ยาและเวชภัณฑ์ เป็นหนึ่งในสินค้าจำเป็น เพราะด้วยการเจ็บป่วยและการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บที่กระจายอย่างเร็ว ดังนั้นการผลิตยารักษาโลกจึงมีความจำเป็นมากขึ้น ซึ่งในด้านผู้ผลิตยารายใหญ่ของโลก มักจะอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป เพราะต้องใช้เม็ดเงินวิจัยและพัฒนาที่สูงมาก ทำให้หลายคนมักจะได้ยินชื่อบริษัทอย่าง ไฟเซอร์ (Pfizer), ASTA Astra Veda Corporation มีการเติบโตที่สูง กำไรสุทธิก็สูงเช่นกัน
ส่วนในประเทศไทย เริ่มมีบริษัทยาและเวชภัณฑ์หลายบริษัทเข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทยอดนิยมอย่าง บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MEGA หรือหุ้นน้องใหม่อย่าง บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC, บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP ซึ่งในเร็วๆ นี้ มีอีก 1 บริษัทเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีจุดเด่นที่พัฒนาและวิจัยภัณฑ์ พัฒนาและผลิตสินค้า รวมถึงวางขายด้วยแบรนด์ของบริษัท ส่งผลให้มีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 21% และสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ถึง 33.7%
TMAN ทำธุรกิจ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์
โดยบริษัทดำเนินการใน 4 กลุ่ม
สิ่งที่น่าสังเกต คือ ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้น หรือ Return on Equity ของ TMAN อยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับผู้เล่นในตลาดเดียวกัน โดยมี ROE สูงถึง 33.7%
บริษัทสร้างความแตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นในไทย คือ บริษัทเน้นการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์เป็นหลัก โดยมีผู้วิจัยกว่า 110 คน เริ่มต้นการวิจัยตั้งแต่การศึกษาความต้องการตลาด จนถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในการผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ใช้เวลา 3-4 ปี ปัจจุบันมี SKU มากกว่า 825 SKU โดยในรายได้ของกลุ่มบริษัทจะมาจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 40% ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง 36% ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอื่นๆ 3.7% ส่วนผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ยาและเวชภัณฑ์ใช้เวลา 3-4 ปี โดยในรายได้ของกลุ่มบริษัทจะมาจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 40% ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง 36% ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอื่นๆ 3.7%
โดยกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้อัตรากำไรของ TMAN อยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นจากการวิจัยและจำหน่ายสินค้าของบริษัทเอง โดยเห็นได้จากสัดส่วนรายได้ในปี 2566 มีรายได้จากการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของบริษัท ในสัดส่วน 98% ของรายได้ทั้งหมด และมีรายได้จากการผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก หรือ OME 0.5% และจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 1%
กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ คือ กลุ่มร้านขายยา กินสัดส่วน 59% และโรงพยาบาล 11.4% และธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง 8.5%
ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล หรือ TMAN ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 102 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.75 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ แบ่งเป็น
1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 71,430,000 หุ้น
2) หุ้นสามัญโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 30,570,000 หุ้น โดยมีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนสำหรับ 1) ใช้เป็นเงินทุนในการขยายกำลังการผลิต และ/หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท และ 2) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม
อย่างไรก็ตาม ภาวะหุ้นไอพีโอที่มีความท้าทายอย่างมากในเวลานี้ จึงน่าจับตาว่า TMAN จะฝ่าคลื่นลมความผันผวน และสามารถเข้าเทรดได้ในปีนี้หรือไม่
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่