ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และ บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) ปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ หลังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สั่งให้ 2 บริษัทชี้แจงข้อมูลในงบการเงิน หลังพบว่า EA มียอดหนี้คงค้างในจำนวนที่มีนัยสำคัญและอาจมีผลกับสภาพคล่องจากการขายรถให้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ส่วน BYD รายได้หลักมาจากดอกเบี้ยรับเงินให้กู้ยืมกับบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB) คิดเป็น 65% ของรายได้โดย TSB ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี ส่งผลให้งวด 6 เดือนปี 2567 บริษัทไม่มีกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรับ ซึ่งอาจกระทบต่อฐานะการเงิน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอให้บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เนื่องจากบริษัทมีลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันที่ค้างชำระในจำนวนที่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ลูกหนี้ค้างชำระส่วนใหญ่เป็นการขายรถให้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ซึ่งได้ยกเลิกการเพิ่มทุน โดยอาจกระทบต่อการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของ EA อย่างมีนัยสำคัญ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินของ EA และติดตามคำชี้แจงของบริษัท
สรุปข้อมูลการเงินสำคัญ:
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ ขอให้คณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นในประเด็น ดังนี้
สั่ง BYD ชี้แจง ไทย สมายล์ บัส
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ซึ่งมีรายได้หลักมาจากดอกเบี้ยรับเงินให้กู้ยืมกับบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB) คิดเป็น 65% ของรายได้โดย TSB ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี ส่งผลให้งวด 6 เดือนปี 2567 บริษัทไม่มีกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรับ ซึ่งอาจกระทบต่อฐานะการเงิน การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินของ BYD และติดตามคำชี้แจงของบริษัท
ขอให้คณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นในประเด็น ดังนี้
1. ผลกระทบจากการพักชำระหนี้ให้กับ TSB ต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และสภาพคล่องของบริษัท
2. นโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้กู้ยืมกับ TSB เนื่องจากปี 2566 TSB มีผลการดำเนินงานขาดทุนและส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ
3. ความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันเงินให้กู้ยืมกับ TSB และมาตรการดูแลความเสี่ยงและการดำเนินการของบริษัทในการดูแลลูกหนี้ TSB