จับตาแบงก์ไทย ไตรมาส 3 ฟันกำไร 6.2 หมื่นล้านบาท รายย่อยเหนื่อย หนี้เสียพุ่ง ต้องการกู้เงินเพิ่ม

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตาแบงก์ไทย ไตรมาส 3 ฟันกำไร 6.2 หมื่นล้านบาท รายย่อยเหนื่อย หนี้เสียพุ่ง ต้องการกู้เงินเพิ่ม

Date Time: 7 ต.ค. 2567 11:21 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารไทยกลุ่มใหญ่ 8 แห่งจะมีกำไรรวมสูงถึง 6.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากปีที่แล้ว มาจากการลดสำรองหนี้เสีย (ECL) แม้ว่าสินเชื่อจะหดตัวเล็กน้อย แต่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยและการฟื้นตัวของตลาดการเงินช่วยหนุนกำไร ส่วนสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อบ้านยังโตช้า จากภาระหนี้สูงและการเข้าถึงสินเชื่อยากขึ้น

Latest


กลุ่มธนาคารไทยยังมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยนักวิเคราะห์คาดว่ากำไรในไตรมาสที่ 3 ของ 8 ธนาคารใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

จะออกมาสูงถึง 6.2 หมื่นล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อน 5.9% จากการตั้งสำรองหนี้เสียที่ลดลง ทั้งนี้ประเด็นที่น่าจับตาคือกลุ่มลูกค้ารายย่อยยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียมากขึ้น และในขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อยังเป็นเรื่องที่ยาก


บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่ากำไรไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ของกลุ่มธนาคารใหญ่ทั้ง 8 ธนาคารอยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.9% จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามการฟื้นตัวของตลาดการเงิน ประคองตัวได้จากสำรองหนี้เสีย หรือ ECL ลดลง 4% จากไตรมาสก่อน เหลือ 5.8 หมื่นล้านบาท


นอกจากเป็นไปในทิศทางเดียวกับสินเชื่อ ยังมาจากงวดก่อนบางธนาคารพาณิชย์มีการตั้งสำรองหนี้เสีย ECL พิเศษ เช่น ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL และ ธนาคารทิสโก้ หรือ TISCO เพราะทุกไตรมาสที่ 2 จะรับรู้วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน หรือ FVTPL มากกว่าปกติ รวมทั้ง  ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB จากการใส่สำรองให้กับลูกหนี้รายใหญ่ 1 รายราว 800 ล้านบาท


ซึ่งปัจจัยด้านตั้งสำรอง หรือ ECL ชดเชยกำไรก่อนสำรอง (PPOP) ที่ 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.9% จากปีก่อน รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) คาดไว้ 1.8 แสนล้านบาท อ่อนตัว 0.3% จากปีก่อน และเหตุเพราะคาดสินเชื่อหดตัว 2% จากไตรมาสก่อน อิง ธ.พ. 1.1 ณ สิ้น ส.ค. 67 พบว่าสินเชื่อกลุ่มฯ ติดลบ 1% จากสิ้น มิ.ย. 67 ซึ่งไม่สามารถทดแทนได้กับจำนวนวันที่มากกว่างวดก่อน


ด้านส่วนต่างรายได้จากดอกเบี้ย NIM ประเมินทรงตัวที่ 3.6% จากทิศทาง Yield on loan และ Cost of fund ไม่ได้แตกต่างจากงวดก่อนอย่างมีนัยฯ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non - NII) ประเมินที่ 6 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน ทั้ง BBL, TISCO เพราะ FVTPL ตามฤดูกาล, SCB จากเงินบาทเทียบเหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 3 แข็งค่า 12% มีโอกาสส่งผลต่อการวัดมูลค่าเงินลงทุนใน Start up ต่างประเทศของ SCB10X ขณะที่ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ  TTB เนื่องจากตามงบการเงินรวมไม่มีธุรกิจ บล. จึงได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของมูลค่าการซื้อขายหุ้นในตลาดน้อยกว่ากลุ่มฯ ส่วนค่าธรรมเนียมฝั่งธนาคารยังซึมตามภาพสินเชื่อข้างต้นและภาวะเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) คาดการณ์ที่ 1.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.4% เป็นไปในทิศทางเดียวกับรายได้


ประกอบกับงวดก่อน SCB มีการตั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ Robinhood ประมาณ 800 ล้านบาท VS ไตรมาสที่ 3 ราว 600 ล้านบาท โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1.4% จากปีก่อน และ OPEX ไม่แตกต่างกันมากทั้งทำให้ Cost to income ratio ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 44%


ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ภายใต้การฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกันของเศรษฐกิจไทย จึงมองสินเชื่อ NPL เกิดใหม่ในงวดนี้ (NPL Formation) ไม่น่าต่ำกว่างวดก่อน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างรายย่อย (เช่าซื้อรถยนต์, บ้าน) และ SME ประกอบกับฐานสินเชื่อหดตัวตามข้างต้น คาดส่งผลให้ NPL / Loan กลุ่มฯ ขยับขึ้นเป็น


3.8% จาก 3.7% ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 2 (สิ้นปี 2566 ที่ 3.5%) และ Coverage ratio กลุ่มฯ ลดลงเหลือ 175.3% เทียบกับ 175.8% ณ สิ้นงวดก่อน (สิ้นปี 2566 ที่ 183%) ทั้งนี้ คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK และ KTB ยังอยู่ในการบริหารจัดการเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ หลังดำเนินเก็บกวาด NPL มาก่อนกลุ่มฯ


สินเชื่อรายย่อยโตจำกัด มองสินเชื่อธุรกิจได้เปรียบกว่า สำหรับทิศทางสินเชื่อปี 2568 ขยายตัว 3% จากปีก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับ GDP ไทย แรงกระตุ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐต่อเนื่อง หนุนความต้องการใช้สินเชื่อของลูกค้าธุรกิจและรัฐบาล ย่อมบวกต่อธนาคารพาณิชย์ที่มีสัดส่วนสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ (รายใหญ่ + SME) สูง นำโดย KBANK (สัดส่วน 66% ของสินเชื่อ) ตามด้วย BBL (สัดส่วน 62% ของสินเชื่อ) และ ธนาคาารกรุงไทย KTB ได้ประโยชน์ในส่วนของสินเชื่อรัฐบาล (สัดส่วน 16% ของสินเชื่อ)


ด้านสินเชื่อรายย่อย ภายใต้หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 2 ที่ 89.6% (สิ้นงวดไตรมาสที่ 4 ที่ 91.4%) คาดเป็น 1 ในเหตุให้ Credit risk ของลูกหนี้สูงกว่าในอดีต มองเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของสินเชื่อรายย่อย ทำให้กลุ่ม ธ.พ. ที่สัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเกิน 40% ของพอร์ตสินเชื่อ อย่าง KKP, TISCO, TTB, SCB, BAY และ KTB มีแนวโน้มเน้นขยายตัวไปที่สินเชื่อ High yield เป็นหลัก โดยเฉพาะจำนำทะเบียนรถ / รถแลกเงิน (KKP, SCB, TISCO และ TTB) และสินเชื่อบุคคล (KTB, SCB และ TTB) ซึ่งให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงน่าสนใจ


ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เชื่อว่า ธ.พ. ยังดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวัง ภายใต้การเปลี่ยนผ่านจาก ICE สู่ EV แต่การติดลบมีแนวโน้มเบาลง ตามความต้องการใช้รถยนต์เชิงพาณิชย์สูงขึ้น หลังงบประมาณภาครัฐลงสู่ระบบ ประกอบกับการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (RL : Responsible Lending) ที่เปิดทางให้สินเชื่อเช่าซื้อสามารถนำรายได้ผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลภายในครอบครัวมาคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ (เริ่มใช้ปี 2568, ธปท. เปิดรับฟังความเห็น 5 – 20 ก.ย. 67)


ส่วนสินเชื่อบ้าน ภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายลด จะช่วยให้ค่าผ่อนชำระต่องวดของสัญญาใหม่ต่ำลง น่าจะช่วยให้ผู้กู้เข้าถึงสินเชื่อมากขึ้นเป็นปัจจัยหนุน อย่างไรก็ดีประเมินว่าการเติบโตของทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบ้าน ระยะข้างหน้าจะเติบโตเฉลี่ยไม่เกิน 1% - 3% ต่อปี ตามการขยับนโยบายสินเชื่อไปยังกลุ่ม High yield ข้างต้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ