบอลยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยมูลค่ากว่า 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเอาชนะผู้ถือลิขสิทธิ์รายเดิม อย่าง TRUE หรือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ถือครองมาอย่างยาวนาน

ทั้งนี้การเข้ามาถือลิขสิทธิ์ ถูกจับตาอย่างมาก เพราะการเข้าซื้อครั้งนี้มีมูลค่าของดีลที่สูงมากถึง 1.9 หมื่นล้านบาท และในขณะเดียวกันผู้ที่ถือลิขสิทธิ์ พรีเมียร์ลีก มักจะมีผลการดำเนินงานที่ไม่ดีนัก และถึงขั้นขาดทุน

ย้อนสถิติผู้ถือครองสิทธิ์ พรีเมียร์ลีก ขาดทุนทุกราย

อย่างไรก็ตาม ในอดีต ทรู ถือเป็นผู้ที่ถือสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดมาอย่างยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาในด้านผลประกอบการของ TRUE ในด้านเพย์ทีวีนั้นมีผลการดำเนินงานที่ไม่ดีนัก โดยผลประกอบการที่ขาดทุน โดย Pay TV คิดเป็นเพียง 4% ของรายได้หลักของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมา ทรู ใช้การถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการลูกค้า ทั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน และการให้บริการค่ายมือถือ ที่เป็นธุรกิจหลัก

โดยในช่วงที่ผ่านมา TRUE เคยเสียสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้กับ CTH หรือบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง ในช่วงฤดูกาล 2013 - 2016 โดย CTH ประกาศนโยบายที่ต้องการผลักดันการขายกล่อง เพื่อดูฟุตบอลรายการดัง แต่ในท้ายที่สุด ต้องเจอปัญหาการขาดทุน และต้องปิดการให้บริการ แม้จะมีสมาชิกถึง 5 หมื่นรายก็ตาม

จับตา ดีล AIS อาจเป็นทางรอด

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด ประเมินว่า จากกรณีที่ JAS ได้ประกาศซื้อลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก-เอฟเอคัพ ดังกล่าว โครงสร้างดีล 6 ปี 19,000 ล้านบาท ถ้า 3 ปี 8,000 ล้านบาท ทั้งนี้ JAS จะได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ถ่ายทอด 3 ช่องทาง คือ Digital TV, Internet TV และคลิปถ่ายทอด 3 ประเทศ

คือ ไทย สปป.ลาว และกัมพูชา โดยแพลตฟอร์มของ JAS คือ GIGA TV ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 600,000 ราย ในขณะที่ True Vision 1.2 ล้านราย คาดว่าจะเกิดความร่วมมือระหว่าง JAS-ADVANC หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เจ้าของเครือข่าย AIS

เมื่อคิดค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก 2,700 ล้านบาท ถ้าคิดว่าสมาชิกของ True Vision 1.2 ล้านรายจะย้ายมา GIGA TV จะทำให้ JAS มีต้นทุน 2,200 บาทต่อฤดูกาล ถ้าคิด 6 ปี ต้นทุน 2,700 บาทต่อฤดูกาล ถือว่าพอได้ เพราะปัจจุบันค่าสมาชิกราว 5,400 บาทต่อปี ส่วนฐานะทางการเงิน ปัจจุบัน JAS มีเงินสดในมือ 4,600 ล้านบาท ต้องพึ่งสถาบันการเงินเข้ามาช่วยในดีลครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม จากสถิติที่ผ่านมาผู้ให้บริการเจ๊งทุกราย ไม่ว่าจะเป็น CTH, True Vision ซึ่ง JAS ก็ยังคงมีความเสี่ยงตรงนี้

ถ้าพิจารณา TRUE ซึ่ง True Vision คิดเป็น 4% ของรายได้รวม นอกจากนี้ True Vision ไม่มีกำไรการไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก น่าจะส่งผลดีมากกว่าเพราะเป็นการตัดเนื้อร้ายออกจากบริษัท ในขณะที่ธุรกิจมือถืออยู่ในช่วงเติบโต การเสียลิขสิทธิ์ไม่ใช่เรื่องใหญ่

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ